มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (อังกฤษ: Nakhon Si Thammarat Rajabhat University; อักษรย่อ: มรภ.นศ.) หรือเรียกว่า ราชภัฏนครฯ เป็นมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ก่อตั้งในชื่อ "โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช" เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2500 ตั้งอยู่ที่ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช
วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช |
---|---|
ชื่อย่อ | มรภ.นศ. / NSTRU |
คติพจน์ | ประทีปถิ่น ประเทืองไทย |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
นายกสภาฯ | รองศาสตราจารย์ ดร.วิชัย แหวนเพชร |
อธิการบดี | ดร.สมปอง รักษาธรรม (รักษาการ) |
อธิการบดี | ดร.สมปอง รักษาธรรม (รักษาการ) |
ผู้ศึกษา | 47,611 คน[1] (พ.ศ. 2558) |
ที่ตั้ง | เลขที่ 1 หมู่ 4 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช |
สี |
|
มาสคอต | เขามหาชัย |
เว็บไซต์ | http://www.nstru.ac.th/ |
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชจัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบไปด้วย 5 คณะ 1 วิทยาลัย 1 สถาบัน จำนวนหลักสูตรทุกระดับจำนวนทั้งสิ้น 53 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 43 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร ปริญญาโท 8 หลักสูตร และปริญญาเอก 2 หลักสูตร นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นอันดับที่ 69 ของประเทศไทย อันดับที่ 7050 ของโลก จาก Webometrics ในปี พ.ศ. 2561 อีกด้วย
ประวัติ
แก้โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2498 น้อม อุปรมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในภาค 8 (นครศรีธรรมราช)[2] กระทั่ง โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 โดยอิทธิพลทางการเมืองเพราะได้ยุบโรงเรียนฝึกหัดครูตรัง ซึ่งย้ายครู อาจารย์ และทรัพย์สินมาสังกัดโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช และได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.) โดยเปิดทำการสอนชั่วคราวที่ห้องสมุดประชาชนจัหวัดนครศรีธรรมราช (สนามหน้าเมือง) จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่ออาคารเรียน และหอนอนก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2502 จึงเปิดสอนเป็นการถาวรบริเวณเชิงเขามหาชัย
การจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราชใน พ.ศ. 2500 มิใช่เป็นการจัดตั้งครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้ 52 ปี กล่าวคือ พ.ศ. 2448 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นมาก่อนแล้ว โดยใช้กุฏิของพระวัดท่าโพธิ์เป็นสถานที่เรียนมีนักเรียนฝึกหัดครูรุ่นแรก จำนวน 22 คน การจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราชขึ้นใน พ.ศ. 2500 เป็นการเจริญรอยตามนโยบายจัดการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช
แก้เมื่อ โรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช เปิดสอนมาครบ 12 ปี กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศยกระดับฐานะเป็น วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 และเปิดสอนถึงระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.ชั้นสูง) โดยช่วงเวลาดังกล่าวกระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายเร่งรัดการผลิตครู จึงได้เปิดสอนภาคนอกเวลาแก่บุคคลภายนอกในหลักสูตร ป.กศ. และป.กศ.ชั้นสูงด้วยโครงการดังกล่าวดำเนินการเรื่อยมาและสิ้นสุดโครงการเมื่อ พ.ศ. 2519
พ.ศ. 2517 วิทยาลัยครูสังกัดกรมการฝึกหัดครูรวม 17 วิทยาลัย ได้เริ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีครุศาสตรบัณฑิต หลักสูตร 2 ปี ซึ่งรับผู้สำเร็จ ป.กศ.ชั้นสูง หรือสำเร็จประโยคครูมัธยม (พ.ม.) โดยวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชเป็น 1 ใน 17 ของวิทยาลัยครูที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีดังกล่าว สำหรับในปีแรกเปิดสอนวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไปเพียงวิชาเดียว และปีการศึกษา 2518 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2518 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชจึงได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยมีหน้าที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2518 ดังนี้มาตรา 5 ให้วิทยาลัยครูเป็นสถาบันการศึกษาและการวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิชาการ และผลิตครูถึงระดับปริญญาตรี ทำการวิจัย ส่งเสริมวิชาชีพและฐานะขวิทยองครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม
