มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (อังกฤษ: Rajabhat Maha Sarakham University, อักษรย่อ: มรม. – RMU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในจังหวัดมหาสารคาม พัฒนามาจากวิทยาลัยครูมหาสารคามที่ได้รับการสถาปนาในปี พ.ศ. 2505 และสถาบันราชภัฏมหาสารคามในปีพ.ศ. 2535 ตัวมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในตัวเมืองมหาสารคาม ใกล้กับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พื้นที่ในเมืองและมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม[2]
ตราพระราชลัญจกร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อย่อ | มรม. / RMU |
---|---|
คติพจน์ | วิชาการเป็นเลิศ ประเสริฐคุณธรรม นำชุมชนพัฒนา |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 |
นายกสภาฯ | รองศาสตราจารย์ ดร.สมเจตน์ ภูศรี |
อธิการบดี | อยู่ในระหว่างสรรหา |
อธิการบดี | อยู่ในระหว่างสรรหา |
ผู้ศึกษา | 12,149 [1] |
ที่ตั้ง | ที่ตั้งหลัก 80 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000 ศูนย์หนองคาย โรงเรียนกวนวันวิทยา ตำบลกวนวัน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000 |
สี | ██ สีเขียว ██ สีแดง |
เว็บไซต์ | www.rmu.ac.th |
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีพื้นที่ 454 ไร่ มีอาคาร 57 หลัง และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามศูนย์หนองโน ตั้งอยู่ที่บ้านหนองโน หมู่ 1 , หมู่ 5 และบ้านกุดแคน หมู่ 6 ตำบลหนองโน (โคกก่อ) อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ 1,050 ไร่ 3 งาน 32 ตารางวา เป็นที่ตั้งของคณะเทคโนโลยีการเกษตร และโครงการเกษตรทฤษฏีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
- พ.ศ. 2468 ตั้งเป็น “โรงเรียนประถมกสิกรรม” ขึ้นที่บริเวณวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคามในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2470 ได้ย้ายไปตั้งที่โคกอีด่อย อยู่ห่างจากตัวเมืองมหาสารคามไปทางทิศตะวันตกประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2473 เปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนประถมวิสามัญและฝึกหัดครูกสิกรรมชั้นต่ำ
- พ.ศ. 2474 ได้ยุบเลิกแผนแผนกฝึกหัดครูกสิกรรมชั้นต่ำเหลืออยู่เฉพาะโรงเรียนประถมวิสามัญ
- พ.ศ. 2481 ยกฐานะเป็นโรงเรียนประกาศนียบัตรจังหวัด
- พ.ศ. 2498 เปลี่ยนฐานะเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู
- พ.ศ. 2505 (1 พฤษภาคม) ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูมหาสารคาม
- พ.ศ. 2519 จัดระบบงานใหม่ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู และ พ.ศ. 2518 มีผลให้วิทยาลัยครูมหาสารคามเป็นสถาบันอุดมศึกษา
- ต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 วิทยาลัยครูทุกแห่งได้รับพระราชทานนามว่า “สถาบันราชภัฏ” แปลว่า “คนของพระราชา” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Rajabhat Institute” และต่อท้ายด้วยชื่อเดิมหรือชื่อจังหวัด ทำให้ในวันที่ 25 มกราคม 2538 จึงได้มีการยกฐานะเป็นสถาบันราชภัฏมหาสารคาม และดำเนินงานตามพระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538[3] และวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏจึงเกิดเป็น “สถาบันราชภัฏมหาสารคาม” และวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันราชภัฏ
- ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547[4] ซึ่งส่งผลให้สถาบันราชภัฏมหาสารคามเปลี่ยน สถานะเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม” [5]
- พ.ศ. 2561 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.นิรุต ถึงนาค เป็นอธิการบดี ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561[6]
คณะ
แก้ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เปิดสอนในระดับอนุบาล อนุปริญญา ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก มีทั้งหลักสูตรทั่วไปและหลักสูตรภาคสมทบ ประกอบด้วยคณะทั้งหมด 9 คณะ 1 บัณฑิตวิทยาลัย และ 1 โรงเรียน ได้แก่
- 1.คณะครุศาสตร์
- 2.คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- 3.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- 4.คณะวิทยาการจัดการ
- 5.คณะเทคโนโลยีการเกษตร
- 6.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
- 7.คณะนิติศาสตร์
- 8.คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
- 9.คณะวิศวกรรมศาสตร์
- 10.คณะสหเวชศาสตร์ (โครงการจัดตั้ง)
- 11.คณะนิเทศศาสตร์ (โครงการจัดตั้ง)
- 12.คณะสาธารณสุขศาสตร์ (โครงการจัดตั้ง)
โดยแยกออกเป็น 2 กลุ่มวิชาดังนี้
กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก้
กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์แก้
