มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (อังกฤษ: Rajabhat Rajanagarindra University) เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 เปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรจังหวัด (ครู ว.) เดิมมีชื่อว่า วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา และยกฐานะเป็น สถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ราชนครินทร์" ในปี พ.ศ. 2541 จนกระทั่งได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันเปิดสอนใน 5 คณะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ | |
---|---|
Rajabhat Rajanagarindra University | |
![]() | |
ชื่อย่อ | มรร. / RRU. |
คติพจน์ | สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ "พึงศึกษา ในสิ่งที่ควรศึกษา" |
สถาปนา | พ.ศ. 2483 |
ประเภท | รัฐ |
อธิการบดี | ผศ.ดร.ดวงพร ภู่ผะกา[1] |
นายกสภามหาวิทยาลัย | รศ.ดร. พินิติ รตะนานุกูล[2] |
ที่ตั้ง | วิทยาเขตหลัก เลขที่ 422 ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา วิทยาเขตแห่งที่ 2 เลขที่ 6 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา |
เว็บไซต์ | www.rru.ac.th |
ประวัติแก้ไข
ในปี พ.ศ. 2483 ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด เปิดสอนหลักสูตรครูประกาศนียบัตรจังหวัด (ครู ว.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสตรีฝึกหัดครูฉะเชิงเทรา และในปี พ.ศ. 2513 เป็นวิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้รับการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา และได้รับประทานนามจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ว่า "ราชนครินทร์ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันราชภัฏราชนครินทร์"[3] และได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2547
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยแก้ไข
ตราประจำมหาวิทยาลัยแก้ไข
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข 9 รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออก ในรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ และรอบนอกด้านบนมีตัวอักษรภาษาไทยว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ " ด้านล้างมีอักษรภาษาอังกฤษว่า RAJABHAT RAJANAGARINDRA UNIVERSITY
- สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีขียว-สีเหลือง
- คติธรรมประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สิก.เขยย สิกขิตพพานิ : พึงศึกษาในสิ่งที่ควรศึกษา
- ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ดอกสารภี
- ชื่อย่อมหาวิทยาลัย ภาษาไทย "มรร." : ภาษาอังกฤษ "RRU"
คณะ/วิทยาลัย/สำนัก/ศูนย์/สถาบันแก้ไข
- คณะครุศาสตร์ (http://krusart.rru.ac.th)
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (http://human.rru.ac.th)
- คณะวิทยาการจัดการ (http://fms.rru.ac.th)
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (http://science.rru.ac.th)
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (http://techno.rru.ac.th
- บัณฑิตวิทยาลัย (http://grad.rru.ac.th)
- สำนักงานอธิการบดี (http://op.rru.ac.th)
- สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน (http://academic.rru.ac.th)
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (http://arit.rru.ac.th)
- สถาบันวิจัยและพัฒนา (http://research.rru.ac.th)
- ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่น (http://culture.rru.ac.th)
- สถาบันพัฒนาคุณภาพครู (สพค.)
- สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง
- หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (RRUBI) (http://ubi.rru.ac.th/)
- ศูนย์ภาษา (http://language.rru.ac.th)
- ศูนย์การเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (http://learn.rru.ac.th)
- ศูนย์เครือข่ายสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (http://qa.rru.ac.th/)
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (http://satit.rru.ac.th/)
รายนามอธิการบดีแก้ไข
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์อธิการบดีมาแล้ว 13 คน ดังรายนามต่อไปนี้
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/309/25.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/245/T_0020.PDF
- ↑ พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่อสถาบันราชภัฏฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสถาบันราชภัฏราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2541
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์พ้นจากตำแหน่ง (นายอุทัย ศิริภักดิ์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (นางสาวดวงพร ภู่ผะกา)