มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (อังกฤษ: Pibulsongkram Rajabhat University; อักษรย่อ: มรพส. / PSRU) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก เริ่มก่อนตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 ในนามโรงเรียนพิษณุโลกวิทยายน มีประวัติการเปลี่ยนแปลงหลายต่อหลายครั้ง และเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงในการผลิตบุคคลากรทางการศึกษาของประเทศ
ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อย่อ | มรพส. / PSRU |
---|---|
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
นายกสภาฯ | ดร.สมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร |
อธิการบดี | ผศ.ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ |
ที่ตั้ง | ส่วนวังจันทน์ 66 ถนนวังจันทน์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ส่วนทะเลแก้ว 165 หมู่ 5 ถนนเลี่ยงเมืองพิษณุโลกด้านเหนือ ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ส่วนสนามบิน 1 ถนนสนามบิน ตำบลอรัญญิก อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก |
สี | ████ สีเขียว สีขาว |
เว็บไซต์ | www.psru.ac.th |
ประวัติ
แก้ยุคที่ 1 โรงเรียนพิษณุวิทยายน
แก้ในปี พุทธศักราช 2464 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้เรียนหนังสือ จึงความต้องการครูเพิ่มมากขึ้น มณฑลพิษณุโลก จึงได้ทำการเพิ่มหลักสูตรวิชาชีพครูขึ้นในโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพิษณุโลก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะได้รับวุฒิประกาศนียบัตรประโยคครูมูลและบรรจุให้เข้ารับราชการครูทันที[1]
ต่อมาในปี พุทธศักราช 2469 มณฑลพิษณุโลก ได้รับงบประมาณจากกระทรวงธรรมการ และเงินสมทบของพ่อค้าประชาชนสร้างอาคารเรียนโรงเรียนฝึกกหัดประจำมณฑลขึ้นในบริเวณพระราชวังจันทน์ และได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานนามโรงเรียนและเชิญเสด็จมาทรงเปิดอาคารเรียน โดยทรงพระราชทานามว่า โรงเรียนพิษณุวิทยายน และทรงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี มาทรงเปิดอาคารเรียน เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2469 เวลาประมาณ 15.30 น. ต่อมาโรงเรียนนี้ได้ย้ายสถานที่และไฟไหม้อาคารที่ย้ายไปใหม่ ทางราชการจึงสั่งยุบโรงเรียน[1]
ยุคที่ 2 โรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พิษณุโลก
แก้ในปี พุทธศักราช 2476 กระทรวงธรรมการได้เปิดแผนกฝึกหัดครูขึ้นในโรงเรียนสตรีประจำมณฑล พิษณุโลก จัดการศึกษาในหลักสูตรประโยคครูมูล (ครู ป.) หลักสูตรประโยคครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ครู.ว) และหลัดสูตรเป็นประกาศนียบัตรครูประชาบาล (ป.ป.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 แผนกฝึกหัดครูได้ถูกแยกออกมาเป็นอีกโรงเรียนหนึ่ง ใช้ชื่อว่าโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พิษณุโลก ขึ้นกับกรมวิสามัญศึกษา[1]
ในปี พ.ศ. 2497 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตั้งกรมการฝึกหัดครูขึ้น จึงโอนโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พิษณุโลก ไปสังกัดกรรมการฝึกหัดครู และปรับปรุงหลักสูตรเป็นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) และใน พ.ศ. 2498 รัฐบาลได้สร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่ บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ตรงข้ามกับบริเวณเดิมและยกให้กับโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พิษณุโลก และได้ย้ายไปตั้ง ณ ที่ใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2499[1]
ยุคที่ 3 โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม
แก้หลังจากโรงเรียนสตรีฝึกหัดครู พิษณุโลก ได้ย้ายมาตั้งในสถานที่แห่งใหม่แล้วในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม และเปิดรับนักศึกษาแบบสหศึกษา โดยนักเรียนหญิงอยู่ประจำ นักเรียนชายเดินเรียน นับแต่นั้นมาโรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงครามก็เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ได้ขยายเนื้อที่โดยขอใช้ที่ดินโรงเรียนการช่างชายซึ่งอยู่ติดกันทำให้มีเนื้อที่เท่าขนาดเนื้อที่ปัจจุบัน คือ 40 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ต่อเนื่องประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) ต่อมาได้ผลิตครูยามฉุกเฉินหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) เปิดสอนในภาคนอกเวลา เรียนระหว่าง 17.00 น. – 20.00 น. ในวันราชการและเปิดหลักสูตรปริญญาตรีวิชาชีพครูภาษาไทย ใน พ.ศ. 2517[1]
ยุคที่ 4 วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม
แก้ต่อมาใน พ.ศ. 2504 โรงเรียนฝึกหัดครูพิบูลสงคราม ได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.กศ.สูง) ต่อเนื่องประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา(ป.กศ.) ต่อมาได้ผลิตครูยามฉุกเฉินหลักสูตรประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.) เปิดสอนในภาคนอกเวลา เรียนระหว่าง 17.00 น. – 20.00 น. ในวันราชการและเปิดหลักสูตรปริญญาตรีวิชาชีพครูภาษาไทย ใน พ.ศ. 2517 และในปี พ.ศ. 2524 ได้รับอนุมัติจากสำนักนายกรัฐมนตรีให้ใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ทุ่งทะเลแก้ว จำนวน 1,000 ไร่ เพื่อเตรียมขยายวิทยาลัยออกไป โดยมีโครงการใช้ที่ดินระยะแรกจำนวน 40 ไร่ และวิทยาลัยได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนในบริเวณทุ่งทะเลแก้วในปี พ.ศ. 2527[1]
ยุคที่ 5 สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม
แก้ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏ แก่วิทยาลัยครู วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จึงเปลี่ยนเป็น สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม จัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538[1][2]
ยุคที่ 6 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปัจจุบัน
แก้พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย ใน "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547" เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2547 และได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 แล้วนั้น อันมีผลให้ "สถาบันราชภัฏ" เปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยราชภัฏ" และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ ยังผลให้สถาบันราชภัฏพิบูลสงครามได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2547[3]
ทำเนียบผู้บริหารมหาวิทยาลัย
แก้- ทำเนียบอธิการวิทยาลัยครู อธิการบดีสถาบันราชภัฏพิบูลสงครามและมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ทำเนียบอธิการวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม | ||
---|---|---|
ลำดับที่ | รายนามอธิการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
ไม่มีข้อมูล | พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2529 | |
นายวิเชียร เมนะเศวต | พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2535 | |
รองศาสตราจารย์ ดร.มังกร ทองสุขดี | พ.ศ. 2535 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 | |
ทำเนียบอธิการบดีสถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม | ||
ลำดับที่ | รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ | 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2541 | |
รองศาสตราจารย์ ประวิตร ชูศิลป์ | 15 มกราคม พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545 | |
ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ | 28 มกราคม พ.ศ. 2545 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547 (ครั้งที่ 2) | |
ทำเนียบอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | ||
ลำดับที่ | รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
ดร.สว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[4] | |
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557 (วาระที่ 2)[5] | ||
ดร.สาคร สร้อยสังวาลย์ | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557[6] - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | |
ผศ.ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564[7] - ปัจจุบัน |
- ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม | ||
---|---|---|
ลำดับที่ | รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย | วาระการดำรงตำแหน่ง |
ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ | 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551[8] | |
19 สิงหาคม พ.ศ. 2551 - 12 มีนาคม พ.ศ. 2555 (วาระที่ 2)[9] | ||
พลเอก ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์ | 13 มีนาคม พ.ศ. 2555 - 24 มกราคม พ.ศ. 2559[10] | |
ดร.สมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร | 25 มกราคม พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน[11] |
พื้นที่มหาวิทยาลัย
แก้มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
ส่วนวังจันทน์
แก้ส่วนนี้เป็นสถานที่ตั้งแรกเดิมของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ 40 ไร่ 1 งาน 44 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 66 ถนนวังจันทน์ ริมลำน้ำน่าน ใจกลางเมืองพิษณุโลก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของศูนย์วัฒนธรรม ภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว และเป็นพื้นที่การศึกษาของคณะครุศาสตร์
ส่วนทะเลแก้ว
แก้ส่วนนี้เป็นที่ตั้งหลักในปัจจุบันของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณทุ่งทะเลแก้ว ถนนเลี่ยงเมืองพิษณุโลกด้านเหนือ ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก อยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนวังจันทน์ ประมาณ 7 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตก แต่เดิมนั้นเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ รกร้าง ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ใช้ประโยชน์ได้ในปี พ.ศ. 2524
ส่วนสนามบิน
แก้ส่วนนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 1 ถนนสนามบิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก จัดการศึกษาในระดับปฐมวัยถึงประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิคม นาคอ้าย เป็นผู้อำนวยการคนปัจจุบัน
หน่วยงานในมหาวิทยาลัย
แก้
คณะแก้
|
สถาบัน/ศูนย์/สำนัก/หน่วยง่านอื่นแก้
เก็บถาวร 2005-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
|
บุคคลจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง
แก้- พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ศิษย์เก่า ปกศ.)
- นิยม ช่างพินิจ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก
- ผศ.ดร.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย
- อนันต์ ภักดิ์ประไพ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, ประวัติมหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2016-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538, เล่ม 112 ตอน 4 ก, หน้า 1, วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547, เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก, หน้า 1, วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (นายสว่าง ภู่พัฒนวิบูลย์), เล่ม 126 ตอนพิเศษ 2 ง, หน้า 77, วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (นายสว่าง ภู่พัฒนวิบูลย์), เล่ม 126 ตอนพิเศษ 2 ง, หน้า 77, วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม [นายสาคร สร้อยสังวาลย์], เล่ม 131 ตอนพิเศษ 227 ง, หน้า 23, วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (นายชุมพล เสมาขันธ์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, เล่ม 122 ตอน 29 ง, หน้า 22, วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2548
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, เล่ม 126 ตอนพิเศษ 14 ง, หน้า 14, วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, เล่ม 129 ตอนพิเศษ 51 ง, หน้า 18, วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, เล่ม 133 ตอนพิเศษ 26 ง, หน้า 3, วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559