คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59

อดีตคณะรัฐมนตรีไทย

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)[1] นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คณะรัฐมนตรีไทย คณะนี้ เป็นคณะที่ ประกาศใช้ พระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นระยะเวลายาวนานรองจากคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62

คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 แห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2551 - 2554
วันแต่งตั้ง20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
วันสิ้นสุด9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
(2 ปี 232 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปชป.)
รองนายกรัฐมนตรี
จำนวนรัฐมนตรี34
จำนวนอดีตรัฐมนตรี14
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด48
พรรคร่วมรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
พรรคภูมิใจไทย
พรรคชาติไทยพัฒนา
พรรคเพื่อแผ่นดิน (ถึง 2554)
พรรครวมชาติพัฒนา
พรรคกิจสังคม
พรรคมาตุภูมิ
สถานะในสภานิติบัญญัติรัฐบาลผสม
281 / 475
พรรคฝ่ายค้านพรรคเพื่อไทย
พรรคประชาราช
ผู้นำฝ่ายค้านไม่ได้แต่งตั้ง
ประวัติ
การเลือกตั้ง
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
สภานิติบัญญัติสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23
วาระสภานิติบัญญัติ4 ปี
งบประมาณพ.ศ. 2553
พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 58
ถัดไปคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60

รายชื่อรัฐมนตรี แก้

ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี
(จนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี)
  รัฐมนตรีว่าการ
  รัฐมนตรีช่วยว่าการ
  รัฐมนตรีลอย
ออกจากตำแหน่ง
เปลี่ยนแปลง/โยกย้าย
แต่งตั้งเพิ่ม
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 59 ของไทย
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ พรรคการเมือง
นายกรัฐมนตรี * อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 มีพระบรมราชโองการ
ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกตั้งใหม่
ประชาธิปัตย์
รองนายกรัฐมนตรี 1 สุเทพ เทือกสุบรรณ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ลาออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
2(1) กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 11 มกราคม พ.ศ. 2553 ลาออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
2(2) ไตรรงค์ สุวรรณคีรี 15 มกราคม พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
3 พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ชาติไทยพัฒนา
สำนักนายกรัฐมนตรี   4 สาทิตย์ วงศ์หนองเตย 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
  5(1) วีระชัย วีระเมธีกุล 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ไปดำรงตำแหน่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประชาธิปัตย์
  5(2) องอาจ คล้ามไพบูลย์ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
กลาโหม   6 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 อิสระ
คลัง   7 กรณ์ จาติกวณิช 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
  8 ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 รวมชาติพัฒนา
  9(1) พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อแผ่นดิน
  9(2) มั่น พัธโนทัย 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 มาตุภูมิ
การต่างประเทศ   10 กษิต ภิรมย์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
การท่องเที่ยวและกีฬา   11 ชุมพล ศิลปอาชา 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ชาติไทยพัฒนา
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์   12 (1) วิฑูรย์ นามบุตร 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ลาออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
  12 (2) อิสสระ สมชัย 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
เกษตร
และสหกรณ์
  13 ธีระ วงศ์สมุทร 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ชาติไทยพัฒนา
  14 (1) ชาติชาย พุคยาภรณ์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ลาออกจากตำแหน่ง ภูมิใจไทย
  14 (2) ศุภชัย โพธิ์สุ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ภูมิใจไทย
คมนาคม   15 โสภณ ซารัมย์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ภูมิใจไทย
  16(1) ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 14 มกราคม พ.ศ. 2553 ลาออกจากตำแหน่ง ภูมิใจไทย
  16(2) สุชาติ โชคชัยวัฒนากร 15 มกราคม พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ภูมิใจไทย
  17 เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ลาออกจากตำแหน่ง ชาติไทยพัฒนา
14 มกราคม พ.ศ. 2554 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ชาติไทยพัฒนา
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   18 สุวิทย์ คุณกิตติ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 กิจสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   19(1) ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อแผ่นดิน
  19(2) จุติ ไกรฤกษ์ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
พลังงาน   20 วรรณรัตน์ ชาญนุกูล 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 รวมชาติพัฒนา
พาณิชย์   21 พรทิวา นาคาศัย 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ภูมิใจไทย
  22 อลงกรณ์ พลบุตร 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
มหาดไทย   23 ชวรัตน์ ชาญวีรกูล 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ภูมิใจไทย
  24 บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ลาออกจากตำแหน่ง ภูมิใจไทย
14 มกราคม พ.ศ. 2554 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ภูมิใจไทย
  25 ถาวร เสนเนียม 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
ยุติธรรม   26 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
แรงงาน   27(1) ไพฑูรย์ แก้วทอง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปรับออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
  27(2) เฉลิมชัย ศรีอ่อน 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
วัฒนธรรม   28(1) ธีระ สลักเพชร 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปรับออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
  28(2) นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   29(1) คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปรับออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
  29(2) วีระชัย วีระเมธีกุล 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
ศึกษาธิการ   31(1) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 15 มกราคม พ.ศ. 2553 ไปดำรงตำแหน่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ประชาธิปัตย์
  31(2) ชินวรณ์ บุณยเกียรติ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
  32(1) ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ไปดำรงตำแหน่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ประชาธิปัตย์
  32(2) ไชยยศ จิรเมธากร 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เพื่อแผ่นดิน
  33 นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เพื่อแผ่นดิน
สาธารณสุข   34(1) วิทยา แก้วภราดัย 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ลาออกจากตำแหน่ง ประชาธิปัตย์
  34(2) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์
  35(1) มานิต นพอมรบดี 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 10 มกราคม พ.ศ. 2553 ลาออกจากตำแหน่ง ภูมิใจไทย
  35(2) พรรณสิริ กุลนาถศิริ 15 มกราคม พ.ศ. 2553 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ลาออกจากตำแหน่ง
ขณะรักษาการ
ภูมิใจไทย
อุตสาหกรรม   30(1) ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปรับออกจากตำแหน่ง เพื่อแผ่นดิน
  30(2) ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ประชาธิปัตย์

