สถานีลาดพร้าว
สถานีลาดพร้าว (อังกฤษ: Lat Phrao station) เป็นสถานีรถไฟฟ้าที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว หรือจุดตัดระหว่างถนนรัชดาภิเษก และถนนลาดพร้าว ในพื้นที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เป็นจุดเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ทั้งสองสถานีเป็นสถานีที่อยู่ภายใต้การดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลาดพร้าว แก้
ลาดพร้าว BL15 Lat Phrao | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชานชาลาสถานีลาดพร้าว สายสีน้ำเงิน | |||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) | ||||||||||
สาย | สายสีน้ำเงิน | ||||||||||
ชานชาลา | 1 ชานชาลาเกาะกลาง | ||||||||||
ราง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | ลาดพร้าว | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ใต้ดิน | ||||||||||
ทางเข้าออกสำหรับผู้พิการ | มีบริการ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | BL15 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 3,779,865 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
ที่ตั้ง | |||||||||||
สถานีลาดพร้าว (รหัส BL15) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ สถานศึกษา สถานที่ราชการ และที่พักอาศัยบริเวณตอนต้นของถนนลาดพร้าว
ที่ตั้ง แก้
ถนนลาดพร้าว บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว จุดบรรจบถนนลาดพร้าวและถนนรัชดาภิเษก ในพื้นที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สถานีลาดพร้าวตั้งอยู่ในย่านที่พักอาศัยหนาแน่นใจกลางเมืองบริเวณถนนลาดพร้าวตอนต้น และอยู่ใกล้กับสถานศึกษาและสถานที่ราชการหลายแห่ง โดยเฉพาะหน่วยงานด้านศาลยุติธรรม ซึ่งสถานีลาดพร้าวได้ตั้งชื่อ เพื่อสื่อถึงที่ตั้งสถานีที่ถนนลาดพร้าวช่วงกลาง และเป็นสถานีสำคัญสำหรับเชื่อมต่อการเดินทางจากถนนลาดพร้าวส่วนที่เหลือที่ยังไม่มีรถไฟฟ้าเข้าถึง เช่น ย่านโชคชัยสี่, วังทองหลาง และบางกะปิ ซึ่งต่อมาได้มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองผ่านย่านดังกล่าว
ในช่วงแรกที่รถไฟฟ้ามหานครเปิดให้บริการ ผู้โดยสารส่วนมากมักสับสนระหว่างสถานีลาดพร้าวกับสถานีพหลโยธิน ที่อยู่บริเวณปากทางลาดพร้าว อันเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าเซ็นทรัล ลาดพร้าว ซึ่งผู้โดยสารคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว บางส่วนอาจเห็นว่าบริเวณห้าแยกลาดพร้าวมีความโดดเด่นเป็นจุดหมายตา และน่าจะเหมาะสมสำหรับชื่อสถานีลาดพร้าวมากกว่า ดังนั้นจึงมีผู้โดยสารส่วนหนึ่งที่ต้องการเดินทางไปห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว แต่ลงรถผิดที่สถานีลาดพร้าว ทำให้เจ้าหน้าที่ทั้งบนขบวนรถและในสถานีลาดพร้าวจำเป็นต้องประกาศเตือนให้ผู้โดยสารต้องลงรถที่สถานีพหลโยธินให้ถูกต้อง หากต้องการเดินทางไปยังเซ็นทรัลลาดพร้าว
แผนผังสถานี แก้
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, อาคารจอดแล้วจร ศาลแขวงพระนครเหนือ, ไทย ซิตี้ แอร์ เทอร์มินอล, สถานีลาดพร้าว |
B1 ชั้นใต้ดินของอาคารจอดแลัวจร |
ชั้นใต้ดินของอาคารจอดแลัวจร (เฉพาะทางออก 4) | ทางเดินเชื่อม กูร์เมต์ มาร์เก็ต สาขา MRT ลาดพร้าว และอาคารจอดแล้วจร |
B2 ทางเดินลอดถนน |
ทางเดินลอดถนน | ทางออก 1-4 |
B3 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
B4 ชานชาลา |
ชานชาลา 2 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ) |
ชานชาลา 1 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง |
รายละเอียดของสถานี แก้
สีสัญลักษณ์ของสถานี แก้
ใช้สีฟ้าตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา[1]
รูปแบบของสถานี แก้
เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 22 เมตร ยาว 258 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 18 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)
ทางเข้า-ออก แก้
- 1 ซอยลาดพร้าว 26, สี่แยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว, ป้ายรถประจำทางไปห้าแยกลาดพร้าว
- 2 ซอยลาดพร้าว 24
- 3 ซอยลาดพร้าว 17, ป้ายรถประจำทางไปบางกะปิ
- 4 อาคารจอดแล้วจร, ซอยลาดพร้าว 21, ศาลแขวงพระนครเหนือ, ป้ายรถประจำทางถนนรัชดาภิเษกไปแยกรัชโยธิน, สถานีลาดพร้าว (ลิฟต์)
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี แก้
แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย
- 1 ทางเดินเชื่อมอาคารจอดแล้วจร และ กูร์เมต์ มาร์เก็ต (เฉพาะทางออก 4)
- 2 ชั้นร้านค้า
- 3 ชั้นออกบัตรโดยสาร
- 4 ชั้นชานชาลา
ศูนย์การค้าภายในสถานี แก้
ภายในสถานีลาดพร้าว ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี โดยกลุ่มเดอะมอลล์ได้ดำเนินการเช่าพื้นที่ทั้งชั้นจาก บริษัท บางกอกเมโทรเน็ตเวิร์ค จำกัด เพื่อเปิดสาขาของกูร์เมต์ มาร์เก็ต ที่สถานีแห่งนี้ โดยเปิดในรูปแบบของซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดกลาง (2,000 ตารางเมตร) เน้นสินค้าบริโภคประเภท Grab and Go ร้านอาหารระดับห้าดาวที่รังสรรค์โดยเชฟฝีมือคุณภาพ และร้านอาหารประเภท Take Home ทั้งนี้ชั้นดังกล่าวจะถูกปรับปรุงเพื่อเปิดทางเข้า กูร์เมต์ มาร์เก็ต ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้นใต้ดินของอาคารจอดแล้วจร แต่การบริหารพื้นที่และร้านค้าภายในสถานี กลุ่มเดอะมอลล์ จะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด เปิดให้บริการ 19 กันยายน พ.ศ. 2560
สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง สถานีลาดพร้าว แก้
ลาดพร้าว YL01 Lat Phrao | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°48′25.20″N 100°34′29.24″E / 13.8070000°N 100.5747889°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล (EBM) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 2 ชานชาลาด้านข้าง | ||||||||||
ราง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | ลาดพร้าว | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ยกระดับ | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | YL01 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[2] | ||||||||||
ชื่อเดิม | รัชดา-ลาดพร้าว รัชดา | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
ที่ตั้ง | |||||||||||
สถานีลาดพร้าว (รหัส: YL01) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานครแบบยกระดับ ในเส้นทางสายสีเหลือง ยกระดับเหนือลานกิจกรรมอเนกประสงค์ของอาคารจอดแล้วจร สถานีลาดพร้าว ถนนรัชดาภิเษก ในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง แก้
ลานกิจกรรมอเนกประสงค์ภายในพื้นที่ของอาคารจอดแล้วจร สถานีลาดพร้าว บริเวณทิศเหนือของทางแยกรัชดา-ลาดพร้าว ในพื้นที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สถานีแห่งนี้เป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองแห่งเดียวที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนถนน เนื่องจากบริเวณทางแยกรัชดา-ลาดพร้าวมีโครงสร้างสะพานข้ามแยกและสะพานเชื่อมต่ออาคารจอดแล้วจรซึ่งเป็นสะพานลอยที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อครั้งดำเนินงานโยธาของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลตั้งอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถตั้งสถานีบนถนนได้เหมือนกับสถานีอื่น ๆ ของโครงการ อย่างไรก็ตามในแผนการศึกษาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-รัชโยธิน ได้มีการกำหนดแนวเส้นทางให้ย้อนกลับไปตั้งอยู่บริเวณเกาะกลางถนนรัชดาภิเษก ด้วยการเบี่ยงเส้นทางกลับหลังพ้นสะพานข้ามแยกลาดพร้าว และให้เบี่ยงกลับไปใช้ทางเท้าและพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลพหลโยธินตามเดิมเพื่อสิ้นสุดโครงการต่อไป
ทั้งนี้ตามแผนงานเดิมของโครงการฯ สถานีแห่งนี้จะใช้ชื่อว่า สถานีรัชดา-ลาดพร้าว เพื่อสื่อถึงที่ตั้งและไม่ให้ซ้ำกับสถานีลาดพร้าวของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล แต่ในเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนทาง รฟม. ได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อสถานีเป็น สถานีรัชดา ซึ่งเป็นชื่อตามรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม จนภายหลังการลงนามในสัญญาสัมปทานโครงการกับ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ EBM ไปแล้ว ทาง รฟม. จึงได้มีการประกาศเปลี่ยนชื่อสถานีอีกครั้งเป็น สถานีลาดพร้าว เนื่องจากทาง รฟม. เห็นว่าการใช้ชื่อสถานีรัชดาจะทำให้เกิดความสับสนกับสถานีรัชดาภิเษกของสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งอยู่ถัดจากสถานีแห่งนี้ไปประมาณหนึ่งกิโลเมตร จึงมีความเห็นให้ใช้ชื่อสถานีนี้ให้เหมือนกับสถานีของสายเฉลิมรัชมงคลจะเป็นการดีที่สุด[3]
