พรรณสิริ กุลนาถศิริ

พรรณสิริ กุลนาถศิริ นามเดิม รำเพย เทพสุทิน (เกิด 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502) เป็นนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย สังกัดพรรคเพื่อไทย อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นน้องสาวของสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา

พรรณสิริ กุลนาถศิริ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
15 มกราคม 2553 – 9 มิถุนายน 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้ามานิต นพอมรบดี
ถัดไปต่อพงษ์ ไชยสาส์น
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
รำเพย เทพสุทิน

19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 (65 ปี)
อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2543–2549)
พลังประชาชน (2549–2550)
มัชฌิมาธิปไตย (2550–2551)
ภูมิใจไทย (2551–2556)
เพื่อไทย (2556–2561, 2566–ปัจจุบัน)
พลังประชารัฐ (2561—2566)
คู่สมรสถาวร กุลนาถศิริ

ประวัติ

แก้

ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 เป็นน้องสาวของสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย แกนนำกลุ่มมัชฌิมา พรรคภูมิใจไทย สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรการศึกษา (ปกศ.) จากวิทยาลัยครูพิบูลสงคราม ระดับปริญญาตรีด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก (พ.ศ. 2523) ปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา และสาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และปริญญาเอก สาขาพัฒนาสังคม จากมหาวิทยาลัยนเรศวร (พ.ศ. 2553)

การทำงาน

แก้

ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ เริ่มรับราชการครู ในปี พ.ศ. 2523 ในตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 3 โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งสุดท้ายหลังจากเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ในปี พ.ศ. 2552 คือ รองผู้อำนวยการโรงเรียนอุดมดรุณี จังหวัดสุโขทัย[1]

งานการเมือง

แก้

ต่อมาภายหลังจากที่นายมานิต นพอมรบดี ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีกระแสข่าวในการแต่งตั้งบุคคลเป็นรัฐมนตรีแทนตำแหน่งที่ว่างหลายคน อาทิ ประศาสตร์ ทองปากน้ำ อุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ แต่สุดท้ายเพื่อเป็นทางออกของปัญหาภายในพรรคภูมิใจไทย จึงมีมติเสนอชื่อ ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ ดำรงตำแหน่งนี้แทน[2] ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553[3] แต่จากการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพล ในปี พ.ศ. 2553 กลับพบว่า ดร.พรรณสิริ ยังเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จัก ในอันดับที่ 3 (ร้อยละ 40.1)[4] ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี (ในขณะรักษาการ) เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย[5] และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัยในการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "น้องสมศักดิ์ รมช.สธ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-21. สืบค้นเมื่อ 2010-01-15.
  2. นายกฯเตรียมนำชื่อ5รมต.ใหม่ ทูลเกล้าฯ "สมศักดิ์"กล่อมน้องสาวนั่ง รมช.สธ. "ประจักษ์"ยอมรับถูกปลดพ้นรมต
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  4. เอแบคโพลล์เผย 5 รมต.โลกลืม" นริศรา -ชัยวุฒิ - พรรณสิริ - ศุภชัย -ไชยยศ "
  5. ""พรรณสิริ" ลาออกรมช.สธ.หวังชิงนายกอบจ.สุโบทัย ปัดปูทางพี่ชายกลับมา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2011-06-07.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๒๘๐, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