การถวายสัตย์ปฏิญาณ แก้

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลาประมาณ 17.35 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ในการนี้ได้พระราชทานพระบรมราโชวาท เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่

ข้าพเจ้ายินดีที่ได้ฟังรัฐมนตรี ที่จะเข้ารับหน้าที่ต่อไปนี้ได้ปฏิญาณตนว่าจะปฏิบัติหน้าที่อย่างดี เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ซึ่งท่านมีหน้าที่ที่สำคัญที่สุด เพราะว่าจะต้องทำให้ประเทศชาติมีความสุข ความเรียบร้อย ถ้าท่านทำงานเรียบร้อย ทำให้บ้านเมืองเรียบร้อย ก็เป็นสิ่งที่เรียกว่าเป็นบุญสำหรับประเทศ เพราะว่าประเทศต้องมีคนที่ดูแลความเป็นอยู่อย่างดี มิฉะนั้น ไม่สามารถที่จะปฏิบัติงานของประชาชนทั่วไปได้ดีนัก แต่ถ้าท่านได้ช่วยกันทำให้บ้านเมืองมีความสุข ความเรียบร้อย ก็ทำให้ประเทศชาติเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งเป็นความต้องการของประชาชนคนไทยทุกคน ที่จะให้ประเทศชาติดำเนินไปโดยดี เพราะว่าถ้าไม่สามารถที่จะมีความเป็นไทยอยู่ได้ ก็ขอให้ท่านพยายามที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด เพื่อที่จะให้คนไทยมีความเรียบร้อย มีความสุขเพราะว่าถ้าทำไม่ดีจะเป็นคนที่อยู่ในตำแหน่งสูง หรือ คนทั่วๆ ไป ทำไม่ดี คนหนึ่งคนใด ก็ทำให้ประเทศชาติล่มจมได้ และก็ท่านก็มีหน้าที่สำคัญเพราะท่านอยู่สูง มีหน้าที่สูง ก็จะต้องทำให้ประเทศชาติดำเนินไปโดยดี ก็ขอให้ท่านสามารถปฏิบัติงาน เพื่อความดีของประเทศ ความสงบสุขของประเทศ ซึ่งเป็นความจำเป็นที่สุด ถ้าท่านทำได้ท่านเองก็มีความสุข และประชาชนทั่วไปทุกพวก ทั้งหมู่ ทั้งเหล่า ทุกเหล่าได้มีความสุขทั้งนั้น คนไหนจะทำอะไรก็สามารถจะปฏิบัติงานได้ ถ้าท่านช่วยกันดูแลประเทศชาติให้มีความราบรื่น ท่านเองก็มีความสุขเหมือนกัน ฉะนั้นที่ท่านตั้งใจที่จะปฏิบัติงานโดยดีนั้น เป็นความดีที่ท่านจะทำสำหรับตัวเองด้วย สำหรับส่วนรวมด้วย เพราะว่า ถ้าส่วนรวมอยู่ดีท่านก็อยู่ดี ขอให้ท่านสามารถที่จะปฏิบัติงานโดยเรียบร้อย ทำให้ทั้งประเทศมีความราบรื่น ซึ่งเราต้องการความสงบของประเทศ ก็ขอให้ท่านสามารถที่จะปฏิบัติงาน โดยเรียบร้อยทุกอย่าง และขอให้ท่านมีความสำเร็จในงานการแต่ละส่วนที่ท่านต้องทำ[2]