หน่วยงานสนับสนุนแก้
|
วันราชภัฏ
แก้ทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ [7]ของทุกปี เป็น “วันราชภัฏ” สืบเนื่องจากวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏแก่วิทยาลัยครูมหาสารคาม และวิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามและมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สมควรจะเทิดพระมหากรุณาธิคุณนี้ไว้เหนือเกล้าและจงรักภักดีด้วยการตั้งปณิธานที่จะประพฤติ และปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการพัฒนาประเทศและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พี่น้อง ประชาชนชาวไทย ดังนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถือว่าเป็นวันราชภัฏ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามจึงถือเป็นการสถาปนามหาวิทยาลัยด้วยเช่นกัน[8]
คำว่า “ราชภัฏ” ให้ความหมายว่า “คนของพระราชา…ข้าของแผ่นดิน” หากตีความตามความรู้สึกยิ่งกินใจและตีความได้กว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีกนั่นก็คือ “การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต และสุดจิตสุดใจ” ซึ่งการเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย เนื่องจากว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทผู้เป็นมิ่งขวัญของพวกเราชาวราชภัฏ ทรงเป็นแบบอย่างการทรงงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างที่มิเคยทรงหยุดพักแม้เพียงนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวสยามของพระองค์นั้นเองด้วยเหตุผลเหล่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงได้พระราชทานพระราชลัญจกร อันเป็นเครื่องประกอบพระราชอิศริยยศ พระราชอิศริยศักดิ์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประหนึ่งเครื่องเตือนความทรงจำว่าพวกเราชาวราชภัฏคือ “คนของพระราชา และข้าของแผ่นดิน”
เนื่องในวันราชภัฎ[9] ในทุกๆ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ จึงได้จัดกรรมต่างๆ ขึ้นอาทิ การทำบุญตักบาตร การจัดนิทรรศการ การเสวนาทางวิชาการ และการมอบรางวัลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีต่อการสนับสนุนอุดมการณ์ของ “ชาวราชภัฎ” หนึ่งในรอบปีมีวาระสำคัญอย่างยิ่งที่พวกเราเลือดราชภัฎจะถือโอกาสในการทำงานเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริสืบต่อพระราชปณิธานและสืบสานพระราชประสงค์ เหมาะสมกับการเป็น “ข้ารองพระยุคลบาทยิ่ง” และอย่างให้ชาวราชภัฏทุกท่านสำนึกอยู่เสมอว่า “มีหน้าที่อุทิศตนทำงานทุกอย่าง เพื่อเป็นบทพิสูจน์ความจงรักภักดิ์ดี และเทิดทูนใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท และล้นเกล้าล้นกระหม่อมทุกๆ พระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ สำคัญนักเรียน นักศึกษา ครู คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ พวกเราชาวราชภัฏต้องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเกศี ด้วยการปฏิบัติทึกภาระกิจที่ได้รับมอบหมายประหนึ่งทำถวายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในทุกกรณี เพราะพวกเราชาวราชภัฎคือ “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
แก้- ปี พ.ศ. 2526 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เสด็จพระราชดำเนินเฉพาะปี พ.ศ. 2526) เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาแก่ผู้สำเร็จจากวิทยาลัยครูมหาสารคาม - วิทยาลัยครูทั่วประเทศ ณ อาคารใหม่สวนอัมพร พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร
- ปี พ.ศ. 2527-2537 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาแก่ผู้สำเร็จจากวิทยาลัยครูมหาสารคาม - วิทยาลัยครูทั่วประเทศ ณ อาคารใหม่สวนอัมพร พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร
- ปี พ.ศ. 2538-2546 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันราชภัฏมหาสารคาม - สถาบันราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ สถาบันราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
- ปี พ.ศ. 2548 [10]พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม[11]-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมไพรพยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
- ปี พ.ศ. 2547-2559 [12]พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 10 (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม[13]-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
- ปี พ.ศ. 2560 - 2563 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เองในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
- ปี พ.ศ. 2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
