มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (อังกฤษ: Kamphaengphet Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ตราพระราชลัญจกร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อย่อมรภ.กพ. / KPRU
คติพจน์ศูนย์รวมแห่งความรู้ และวิทยาการ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (20 ปี)
นายกสภาฯสมบัติ นพรัก
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรียนุช พรหมภาสิต
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรียนุช พรหมภาสิต
ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เลขที่ 69 หมู่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 62000
สี████ สีแสด สีขาว
มาสคอต
ต้นสักทอง
เว็บไซต์www.kpru.ac.th

ประวัติ

แก้

สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร เป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ (เดิมคือ กรมการฝึกหัดครู) กระทรวงศึกษาธิการ ก่อนปี พ.ศ. 2516 กรมการฝึกหัดครูมีแผนการขยายการฝึกหัดครูให้ครอบคลุมทั่วประเทศ กำหนดให้วิทยาลัยครูรับผิดชอบผลิตครูเขตละ 2 จังหวัด ต่อมาในปี พ.ศ 2515 คณะกรรมการจากกระทรวงศึกษาธิการได้ตกลงจัดตั้งวิทยาลัยครูกำแพงเพชร โดยใช้ที่ดินสาธารณะทุ่งคอกวัว จำนวน 1,000 ไร่ และชื้อที่ดินเพิ่มเติมพื้นที่อีกส่วนหนึ่งราษฎรยกที่ดิน ให้เพื่อสาธารณะจะเชื่อมต่อถึงลำน้ำปิงจำนวน 420 ไร่

กระทั่งในปี 2516 มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กรมการฝึกหัดครูจัดตั้งวิทยาลัยครูกำแพงเพชร โดยสถาปนาขึ้นเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 วิทยาลัยครูกำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านวังยาง หมู่ที่ 1 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชรตามถนนพหลโยธินไป 8 กิโลเมตรมีเนื้อที่ 421 ไร่ 58 ตารางวา ระยะเริ่มแรกประกอบด้วย 3 คณะ คือ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์[1]

ในเวลาต่อมา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535[2] พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ “สถาบันราชภัฏ” ให้กับวิทยาลัยครูทั่วประเทศ จึงมีผลทำให้วิทยาลัยครู เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สถาบันราชภัฏตั้งบัดนัน

ต่อมาได้รับจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในปี พ.ศ. 2547[3]

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

แก้
  • ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ
    • สีน้ำเงิน แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน “มหาวิทยาลัยราชภัฏ”
    • สีเขียว แทนค่าแหล่งที่ตั้งของสถาบันฯ 41 แห่งในแหล่งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม
    • สีทอง แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา
    • สีส้ม แทนค่าความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 41 สถาบัน
    • สีขาว แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
  • พระพุทธวิธานปัญญาบดี ประกอบด้วย
  1. พระพุทธ หมายถึง พระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพสักกระ
  2. วิธาน หมายถึง ความรู้
  3. ปัญญา หมายถึง ความรู้
  4. บดี หมายถึง ผู้เป็นใหญ่

รวมความหมายคือ "ศูนย์รวมแห่งความรู้ และวิทยาการ"

คณะ / สถาบัน

แก้

สำนัก / ศูนย์

แก้

วิทยาเขต

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้