พ.ศ. 2527 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชเป็นวิทยาลัยหนึ่งที่ได้รับการประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นวิทยาลัยชุมชนในวิทยาลัยครูตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่กระจายโอกาสทางการศึกษาระดับสูงออกสู่ประชาชน และเร่งรัดการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาและสร้างกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาชีพต่างๆ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชจึงเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพ (ป.ทอ.) เนื่องจากพระราชบัญญัติวรที่กระจายโอกาสทางการศึกษาระดับสูงออกสู่ประชาชนและเร่งรัดการจัดการที่กระจายโอกาศ พุทธศักราช 2527 ได้กำหนดให้วิทยาลัยครูสามารถจัดการศึกษาสาขาวิชาการอื่นในระดับปริญญาตรีได้ตามความต้องการของท้องถิ่นนอกเหนือจากสาขาวิชาชีพครู จึงได้ปรับรายวิชาหลักสูตรของประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพ (ป.ทอ.) เข้าเป็นหลักสูตรอนุปริญญาวิชาเอกพืชศาสตร์ และวิชาเอกก่อสร้าง
สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
แก้เมื่อ พ.ศ. 2538 ได้มีพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พุทธศักราช 2538 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทาน เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 แล้ว วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช จึงได้รับการยกระดับฐานะเป็น สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พุทธศักราช 2538 เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ ทำหน้าที่พัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์คือให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง เปิดสอนในระดับสูงกว่าปริญญาตรี และมีหน้าที่ทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู
พ.ศ. 2538 สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้ทำหน้าที่กว้างไกลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพ และคุณวุฒิของคนในท้องถิ่นให้สูงขึ้นให้สามารถประกอบอาชีพอยู่ในสังคม หรืออยู่ในท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ สถาบันจึงมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามปณิธานที่ว่าแต่งบ้านให้น่าอยู่ แต่งภูมิรู้ให้แตกฉานสืบสานวัฒนธรรมนำชุมชนพัฒนา และปรับแต่งบรรยากาศด้านกายภาพของสถาบันให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
พ.ศ. 2542 สถาบันได้ดำเนินภารกิจต่างๆ ขยายขอบเขตมากขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏตามร่างพระราชบัญญัติที่กำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการนิติบัญญัติ และการปฏิรูประบบราชการ กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร การปรับระบบงบประมาณ การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร การเปิดสอนระดับปริญญาบัณฑิตศึกษา การร่วมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน การวิจัยทุกรูปแบบ และการประกันคุณภาพการศึกษา โดยสถาบันได้รับการตรวจเยี่ยมของคณะกรรมการประเมินคุณภาพภาย นอกจากสำนักงานคณะกรรมการรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
แก้สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้รับการยกฐานะเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547 โดยให้มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งเป็นนิติบุคคล และเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เรียกชื่อมหาวิทยาลัยราชภัฏตามชื่อของสถาบันราชภัฏเดิม สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช จึงเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเปิดสอนใน 5 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเมื่อ พ.ศ. 2557 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชได้เห็นชอบให้จัดตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยเป็นหน่วยงานภายใน
สัญลักษณ์
แก้ตราประจำมหาวิทยาลัย
แก้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาล ให้สถาบันราชภัฏได้อัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการ ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 ต่อมาเมื่อสถาบันราชภัฏได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยก็ยังคงตรานี้เป็นสัญลักษณ์สืบมา โดยตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชมีลักษณะเป็นตราห้าสี ด้านบนของตรามีอักษรข้อความว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช” ด้านล่างของตรามีอักษรข้อความว่า “Nakhon Si Thammarat Rajabhat University” ซึ่งความหมายของสีทั้งห้ามีดังนี้