- ปี พ.ศ. 2566 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายพลากร สุวรรณรัฐ องค์มนตรี เป็นตัวแทนพระองค์ ไปในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม | |||||||||
ประจำปี | ผู้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ | สถานที่ | หมายเหตุ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 | |||||||||
พ.ศ. 2526
(17-20,22-25,27 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) |
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี | อาคารใหม่สวนอัมพร พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร | เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาแก่ผู้สำเร็จจากวิทยาลัยครูมหาสารคาม - วิทยาลัยครูทั่วประเทศ | ||||||
พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2537 | สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร | เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาแก่ผู้สำเร็จจากวิทยาลัยครูมหาสารคาม - วิทยาลัยครูทั่วประเทศ | |||||||
พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546 | สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร | หอประชุมมหาวชิราลงกรณ สถาบันราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร | เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันราชภัฏมหาสารคาม - สถาบันราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ||||||
พ.ศ. 2548[14] | สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร | หอประชุมไพรพยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี[15] | เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ||||||
พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2559[16] | สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร | หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร[17] | เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ||||||
ประจำปี | ผู้เสด็จพระราชดำเนินฯ | สถานที่ | หมายเหตุ | ||||||
รัชสมัยปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 | |||||||||
พ.ศ. 2560 - 2563 | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร | เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เองในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ||||||
ประจำปี | ผู้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ | สถานที่ | หมายเหตุ | ||||||
รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 | |||||||||
พ.ศ. 2565 [18] | สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา | หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร[19] | เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | ||||||
ประจำปี | ผู้แทนพระองค์ | สถานที่ | หมายเหตุ | ||||||
รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 | |||||||||
พ.ศ. 2566 [20] | นายพลากร สุวรรณรัฐ (องคมนตรี) | หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร[21] | เป็นผู้แทนพระองค์ ไปในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ครุยวิทยฐานะ
แก้ครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นชุดครุยสากล แบ่งสีฮุดตามปริญญาที่สำเร็จการศึกษา
สีฮุดประจำปริญญา
1.ครุศาสตรบัณฑิต = สีฟ้า
- คณะครุศาสตร์
่2.วิทยาศาสตรบัณฑิต = สีเหลือง
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุกสาขาวิชา)
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร (ทุกสาขาวิชา)
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (ทุกสาขาวิชา)
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ (เฉพาะ เทคโนโลยีบัณฑิต)
- คณะครุศาสตร์ (เฉพาะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา)
3.ศิลปศาสตรบัณฑิต = สีแสด
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- คณะครุศาสตร์ (เฉพาะ สาขาวิชาการจัดการกีฬา)
- คณะวิทยาการจัดการ (เฉพาะ สาขานิเทศศาสตร์)
4.ศิลปบัณฑิต = สีแดง
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (เฉพาะสาขาวิจิตศิลป์, สาขาทัศนศิลป์)
5.บริหารธุรกิจบัณฑิต = สีชมพู
- คณะวิทยาการจัดการ
6.บัญชีบัณฑิต = ██ สีฟ้าอ่อน
- คณะวิทยาการจัดการ (เฉพาะ สาขาการบัญชี)
7.นิติศาสตรบัณฑิต = ██ สีขาว
- คณะนิติศาสตร์
8.รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต = สีเขียวหัวเป็ด
- คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (เฉพาะ สาขารัฐประศาสนศาสตร์, สาขาการบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนา)
9.รัฐศาสตรบัณฑิต = ██ สีเขียวอ่อน
- คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (เฉพาะ สาขารัฐศาสตร์)
10.วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต = ██ สีแดงเลือดนก
- คณะวิศวกรรมศาสตร์
