มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (อังกฤษ: Kanchanaburi Rajabhat University) เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี จัดตั้งขึ้นเป็นวิทยาลัยครูกาญจนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2516 เป็นมหาวิทยาลัยมาตรฐานสากล

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
ชื่อย่อมรกจ. / KRU
คติพจน์เป็นแหล่งเรียนรู้คู่จิตอาสา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาปนา15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (20 ปี)
นายกสภาฯพลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา
อธิการบดีผศ.ดร.พจนีย์ สุขชาวนา
ที่ตั้ง
เลขที่ 70 หมู่ 4 ตำบลหนองบัว อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 71000
สี██ สีเหลืองทอง
เว็บไซต์www.kru.ac.th

ประวัติ

แก้

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2516 ได้มีการก่อตั้ง “วิทยาลัยครูกาญจนบุรี” สังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ โดยการริเริ่มของพลโทชาญ อังศุโชติ[1] ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (ในขณะนั้น) มีบทบาทในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐบาล โดยรับผิดชอบเขตพื้นที่การศึกษา คือ จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกปีการศึกษา 2519 ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา และได้พัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ จนถึงระดับปริญญาตรีได้

ต่อมา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนชื่อ "วิทยาลัยครู" มีผลให้ "วิทยาลัยครูกาญจนบุรี" เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี" สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ กระทรวงศึกษาธิการ

และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงลงพระปรมาภิไภยในร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลให้สถาบันราชภัฏกาญจนบุรีเปลี่ยนสภาพเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี" ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547[2]

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

แก้
  • ตรามหาวิทยาลัย เป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า " KANCHANABURI RAJABHAT UNIVERSITY"
  • พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ พระพุทธโลกเชษฐ์กาญจนมงคลเขต
  • สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีเหลืองทอง
  • คติธรรมประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สุทนฺโต วต ทเมถ แปลว่า "ฝึกตนดีแล้ว จึงฝึกผู้อื่น"
  • ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ดอกคิ้วนาง หรือ อรพิม

คณะและหลักสูตร

แก้

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "บุคคลสำคัญของท้องถิ่น - กระทรวงวัฒนธรรม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-21. สืบค้นเมื่อ 2013-06-03.
  2. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

14°03′39″N 99°25′24″E / 14.060957°N 99.423436°E / 14.060957; 99.423436