- ██ “สีน้ำเงิน” แทนค่าสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “ราชภัฏ”
- ██ “สีเขียว” แทนค่าแหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งนี้ ซึ่งอยู่ในพื้นที่สีเขียวและแวดล้อมด้วยธรรมชาติอันขจี
- ██ “สีทอง” แทนค่าความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญาซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏใฝ่ฝันและมุ่งมั่นไปให้ถึง
- ██ “สีส้ม” แทนค่าความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกล ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏปฏิบัติการทำนุบำรุง ส่งเสริมเผยแพร่ และอนุรักษ์มาโดยตลอด
- “สีขาว” แทนค่าความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชา
สีประจำมหาวิทยาลัย
แก้“สีเหลือง” หมายถึง พระพุทธศาสนา คือ ความเลื่อมใสศรัทธา และพร้อมจะปฏิบัติตามหลักธรรม
“สีแดง” หมายถึง ความกล้าหาญ คือ กล้าคิด กล้านำ และกล้าทำ
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
แก้ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ “ต้นนาคบุตร” (Iron Wood) เป็นพรรณไม้ยืนต้น ผิวลำต้นสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ลำต้นเป็นพูเป็นเหลี่ยม ลำต้นมีความสูงประมาณ 15-25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะรูปไข่เรียวยาวแคบ ขอบใบเรียบ มีสีเขียวท้องใบมีสีเทาคล้ายใบมะปราง ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกมีประมาณ 2-3 ดอก ขนาดดอกเท่ากับดอกสารภี มีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบนอกจะแข็ง และหนา ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม กลางดอกมีเกสรเป็นฝอย สีเหลือง ลักษณะผลเป็นรูปไข่ และแข็งมีขนาดเล็ก
คำขวัญประจำมหาวิทยาลัย
แก้- ปรัชญาประจำมหาวิทยาลัย คือ ประทีปถิ่น ประเทืองไทย
- เอกลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นมหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิต พัฒนาครู การจัดการศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยั่งยืน
- อัตลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เป็นบัณฑิตนักคิด นักปฏิบัติ มีจิตสาธารณะ
- ค่านิยมประจำมหาวิทยาลัย คือ NSTRU หมายถึง จิตวิญญาณชาวราชภัฏนครศรีธรรมราช
- N = New Idea หมายถึง การคิดใหม่คิดชอบ คิดถูกต้อง กล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ชอบและถูกต้อง
- S = Service Mind หมายถึง การบริการด้วยใจ บริการอย่างฉันท์มิตร ด้วยจิตสาธารณะ
- T = Teamwork หมายถึง การทำงานเป็นทีม ร่วมมือในการทำงาน
- R = Responsibility หมายถึง ความรับผิดชอบพร้อมรับการตรวจสอบทั้งในระดับองค์กร ท้องถิ่นและสังคม
- U = Universal หมายถึง สู่ความเป็นสากล
คณะและหน่วยงาน
แก้หลักสูตร
แก้หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช | ||||
---|---|---|---|---|
สำนักวิชา | ปริญญาตรี | บัณฑิตวิทยาลัย (The Graduate School) TGS เก็บถาวร 2019-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน | หมายเหตุ | |
ปริญญาโท | ปริญญาเอก | |||
คณะครุศาสตร์ (Faculty of Education) |
|
|
|
ED-NSTRU |
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Faculty of Industrial Technology) |
|
|
|
IT-NSTRU |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Faculty of Humanities and Social Sciences) |
|
– | – | HS-NSTRU |
คณะวิทยาการจัดการ (Faculty of Management Sciences) |
|
– | – | MS-NSTRU |
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Faculty of Science and Technology) |
|
|
|
ST-NSTRU |
วิทยาลัยศิลปะและวัฒนธรรม (College of Arts and Culture) |
– |
|
|
AC-NSTRU เก็บถาวร 2022-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน |
นายกสภามหาวิทยาลัย
แก้ทำเนียบนายกสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
1. | ศ.ดร.เวคิน นพนิตย์ | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2538 | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2542 | |
2. | ดร.ถนอม อินทรกำเนิด | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2542 | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 | |
3. | พล.ต.อ.ดรุณ โสตถิพันธุ์ | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2544 | 19 มกราคม พ.ศ. 2548 | [3] |
