สดศรี สัตยธรรม
สดศรี สัตยธรรม อดีตกรรมการการเลือกตั้ง รับผิดชอบงานด้านกิจการพรรคการเมือง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[1]เกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ที่ย่านตลาดพลู จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรสาวคนที่ 12 ของ ขุนเจริญเวชธรรม (เจริญ สัตยธรรม) และปราณี ตุลยพานิช มีพี่น้องทั้งหมด 14 คน ปัจจุบันพี่น้องส่วนใหญ่ลงหลักปักฐานที่สหรัฐอเมริกา
สดศรี สัตยธรรม | |
---|---|
กรรมการการเลือกตั้ง | |
ดำรงตำแหน่ง 20 กันยายน 2549 – 19 กันยายน 2556 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ตลาดพลู อำเภอธนบุรี จังหวัดธนบุรี |
คู่สมรส | อรุณ น้าประเสริฐ |
ประวัติ
แก้จบนิติศาสตรบัณฑิต จาก คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิติศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิต จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เคยเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ผู้พิพากษาพิจารณาคดีชำนัญพิเศษแผนกคดีปกครองของศาลฎีกา เคยได้รับการแต่งตั้งจากประธานศาลฎีกา ให้เป็นผู้พิพากษาพิจารณาคดีตามข้อตกลงเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิ สมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. ในปี พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ในวัยเด็ก สดศรีเคยฝันอยากจะเป็นแอร์โฮสเตส[2] ขณะเรียนอยู่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเลือกให้เป็นดาวคณะ และได้มีโอกาสรำไทยในงานกิจกรรมอยู่เป็นระยะ ๆ ก่อนจะมาทำงานด้านกฎหมาย เคยทำงานเป็นพนักงานรับฝาก-ถอน ที่เคาน์เตอร์ในธนาคารมาก่อนราว 2 เดือน ก่อนจะย้ายมาทำงานทางด้านกฎหมาย หลังจากสอบเข้าเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ เนื่องจากเจ้าตัวอ้างว่าไม่ถนัด
ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ อรุณ น้าประเสริฐ สามีซึ่งเป็นผู้พิพากษาเหมือนกัน ที่พบเจอกันที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างย้ายไปรับหน้าที่ที่นั่น เมื่ออายุ 29 ปี และมีบุตรทันที โดยขณะตั้งครรภ์มีอาการครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง มีบุตรสาวเพียงคนเดียว คือ กอนณา สัตยธรรม
ในต้นปี พ.ศ. 2551 สดศรีถูกเว็บไซต์ไฮ-ทักษิณ.เน็ท ซึ่งเป็นเว็บไซต์สนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร โจมตีกล่าวหาอย่างรุนแรง และกล่าวหาว่า กอนณา ถูกขอตัวจาก พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรีให้ไปช่วยงานราชการที่ทำเนียบรัฐบาล แต่สดศรีได้อออกมาปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สดศรี" โบกมือลา พปชร. จับตาเรืองไกร จ่อทิ้งซบ"เศรษฐกิจไทย" อีกคนหรือไม่
- ↑ "กกต.หญิงแกร่ง'สดศรี สัตยธรรม' เคยฝันอยากเป็น'แอร์โอสเตส'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๙, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๘๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๑๐, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัตินางสดศรี สัตยธรรม กกต. จากหนังสือพิมพ์มติชน
- หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2551