ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า (เกิดวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493) ที่บ้านรังกาใหญ่ ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้รับการศึกษาชั้นต้นจากโรงเรียนพิมายสามัคคี 1 และโรงเรียนพิมายวิทยา จากนั้นจึงเข้ามาศึกษาในกรุงเทพมหานครที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาการศึกษาบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขาวิชาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ. 2515 หลังจากนั้นศึกษาต่อระดับปริญญาโทภายใต้ทุนโครงการผลิตและพัฒนาอาจารย์ (ทุน UDC) โดยสำเร็จการศึกษา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาฟิสิกส์ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2517 รับราชการที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้มอกับได้ทุนรัฐบาลในโควตามหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปศึกษาระดับปริญญาโท-เอก โดยสำเร็จการศึกษา Master of Science, M.S. (Physics) จาก มหาวิทยาลัยอินเดียนา Indiana University สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2523 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ได้รับปริญญา Doctor of Philosophy, Ph.D. (Physics) จากมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต (Arizona State University, ASU) ในปี พ.ศ. 2527 และสำเร็จการศึกษาหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 42 (วปอ. รุ่นที่ 42) จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2543 นอกจากนั้นได้เข้าศึกษาหลักสูตรเสาหลักของแผ่นดิน: ผู้นำระดับสูงตามรอยเบื้องพระยุคลบาท รุ่นเกียรติยศ (สนพ. เกียรติยศ) จัดโดยสถาบัน ศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ในปี พ.ศ. 2555

ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า
รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ดำรงตำแหน่ง
23 มีนาคม พ.ศ. 2561 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ก่อนหน้ารศ.ดร.ภาณุมาศ ขัดเงางาม(รักษาการ)
ถัดไปรศ.ดร.ปราณี สังขะตะวรรธน์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
ก่อนหน้าทวี เลิศปัญญาวิทย์
คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2548
(4 ปี 0 วัน)
ก่อนหน้าทัศนีย์ เสาวนะ
ถัดไปวุฑฒิ พันธุมนาวิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 (74 ปี)

ภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ดร.ประสาทได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549[1] นอกจากนั้น ในปี พ.ศ. 2553 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ[2] ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมี สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน

ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ[3][4]รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[5][6]ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549
  2. "คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-12. สืบค้นเมื่อ 2012-08-07.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เล่ม ๑๓๕, ตอนพิเศษ ๔๙ ง , ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
  4. รมว.ศธ.ตั้ง 3 กรรมการสภา มสธ.ผู้ทรงคุณวุฒิ แก้บริหารสะดุด
  5. สภามสธ. ตั้งศ.ดร.ประสาท สืบค้า รักษาการแทนอธิการบดี
  6. คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๕๐, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น แก้