นโยบายและผลการดำเนินงานของรัฐบาล แก้

รัฐบาลได้ดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ

  • การแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจที่มีต่อประชาชน ได้แก่ โครงการเรียนฟรี 15 ปี เบี้ยเลี้ยงชีพผู้สูงอายุ เช็คช่วยชาติ ต้นกล้าอาชีพ ชุมชนพอเพียง ธงฟ้าช่วยประชาชน โครงการ 5 มาตรการ 6 เดือน ช่วยค่าครองชีพ โครงการ 3 ลด 3 เพิ่มแก้ปัญหาว่างงาน โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร โครงการ อสม.เชิงรุก และโครงการช่วยเหลือ SMEs
  • สร้างความเชื่อมั่น ฟื้นฟูภาพลักษณ์ของประเทศไทย และสร้างความสมานฉันท์ ได้แก่ การฟื้นฟูความเชื่อมั่นประเทศไทย มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว การสร้างความสมานฉันท์ การปฏิรูปการเมือง และการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • การวางรากฐานการพัฒนาในอนาคต ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ รถไฟฟ้า 5 สาย ถนนปลอดฝุ่น การปรับปรุงสถานีอนามัย และ 5 รั้วป้องกันยาเสพติด
  • แก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า ได้แก่ 2 ลด 3 เร่ง ยุทธศาสตร์รับ-รุกไข้หวัดใหญ่
  • ดำเนินการตามคำเรียกร้องของประชาชน

เรียนฟรี 15 ปี แก้

รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดการศึกษา โดยมุ่งเน้นการส้รางโอกาสทางการศึกษาให้ทุกคนได้มีโอกาสเท่าเทียมกัน โดยจัดสรรงบประมาณจำนวน 19,296,100,000 บาท เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ทุกคนได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอย่างเท่าเทียมกัน 15 ปี ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่าย 5 รายการ ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งในปัจจุบันได้มีการดำเนินการไปแล้วร้อยละ 77 หรือเป็นเงินประมาณ 18,575,470,000 บาท ส่วนหนึ่งยังมีผู้ปกครองที่มีรายได้พอสมควรไม่ประสงค์จะรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลนำเงินในส่วนนี้ไปช่วยในการพัฒนาโรงเรียนในถิ่นธุรกันดาร 577 โรง รวมเป็นเงินประมาณ 40 ล้านบาท[3]

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แก้

รัฐบาลต้องการสร้างหลักประกันรายได้ เป็นการตอบแทนการทำงานหนักมาตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ โดยการจ่ายเงินค่ายังชีพ จำนวน 500 บาท ต่อเดือน ให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป[4]

อสม. เชิงรุก แก้

รัฐบาลเห็นความสำคัญของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งมีอยู่ 987,019 คนทั่วประเทศ ให้ได้รับเงินค่าสวัสดิการตอบแทน (ค่าป่วยการ) ในอัตราคนละ 600 บาทต่อเดือน[5]

การประกันรายได้เกษตรกร แก้

โครงการประกันรายได้เกษตรกร มีเกษตรกรที่ทำสัญญาประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 3.95 ล้านราย ซึ่งสูงกว่าโครงการจำนำรายได้ ที่มีเกษตรกรเข้าร่วมเพียง 0.91 ล้านราย[6]

การนำที่ดินราชพัสดุเพื่อให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตร แก้

การนำที่ดินราชพัสดุจำนวน 1 ล้านไร่ เพื่อให้เกษตรกรเช่าทำการเกษตร ได้ดำเนินการแล้วในปี พ.ศ. 2552 จำนวน 114,376 ไร่ จำนวนเกษตรกร 6,894 ราย

การดูแลสุขภาพ แก้

อภิสิทธิ์สานต่อนโยบายเกี่ยวกับมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาของรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เรียกร้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เขาเตือนว่าสิทธิบัตรยาที่อยู่ในสภาวะถูกกดดันอย่างนี้อาจบานปลายมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าสหรัฐอเมริกาทำสภาพการค้าของประเทศไทยให้ตกต่ำลง[7]