รายละเอียดของสถานี แก้
สีสัญลักษณ์ของสถานี แก้
ใช้สีเหลืองตกแต่งสถานีเพื่อสื่อให้เห็นว่าเป็นสถานีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
รูปแบบของสถานี แก้
เป็นสถานียกระดับกว้าง 22.7 เมตร ยาว 140 เมตร มีช่วงพื้นที่รองรับรางรถไฟยาว 135 เมตร ความสูง 4 ชั้น ประกอบด้วยชั้นลอยซึ่งเชื่อมต่อกับอาคารจอดแล้วจร ชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร และชั้นชานชาลา โดยระดับชานชาลาอยู่สูง 19 เมตรจากผิวดิน เป็นแบบชานชาลาด้านข้าง (Station with Side Platform) มีประตูกั้นชานชาลาแบบ Half Height Platform Screen Doors
แผนผังของสถานี แก้
U4 ชานชาลา | ||
ชานชาลา 1 | สายสีเหลือง มุ่งหน้า สำโรง (ภาวนา) | |
ชานชาลา 2 | สายสีเหลือง สถานีปลายทาง | |
U3 ชั้นขายบัตรโดยสาร |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ทางออก 1-2, ทางเดินเชื่อมต่ออาคารจอดแล้วจร, ศูนย์บริการผู้โดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร |
U2 | - | ทางออก 3-5, ทางเดินเชื่อมต่ออาคารจอดแล้วจร |
G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, อาคารจอดแล้วจร, สถานีลาดพร้าว |
เนื่องจากเป็นสถานีปลายทาง ผู้โดยสารที่มาจากสถานีสำโรงถึงแล้วจะต้องลงจากขบวนทั้งหมดที่ชานชาลา 2 จากนั้นขบวนรถจะกลับทิศบริเวณสุดราง เพื่อมุ่งหน้ามารับผู้โดยสารที่ชานชาลา 1 ฝั่งตรงข้าม
ทางเข้า-ออก แก้
ประกอบด้วยทางขึ้น-ลง ได้แก่[4]
เวลาให้บริการ แก้
ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |
---|---|---|---|---|
สายสีน้ำเงิน[5] | ||||
BL38 | หลักสอง | จันทร์ – ศุกร์ | 05.53 | 23.42 |
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05.55 | 23.42 | ||
BL01 | ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
จันทร์ – ศุกร์ | 05.54 | 23.56 |
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05.57 | 23.56 | ||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | – | 23.10 | ||
สายสีเหลือง[6] | ||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||
YL23 | สำโรง | ทุกวัน | 05.30 | 00.00 |
สิ่งอำนวยความสะดวก แก้
- อาคารจอดแล้วจร เป็นอาคารจอดรถ 9 ชั้น ความจุ 2,500 คัน
- ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ทางเข้า-ออกหมายเลข 4 (อาคารจอดแล้วจร)
- บริการ ไทย ซิตี้ แอร์ เทอร์มินอล ที่อาคารจอดแล้วจร ชั้น 1 สำหรับผู้โดยสารเครื่องบินของการบินไทย ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง โดยมีบริการเช็คอิน และมีรถรับ-ส่งหมุนเวียนระหว่างสถานีลาดพร้าวและท่าอากาศยานดอนเมือง
- กูร์เมต์ มาร์เก็ต ที่ชั้นร้านค้า และอาคารจอดแล้วจรชั้นใต้ดิน
รถโดยสารประจำทาง แก้
- ถนนลาดพร้าว ด้านห้าแยกลาดพร้าว 8 28 92 96 145 502 517
- ถนนลาดพร้าว ด้านโชคชัยสี่ 8 73 92 96 122 126 137 145 191 502 514
- ถนนรัชดาภิเษก ด้านสุทธิสาร สาย 73 136 137 179 185 206 514 517
- ถนนรัชดาภิเษก ด้านศาลอาญา สาย 28 126:136 179 185 191 206
สถานที่สำคัญใกล้เคียง แก้
- โรงเรียนอนุบาลแย้มสอาด และโรงเรียนแย้มสอาด (ประถม)
- โรงเรียนแม้นศรีพิทยาลัย
- สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
- สำนักงานอัยการสูงสุด
- ศาลแขวงพระนครเหนือ, ศาลแพ่ง, ศาลอาญา และศาลอุทธรณ์
- พิพิธภัณฑ์ศาลไทยและหอจดหมายเหตุ
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ถนนรัชดาภิเษก
- มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
- สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
- สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์
- สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
อ้างอิง แก้
- ↑ จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Prayut tries out Bangkok's new monorail". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
- ↑ เปลี่ยนชื่อสถานีรัชดาเป็น "ลาดพร้าว"
- ↑ "อัพเดตความคืบหน้า รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ! 2566". The List.
- ↑ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
- ↑ "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง" (PDF). ebm.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สถานีลาดพร้าว
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′23″N 100°34′23″E / 13.806447°N 100.572928°E