20 มกราคม พ.ศ. 2548 | 7 กันยายน พ.ศ. 2549 | [4] | ||
4. | นายพลากร สุวรรณรัฐ | 8 กันยายน พ.ศ. 2549 | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | [5] |
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 | 15 มีนาคม พ.ศ. 2555 | [6] | ||
5. | ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ | 16 มีนาคม พ.ศ. 2555 | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 | [7] |
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | [8] | ||
6. | ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | 17 มกราคม พ.ศ. 2563 | [9] |
7. | รศ.ดร.วิชัย แหวนเพชร | 18 มกราคม พ.ศ. 2563 | ปัจจุบัน | [10] |
อธิการบดี
แก้ทำเนียบอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช | ||||
---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | วาระการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
1. | ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 | 5 มีนาคม พ.ศ. 2552 | |
6 มีนาคม พ.ศ. 2552 | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 | [11] | ||
2. | รศ.วิมล ดำศรี | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 | [12] |
3. | ผศ.ดร.ฆนัท ธาตุทอง | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 | 15 เมษายน พ.ศ. 2561 | รักษาราชการ |
16 เมษายน 2561 | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 | [13] | ||
– | ดร.สมปอง รักษาธรรม | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 | 15 มกราคม พ.ศ. 2564 | รักษาราชการ[14] |
– | ผศ.ดร.วิชิต สุขทร | 16 มกราคม พ.ศ. 2564 | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 | รักษาราชการ[15] |
– | ผศ.สุรศักดิ์ แก้วอ่อน | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 | 10 มกราคม พ.ศ. 2565 | รักษาราชการ[16] |
– | ผศ.ดร.วิชิต สุขทร | 11 มกราคม พ.ศ. 2565 | 11 เมษายน พ.ศ. 2565 | รักษาราชการ[17] |
– | ดร.สมปอง รักษาธรรม | 12 เมษายน พ.ศ. 2565 | ปัจจุบัน | รักษาราชการ[18] |
โครงการจัดตั้ง
แก้- คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
- คณะสาธารณสุขศาสตร์
- วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการโรงแรม
- วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
- วิทยาลัยนานาชาติ
- ศูนย์การเรียนรู้ป่าสนสร้อย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช วิทยาเขตสิชล
อ้างอิง
แก้- ↑ จำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2558. [1]. ข้อมูลล่าสุดพ.ศ. 2558
- ↑ กระทู้ถามที่ ว. ๔๕/๒๔๙๘ ของนายน้อม อุปรมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง การตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูในภาค ๘
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (พลตำรวจโทดรุณ โสตถิพันธุ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-17. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (พลตำรวจโทดรุณ โสตถิพันธุ์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายพลากร สุวรรณรัฐ)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายพลากร สุวรรณรัฐ)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายโกวิทย์ พวงงาม)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายวิชัย แหวนเพชร)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายฉัตรชัย ศุกระกาญจน์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายวิมล ดำศรี)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายฆนัท ธาตุทอง)
- ↑ คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่ 13/2563 เรื่อง แต่งตั้งรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายสมปอง รักษาธรรม)
- ↑ คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ที่ 1/2564 เรื่อง แต่งตั้งรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายวิชิต สุขทร)
- ↑ คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ที่ 17/2564 เรื่อง แต่งตั้งรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายสุรศักดิ์ แก้วอ่อน)
- ↑ คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ที่ 1/2565 เรื่อง แต่งตั้งรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายวิชิต สุขทร)
- ↑ คำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่ 9/2565 เรื่อง แต่งตั้งรักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช (นายสมปอง รักษาธรรม)