การออกกฎหมาย แก้

พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เสนอกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เพิ่มโทษหนักกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ทัศนคติของบุคคลที่ดูหมิ่นและมีความต้องการให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุก 3 - 20 ปี หรือปรับ 200,000 - 800,000 บาท[8] ในเวลาเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์กล่าวหาว่ามี 29 เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาและข้อความแสดงความคิดเห็นที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งทางพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์.[9] คณะรัฐมนตรีคณะนี้ยังเป็นคณะแรกที่ใช้กฎหมาย พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

การตรวจสอบขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แก้

การตรวจตราขบวนการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะโดยเปรียบเทียบรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[10] อภิสิทธิ์จัดตั้งกองกำลังทหารเฉพาะกิจที่คอยต่อสู้กับอันตรายจากความคิดเห็น ที่พิจารณาถึงบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในทางการเมือง รัฐบาลอภิสิทธิ์เปิดเว็บไซต์ที่ส่งเสริมให้ประชาชนแจ้งเว็บไซต์ผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์กว่า 4,800 เว็บไซต์ถูกบล็อก เนื่องจากมีเนื้อหาที่เข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การเคลื่อนไหวถูกมองโดยนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่รณรงค์ร่วมกันเพื่อระงับการอภิปรายทางการเมืองภายในราชอาณาจักร[11]

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้นที่ทำการของเว็บไซต์ประชาไท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ที่คอยจ้องจับผิดรัฐบาล หนังสือพิมพ์ฉบับนี้อยู่บนพื้นฐานของการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2 วันถัดมา อภิสิทธิ์ไปพบกับตัวแทนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยและสัญญาว่าจะเคารพสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ที่แสดงสีหน้าในขณะที่มีการพัฒนาบรรทัดฐานและมาตรฐานใหม่[12]

นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กระทรวงได้ขออำนาจศาลสั่งปิดเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันเบื้องสูงไป 2,700 เว็บไซต์ ขั้นตอนต่อไปกระทรวงจะแจ้งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรับทราบเพื่อดำเนินการปิดกั้น จากนั้นจะตรวจสอบว่ายังมีช่องทางใดสามารถเข้าถึงเว็บดังกล่าวได้อีก

ก่อนหน้านี้เครือข่ายพลเมืองเน็ตได้ไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้เร่งแก้กฎหมายคอมพิวเตอร์บางมาตราที่ยังคลุมเครือ และมีผลต่อการดำเนินคดีหากเกิดความผิด ซึ่งนายกรัฐมนตรีบอกว่ายังไม่มีนโยบายแก้กฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งสวนทางกับความเห็นของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ที่ยอมรับว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่บังคับใช้อยู่จะต้องปรับแก้บางมาตรา เพื่อให้บังคับใช้ถูกจุดมากขึ้น จึงควรหารือเรื่องนี้ให้ชัดเจน [13]

สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยถึงกรณีการกระทำผิดเผยแพร่ข้อความหมิ่นสถาบันเบื้องสูงผ่านเว็บไซต์ว่า ตรวจพบเว็บเข้าข่ายหมิ่นสถาบันประมาณ 30 เว็บ ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่เคยทำผิด จะเป็นกลุ่มเครือข่ายเดิมที่เคยเปิดเว็บหมิ่นเบื้องสูงแล้วถูกสั่งปิดไปแล้วก็จะมีผุดขึ้นมาใหม่อีก จัดทำเป็นหน้าเว็บใหม่ ซึ่งทำกันได้ง่าย ซึ่งตรงนี้ สทส.มีเจ้าหน้าที่ประจำหน้าจอเฝ้าคอยตรวจสอบตลอด 24 ชม. เมื่อเจอข้อความหมิ่นจะตอบโต้โพสต์ข้อความกลับไปในสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริง พร้อมทั้งทาง สทส.ก็จะมีเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งคอยเผยแพร่พระราชกรณียกิจต่างๆ ในหน้าเว็บของ สทส.มากขึ้น อีกทั้งทำหนังสือเวียนถึงข้าราชการตำรวจและครอบครัว หากพบเห็นข้อความจาบจ้วงหมิ่นเบื้องสูง และมีการโพสต์รูปภาพเผยแพร่ทำผิดกฎหมาย ให้แจ้งเบาะแสได้ทันที[14]

