กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)
กระทรวงพาณิชย์ (อังกฤษ: Ministry of Commerce) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย ที่หน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นๆ ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์
ตราพระวิศนุกรรม | |
ภาพรวมกระทรวง | |
---|---|
ก่อตั้ง | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2463[1] |
กระทรวงก่อนหน้า |
|
สำนักงานใหญ่ | เลขที่ 563 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000 13°52′59″N 100°29′12″E / 13.88315°N 100.48679°E |
งบประมาณต่อปี | 7,192.5847 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[2] |
รัฐมนตรี | |
รัฐมนตรีช่วย | |
ฝ่ายบริหารกระทรวง |
|
ลูกสังกัดกระทรวง | |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
กระทรวงพาณิชย์เดิมเรียก "กระทรวงเศรษฐการ" ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อแรกตั้งกระทรวงพาณิชย์นั้น ยังไม่มีที่ทำการกระทรวง เสนาบดีจึงมักจะใช้บ้านของตนเป็นสถานที่ทำงาน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรก จึงได้มีการสร้างอาคารที่ทำการอย่างถาวร บริเวณวัง 3 แห่ง คือ วังกรมหลวงอดิศรอุดมเดช วังกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ และวังกรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ และใช้ทำการมาเป็นเวลากว่า 70 ปี
ต่อมาเมื่อสภาพบ้านเมืองเจริญขึ้น รัฐบาลเริ่มมีนโยบายขยับขยายหน่วยงานราชการออกไปยังชานเมืองมากขึ้น เพื่อลดปัญหาความแออัดของตัวเมืองภายในพื้นที่ของเกาะรัตนโกสินทร์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2532 อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ใช้ที่ดินราชพัสดุจำนวนเนื้อที่ 48 ไร่เศษ บริเวณตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี สำหรับก่อสร้างอาคารที่ทำการกระทรวงพาณิชย์แห่งใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงจนถึงปัจจุบัน
บทบาทหน้าที่หลัก
- ภารกิจด้านในประเทศ มีหน้าที่ดูแลราคาสินค้าเกษตรและรายได้เกษตรกร ดูแลผู้บริโภคภายใต้กรอบกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งการค้าสินค้าและธุรกิจบริการ รวมทั้งธุรกิจประกันภัย และคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา
- ภารกิจด้านต่างประเทศ มีหน้าที่เจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการเจรจาภายใต้กรอบ WTO FTA อนุภูมิภาค ภูมิภาค ฯลฯ จัดระเบียบและบริหารการนำเข้าส่งออก รวมทั้งการขายข้าวรัฐต่อรัฐ การค้ามันสำปะหลัง สินค้าข้อตกลงต่างๆ แก้ไขปัญหา และรักษาผลประโยชน์ทางการค้า เช่น การดูแลเรื่อง GSP การเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ส่งเสริมและเร่งรัดการส่งออก
หน่วยงานในสังกัด
ส่วนราชการ
กระทรวงพาณิชย์มีหน่วยงานระดับกรมในสังกัด 9 หน่วยงาน ได้แก่
- สำนักงานรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
- กรมทรัพย์สินทางปัญญา
- กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
- กรมการค้าภายใน
- กรมการค้าต่างประเทศ
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า[4]
รัฐวิสาหกิจ
องค์การมหาชน
- สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
- สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)
- สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
ส่วนราชการในอดีต
- กรมการประกันภัย[5]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ ตั้งสภาเผยแผ่พาณิชย์ เล่ม 37 หน้า 160 วันที่ 21 สิงหาคม 2463
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์" ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงพาณิชย์
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๕๘
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๔๙) พ.ศ. ๒๕๕๐