นายกองค์การบริหารนักศึกษา/ประธานสภานักศึกษา
แก้ปีการศึกษา | นายกองค์การบริหารนักศึกษา | ประธานสภานักศึกษา | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ดำรงตำแหน่ง | คณะ/ชั้นปี | สังกัด | ผู้ดำรงตำแหน่ง | คณะ/ชั้นปี | สังกัด | |
2567 | นายชลันธร แก้วโกฏ | ครุศาสตร์/3 | พรรคดอกจาน | นายเทวฤทธิ์ กล่ำดิษฐ | วิทยาการจัดการ/4 | พรรคพลังนักศึกษา |
2566 | นายรัตนพล คิดไร | ครุศาสตร์/4 | พรรคดอกจาน | นายนนธกร หันสา | มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์/4 | พรรคพลังนักศึกษา |
2565 | นายศราวุธ ถวิลคำ | มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์/4 | พรรคพลังนักศึกษา | นายณัฐพงษ์ ภักดีรัก | รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์/4 | พรรคพลังนักศึกษา |
2564 | นางสาวสิริลักษณ์ ยาผาง | มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์/4 | พรรคพลังนักศึกษา | นางสาวยุวดี ศิริบุตรวงศ์ | รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์/4 | พรรคพลังนักศึกษา |
2563 | นายอภิชาติ นันทะแสง | นิติศาสตร์/4 | พรรคลูกพระวรุณ | นายอธิพงษ์ จันทร์เสน | วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/4 | พรรคพลังนักศึกษา |
2562 | นายคมสันต์ แสงงาม | ครุศาสตร์/4 | พรรคดอกจาน | นายธนพงษ์ จุติรักษ์ | รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์/4 | พรรคเก้าประสาน |
2561 | นายเกริกเกียรติ ภูจิระ | ครุศาสตร์/4 | พรรคดอกจาน | นายเอกราช โพธิเลกุ | รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์/4 | พรรคเก้าประสาน |
2560 | นายสิทธิโชค จันนามอม | ครุศาสตร์/4 | พรรคดอกจาน | นายชุติพงศ์ แหไธสงค์ | ครุศาสตร์/4 | พรรคดอกจาน |
2559 | นายศุภชัย แสนกระจาย | วิทยาการจัดการ/4 | พรรคราชภัฏ | นางสาวเครือมาศ ถาวิชัย | รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์/4 | พรรคเก้าประสาน |
2558 | นายวิฑูรย์ แข็งฤทธิ์ | นิติศาสตร์/4 | พรรคลูกพระวรุณ | นายมนตรี อริเดช | ครุศาสตร์/4 | พรรคดอกจาน |
2557 | นายศุภนนท์ ตาบผาด | ครุศาสตร์/4 | พรรคดอกจาน | ครุศาสตร์/4 | พรรคดอกจาน |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้นักการเมือง
แก้- กุสุมาลวตี ศิริโกมุท นักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- คมเดช ไชยศิวามงคล นักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- นิรันดร์ นาเมืองรักษ์ อดีตผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย
- บุญรื่น ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
- วิเชียร ขาวขำ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- สุชาติ โชคชัยวัฒนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- สรรพภัญญู ศิริไปล์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
- คมคาย อุดรพิมพ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
นักเขียน
แก้- ชัชวาลย์ โคตรสงคราม นักเขียนเรื่องสั้นและนวนิยาย ได้รับรางวัลช่อการะเกดประจำปี 2535 จากเรื่องสั้นชื่อ "เจ้านกกระจิบ" รวมพิมพ์ในเล่ม "รากเหง้าเผด็จการ" โดยสุชาติ สวัสดิ์ศรี บรรณาธิการ นวนิยายสัจนิยมมหัศจรรย์ระดับพื้นผิว เรื่อง "ทะเลน้ำนม" เข้ารอบ 7 เล่ม สุดท้ายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปีพุทธศักราช 2552
นักร้อง/นักแสดง
แก้- ครูเต้ย อภิวัฒน์ บุญเอนก ศิลปินนักร้อง ค่ายคืนถิ่นสตูดิโอ และอดีตข้าราชการครู โรงเรียนบ้านโนนธาตุ จังหวัดขอนแก่น จบจากคณะครุศาสตร์ สาขาดนตรีศึกษา
- สายแนน โพธิ์งาม ศิลปินนักร้อง ค่ายสิงห์มิวสิค จบจากคณะมนุษย์และสังคมศาสตร์
นักกีฬา
แก้บุคคลทั่วไป
แก้- ธิดารา วอไธสง จบจากคณะ สาขา แฟนสาวแชมป์โลกมวยสากลอาชีพคนที่ 10 ของประเทศไทย ไทย และอดีตยอดนักมวยไทยชื่อดังชื่อ สามารถ พยัคฆ์อรุณ เป็นลูกสาวของ เรืองชัย ไทยรุ่งเรือง (ร่วมค่ายยุคเดียวกับ เริงชัย ไทยรุ่งเรือง) อดีตนักมวยไทยรุ่นน้องสามารถ
อ้างอิง
แก้- ↑ [ไฟล์:///C:/Users/ACER/Downloads/Documents/FTES-2562.pdf จำนวนนักศึกษา]
- ↑ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. "มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม - Rajabhat Maha Sarakham University". rmu.ac.th.
- ↑ พระราชบัญญติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538
- ↑ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
- ↑ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. "มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม - Rajabhat Maha Sarakham University". rmu.ac.th.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/196/T5.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%8F&action=edit§ion=3
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-13.