ชิงชัย มงคลธรรม หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ แนะรัฐบาลถวายคืนพระราชอำนาจ ให้กองทัพเร่งกู้ชาติหยุดปราบประชาชน พร้อมยืนยันจุดยืนยุติปัญหาต้อง ตั้งการปกครองเฉพาะกาล โดยเอาคู่ขัดแย้งออกจากสถานการณ์การเมืองที่มุ่งแย้งชิงอำนาจ ส่วนกรณีที่แกนนำ นปช.และกลุ่มนักวิชาการออกมาเรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติ เข้ามาเป็นตัวกลางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนั้น ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ และ ประเทศไทยเป็น ราชอาณาจักร มีความมั่นคงทางทหาร การที่มีการนำเสนอแนวทางนี้หากเกิดขึ้นจริง จะเป็นคนแรกที่จะไปขับไล่ทันที[15]

สนธิ ลิ้มทองกุล เผยในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ครั้งที่ 8 ว่ายันยังไม่มีพระบรมราชานุญาตให้นายกฯเป็นประธานในพระอุโบสถวัดพระแก้ว พร้อมแสดงหลักฐานการมี “สังฆราช 2 พระองค์” ปิดท้ายนำประชาชนยืนกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณถวายคืนพระราชอำนาจแด่พระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานผู้นำปฏิรูปการเมือง และจัดโครงสร้างองค์กรการเมืองใหม่โดยสันติวิธี [16]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แก้

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 กระทรวงการต่างประเทศของไทย มีคำสั่งเรียกเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญกลับประเทศ เพื่อเป็นการลดระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ตอบโต้การให้สัมภาษณ์กล่าวหากระบวนการยุติธรรมของไทย และเป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศ จากกรณีที่กัมพูชาแต่งตั้งพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งทักษิณ ถือเป็นนักโทษที่ประเทศไทยต้องการตัวตามหมายจับในคดีทุจริตประมูลซื้อที่ดินรัชดาภิเษก ซึ่งมีโทษจำคุก 2 ปี[17]

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายกษิต ภิรมย์ได้แถลงด้วยวาจาต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก ในถ้อยแถลงการณ์ของรัฐมนตรีต่างประเทศระบุใจความตอนหนึ่งว่าฝ่ายกัมพูชาละเมิดข้อตกลงหยุดยิง ที่ได้ตกลงกันใน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ณ ช่องสะงำในจังหวัดศรีสะเกษ ที่ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงที่จะหยุดยิงทันที ผู้บังคับการทหารระดับภูมิภาคของไทยและฝ่ายกัมพูชา เป็นตัวแทนเจรจา อีกทั้งได้ประณามทหารกัมพูชาในการใช้ปราสาทพระวิหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร และประณามรัฐบาลกัมพูชาที่มีส่วนรู้เห็นในการอนุญาตให้ใช้ปราสาทพระวิหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร[18]

เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 ทางกระทรวงต่างประเทศไทยส่งหนังสือประท้วงอย่างรุนแรงที่สุดผ่านเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย จากเหตุการณ์ปะทะที่จังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์ จนเป็นเหตุให้ต้องประเทศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ ในบางอำเภอของจังหวัดดังกล่าว[19]

เช็คช่วยชาติ แก้

วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกได้สร้างผลกระทบอย่างมากต่อประเทศไทย จำนวนผู้ว่างงานในเดือนมกราคม 2552 เพิ่มขึ้นเป็น 800,000 คน โดยเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2551[20] ในต้นปี พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจถูกคาดหวังว่าจะ ว่าจ้างตามสัญญา 3% ตลอดทั้งปี[21] เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยสร้างกำลังซื้อภายในประเทศในวงกว้างอย่างทั่วถึง เห็นผลเร็วและรั่วไหลน้อยที่สุด เพื่อพยุงเศรษฐกิจช่วงเวลาที่เศรษฐกิจหดตัวในระยะเร่งด่วน โดยการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศโดยนำเงินใส่มือประชาชนผู้มีรายได้น้อยโดยตรง รายละ 2,000 บาท (สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท)[22]

ความไม่สงบในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2552 แก้

ความไม่สงบในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2553 แก้

ดูบทความหลักที่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 และ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

การประกาศกฎอัยการศึกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แก้

ภายใต้รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการประกาศกฎอัยการศึกครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ในวันที่ 21เมษายน พ.ศ..2554 แม่ทัพภาคที่ 4ในขณะนั้น เห็นควรให้ประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่ดังกล่าวอย่างไรก็ตามการประกาศกฎอัยการศึกภายในราชอาณาจักรไทยสามารถประกาศไทยโดยแม่ทัพภาคหรือผู้บัญชาการทหาร และสามารถนำมาใช้ได้ในทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐทนตรีทราบ ดังนั้นจึงไม่ใช่ความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี [23]

การตอบรับ แก้

คำชื่นชม แก้

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เวลา 08.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายจาง จิ่ว หวน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยได้เดินทางเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที จากนั้น นายจาง จิ่ว หวน เปิดเผยว่า มาเยี่ยมคำนับและนำสาส์นจากนายกรัฐมนตรีจีนมาแสดงความยินดีกับนายอภิสิทธิ์ในโอกาสดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยรัฐบาลจีนและประชาชนจีนจะยึดถือนโยบายเป็นมิตรกับประเทศไทย โดยจะพัฒนาความร่วมมือด้าน เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์ การศึกษา การท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ยืนยันจะเดินทางไปเยือนจีนในเวลาที่เหมาะสม นายจาง จิ่ว หวน กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีไทยได้ยืนยันที่จะมีการจัดการประชุมอาเซียนซัมมิท ในเร็วๆนี้ โดยจะมีหลายประเทศเข้าร่วมประชุมด้วย ทั้งอินเดีย จีน เกาหลี เป็นต้น

และเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายควินตัน เควลย์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย กล่าวหลังเข้าพบ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที ที่พรรคประชาธิปัตย์ว่า นายอภิสิทธิ์ มีคุณสมบัติและความ สามารถที่ดีเยี่ยม เพราะเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอีตัน อีกทั้งจบมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ พร้อมแสดงความเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรี ว่า รัฐบาลชุดนี้มีภารกิจใหญ่ 4 ประการคือการฟื้นความมั่นใจของนานาชาติในประเทศไทย สร้างความสมานฉันท์ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งอีกครั้ง โดยยึดหลักนิติธรรม รักษาความปลอดภัยของสนามบิน ซึ่งถือเป็นประตูในการท่องเที่ยวของไทย สร้างความมั่นใจแก่นักธุรกิจทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ซึ่งจะดึงให้มีการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ในการเข้าพบครั้งนี้ ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นแฟนฟุตบอลอังกฤษ จึงได้มอบของขวัญเป็นเสื้อยืดนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด โดยด้านหลังมีชื่อ นายอภิสิทธิ์ และหมายเลข 27 ซึ่งหมายถึงนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552 เวทีการเสวนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวระดับโลก ซึ่งประกอบด้วยเจ้าของธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ทั่วโลก ได้กล่าวชื่นชมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ว่าเข้าถึงคุณค่าและเข้าใจความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยามเศรษฐกิจถดถอย[24]

เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552 หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ได้นำเสนอคำชื่นชมของสื่อต่างประเทศ ได้แก่ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น สำนักข่าวเอ็นเอชเค และสำนักข่าวอื่นๆ ว่าได้นำเสนอข่าวชื่นชมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่สามารถควบคุมสถานการณ์ในการชุมชนของกลุ่มคนเสื้อแดงได้โดยสูญเสียน้อยที่สุด นอกจากนี้สำนักข่าวรอยเตอร์ ยังได้นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์ว่า การจลาจลของกลุ่มผู้ชุมนุมครั้งนี้อาจเป็นความพยายามเฮือกสุดท้ายของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อกลับคืนสู่อำนาจ ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยังสามารถฟื้นฟูความน่าเชื่อถือที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ [25]

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552 นายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงการที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ประเมินผลการทำงานของรัฐบาลในช่วง 1 ปีโดยให้คะแนนในระดับ บี เพราะท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นนี้ต่อให้หาเทวดาที่ไหนมาทำงาน ก็ไม่สามารถทำได้ดีไปกว่านี้แล้ว ที่สำคัญต้องการให้รัฐบาลพยายามประคองตัวเดินหน้าแก้ไขปัญหาของชาติต่อไปให้ได้ โดยไม่ให้เกิดการยุบสภาในเวลาที่เร็วเกินไป เพราะหากมีการยุบสภาเกิดขึ้นเร็ว ก็ทำให้เกิดความยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันต้องดูแลอย่าให้เกิดความขัดแย้งเพราะจะบั่นทอนความเชื่อมั่นลงไปอีก เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นทันตาเห็นทันทีแต่จะเกิดขึ้นในอีก 5-10 ปีข้างหน้า หรือทำให้ลูกหลานของเราเดือดร้อน[26]

คำวิจารณ์ แก้

เมื่อช่วงสายวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ที่พรรคเพื่อไทย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้แถลงว่า ขอเสนอฉายา ครม.อภิสิทธิ์ 1 เพื่อให้ประชาชนโหวตเลือกระหว่างฉายา "ครม.ต่างตอบแทน" กับ "ครม.ไอ้โหนไอ้ห้อย" ผ่านทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2280-6888

ต่อมาในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2551 นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ให้สัมภาษณ์ถึงโฉมหน้า ครม.อภิสิทธิ์ 1 ว่า เป็นรัฐบาลที่ไปปล้นเขามา ปล้นกลางอากาศ หรือไฮแจ็ค โดยไม่เกรงใจและไม่คำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน [27]

วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน ผู้อำนวยการเลือกตั้งซ่อมพรรคเพื่อไทย กล่าวบนเวทีปราศรัยใหญ่ช่วย นายขจิตร ชัยนิคม ผู้สมัครเลือกซ่อม ส.ส.เขต 1 มหาสารคามหาเสียงว่า หลังเลือกตั้งวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 ฝ่ายค้านจะยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และขอตั้งฉายารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ว่า เป็น "รัฐบาลเด็กอนุบาล" เพราะมีมือที่มองเห็นและไม่เห็นช่วยอาบน้ำประแป้งให้เสร็จ แล้วเอาไปส่งโรงเรียนเอาใครก็ไม่รู้มาเป็นรัฐมนตรี [28]

ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552 นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวถึงกรณีที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เตรียมถอนฟ้องแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่บุกยึดทำเนียบรัฐบาลว่าตนของตั้งฉายาให้กับรัฐบาลชุดนี้ว่า รัฐบาลชุดป้ายสี ตัดตอน เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นการสมยอมกันของ นายลอยเลื่อน บุญนาค รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กับกลุ่มพันธมิตรฯ โดยคดีดังกล่าวได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศอย่างมากกลับจะถอนฟ้อง มีการตัดตอนเพื่อไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม [29]

ผลสำรวจ แก้

ดัชนีความสุข แก้

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 เอแบคโพลเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ 17 จังหวัด จำนวน 3,516 ตัวอย่างเกี่ยวกับดัชนีความสุขภายหลังการเปลี่ยนขั้วการเมือง ผลปรากฏว่าความสุขของประชาชนเพิ่มขึ้นจาก 4.84 ในช่วงเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ 6.55 จากคะแนนเต็ม 10 และถือว่าเป็นค่าความสุขที่สูงที่สุดตั้งแต่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2551 โดยพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 79.7 นอนหลับค่อนข้างสนิทถึงนอนหลับได้สนิทขึ้นหลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว ในขณะที่ร้อยละ 9.7 นอนหลับได้ระดับปานกลาง และร้อยละ 10.6 นอนไม่ค่อยหลับถึงนอนไม่หลับเลย นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก หรือร้อยละ 38.2 คิดว่าทิศทางการเมืองจะดีขึ้นหลังจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ในขณะที่ร้อยละ 28.2 คิดว่าจะแย่ลง และร้อยละ 33.6 ยังไม่มีความเห็นในเรื่องนี้[30]

ผลงานรัฐบาล แก้

สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อผลงานของรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2552 พบว่าผลงานรัฐบาลที่ประชาชนพอใจมากที่สุดในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา อันดับที่หนึ่งได้ 8.15 คะแนน คือ การปกป้องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สำหรับอันดับแรกที่ประชาชนพอใจผลงานรัฐบาลน้อยที่สุด ได้แก่ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้คะแนนพอใจเฉลี่ย 5.10 โดยคะแนนรวมของพลงานรัฐบาลอยู่ที่ 6.35 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน มีความหมายว่า ประชาชนพอใจต่อผลงานรัฐบาลค่อนข้างมาก[31]

การสิ้นสุดลง แก้

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เมื่อนายกรัฐมนตรีได้ทูลเกล้าฯพระราชกฤษฎีกายุบสภา และได้โปรดเกล้าฯลงมาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ปีเดียวกัน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งเหตุผลในการยุบสภาครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีให้เหตุผลว่า เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมตัดสินใจแก้ไขปัญหาของประเทศชาติอีกครั้ง ซึ่งการยุบสภาครั้งนี้ทำไปด้วยความเต็มใจ[32][33] โดยคณะรัฐมนตรีชุดนี้จะต้องรักษาการไปจนกระทั่งมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามารับตำแหน่งแทน

ซึ่งการประชุมคณะรัฐมนตรีคณะนี้ ซึ่งประชุมทั้งหมด 133 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายประชุมวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 [34]

อ้างอิง แก้

  1. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย เก็บถาวร 2016-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. ในหลวงทรงแนะครม.ใหม่ ทำให้บ้านเมืองเรียบร้อย[ลิงก์เสีย]
  3. "โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-15. สืบค้นเมื่อ 2009-12-19.
  4. "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-03. สืบค้นเมื่อ 2009-12-19.
  5. "อสม.เชิงรุก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-08. สืบค้นเมื่อ 2009-12-19.
  6. สรุปผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีปีที่หนึ่ง
  7. Bangkok Post, สิทธิบัตรยาที่อยู่ในสภาวะถูกกดดัน, 5 March 2009
  8. The Nation, Democrats propose law to crack down on lese majeste, 19 November 2008
  9. The Nation, List of 29 controversial websites เก็บถาวร 2009-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. The Telegraph, Thailand analysis: 'land of smiles' becomes land of lies, 5 April 2009
  11. Telegraph, Ten years jail for "insulting" Thai king, 3 April 2009
  12. The Nation, Better ways to save thai online freedom, 6 April 2009
  13. "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่บังคับใช้อยู่จะต้องปรับแก้บางมาตรา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-01-15.
  14. "ตรวจพบเว็บเข้าข่ายหมิ่นสถาบันประมาณ 30 เว็บ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-15. สืบค้นเมื่อ 2011-01-15.
  15. นปช.และกลุ่มนักวิชาการออกมาเรียกร้องต่อองค์การสหประชาชาติ
  16. "คำสัตย์ปฏิญาณถวายคืนพระราชอำนาจแด่พระเจ้าอยู่หัว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-21. สืบค้นเมื่อ 2011-01-15.
  17. บัวแก้วแจงเรียกทูตกลับ ตามหลักสากล
  18. กรณีพิพากปราสาทเขาพระวิหาร
  19. กต.ทำหนังสือประท้วงกัมพูชา อย่างรุนแรงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปะทะที่ปราสาทตาควาย จ.สุรินทร์
  20. MCOT, Thailand's January unemployment soars to 880,000 เก็บถาวร 2012-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 17 March 2009
  21. MCOT, Thai economy to contract 4.5-5 per cent: Finance Minister เก็บถาวร 2012-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 16 April 2009
  22. เช็คช่วยชาติ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
  23. การประกาศกฎอัยการศึกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
  24. "นักธุรกิจท่องเที่ยวชื่นชมอภิสิทธิ์ เข้าถึงคุณค่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-11. สืบค้นเมื่อ 2009-12-19.
  25. สื่อเทศชื่นชมอภิสิทธิ์คุมสถานการณ์เยี่ยม[ลิงก์เสีย]
  26. สภาอุตฯ-หอการค้ามั่นใจ ให้คะแนนรัฐบาลเกรดบี
  27. "เสนาะจวกเละ 'รัฐบาลไฮแจ๊ค' นัด29ธค.แฉเบื้องหลังสิ้นไส้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-30. สืบค้นเมื่อ 2008-12-30.
  28. "'เฉลิม'เผย "ทักษิณ"คิดถึงคนอีสาน พร้อมตั้งฉายา "รัฐบาลเด็กอนุบาล"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-05. สืบค้นเมื่อ 2009-01-08.
  29. "'พท.' เล็งเอาผิด ถอนฟ้องพันธมิตรยึดทำเนียบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-05. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
  30. โพลชี้คนไทยมีสุขเพิ่มหลังเปลี่ยนขั้ว[ลิงก์เสีย]
  31. เอแบคโพลล์เผย ปชช.เกินครึ่งพอใจ ผลงานรัฐบาล
  32. นายกแถลงเต็มใจยุบสภาหวังคืนปชต.ให้ปชช. จากสนุกดอตคอม
  33. [ลิงก์เสีย] สู่โหมดเลือกตั้ง โปรดเกล้าฯยุบสภามีผล10พ.ค. จากไทยโพสต์
  34. [1]เก็บถาวร 2012-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ส่งคุณหนูกลับบ้าน ปิดฉากครม.”มาร์ค”ไชโยครั้งสุดท้าย จากเอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์