สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า "สคพ." และใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า The International Institute for Trade and Development (Public Organization) เรียกโดยย่อว่า "ITD" เป็นองค์การมหาชน จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544[2] เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้การศึกษาอบรม และค้นคว้าวิจัย เพื่อส่งเสริมการค้า การพัฒนา และดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา เดิมสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 โอนไปสังกัดกระทรวงพาณิชย์[3]

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
International Institute for Trade and Development (Public Organization)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (23 ปี)
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ชั้น 8 อาคารวิทยพัฒนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาซอย 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
งบประมาณต่อปี29.7523 ล้านบาท (พ.ศ. 2564)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ศาสตราจารย์​ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์​, ประธานกรรมการ
  • นายสุภกิจ เจริญกุล, ผู้อำนวยการ
  • นายภานุมาส เทพทอง, รองผู้อำนวยการ (บริหาร)
  • นายวิมล ปั้นคง, รองผู้อำนวยการ (วิชาการ)
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงพาณิชย์
ลูกสังกัดหน่วยงาน
เว็บไซต์www.itd.or.th

ประวัติ

แก้

แนวคิดที่จะจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา มีความริเริ่มมาจากรูเบนส์ ริคูเปโร (Rubens Ricupero) เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (United Nations Conference on Trade and Development หรือ UNCTAD) ซึ่งแนวคิดดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากแรงจูงใจที่จะสนองตอบขอบคุณรัฐบาลไทยอย่างเป็นรูปธรรม ในฐานะที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพของการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีของอังค์ถัดครั้งที่ 10 ขึ้นที่ กรุงเทพฯ รวมทั้งเป็นความปรารถนาส่วนตัวมาช้านานของ ฯพณฯ ริคูเปโรที่ต้องการจะให้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่ยั่งยืนถาวรและเป็นแหล่งแพร่กระจายความรู้เพื่อการพัฒนาที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2540 รูเบนส์ ริคูเปโร ได้เข้าพบพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี โดยมีคณะรัฐมนตรีอาวุโสในสมัยนั้นร่วมด้วย วัตถุประสงค์ ได้แก่ การวางแผนจัดการประชุมอังค์ถัด 10 และในโอกาสนั้นเลขาธิการอังค์ถัดได้นำเสนอแผนงานการจัดตั้งองค์กรขึ้นซึ่งในชั้นนั้นเรียกว่าสถาบันเพื่อการพัฒนา (Institute of Development) และรัฐบาลไทยยินดีที่จะรับข้อเสนอนี้ หลังจากนั้นจึงเปิดเวทีการเจรจาขึ้นระหว่างอังค์ถัดกับผู้แทนรัฐบาลไทยต่อมาเป็นระยะเพื่อจัดทำความตกลงร่วมมือกัน จนปรากฏผลเป็นสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา

รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10[4] เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 นับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้แทนระดับสูงจากประเทศสมาชิกอังค์ถัดทั้ง 190 ประเทศและผู้แทนกว่าร้อยคนจากองค์กรระหว่างประเทศและองค์กรพัฒนาเอกชน ได้แลกเปลี่ยนทัศนะและความคิดเห็น ภายใต้หัวข้อ “ยุทธศาสตร์การพัฒนากับการนำบทเรียนในอดีตมาปรับเปลี่ยนกระแสโลกาภิวัตน์ให้เป็นโอกาสที่เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศและมวลประชากรโลก” ประเทศสมาชิกและกลุ่มพันธมิตรเพื่อการพัฒนาได้ร่วมกันรับรองเอกสารการประชุมในครั้งนี้ 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญากรุงเทพฯ และ แผนปฏิบัติการกรุงเทพฯ ซึ่งได้กล่าวเน้นถึงความจำเป็นสำหรับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่พยายามผลักดันให้มีการเจรจาอย่างเปิดเผยและให้ประเทศต่าง ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในระบบการเงิน การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ และการบูรณาการเข้าสู่เศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ เอกสารดังกล่าวยังเรียกร้องให้มีการแก้ไขความขาดสมดุลและไม่สมมาตรที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างระเบียบของโลกขึ้นใหม่ที่มีการแบ่งสรรผลประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้นในอนาคต

การหารือกันเพื่อจัดตั้งสถาบันฯ ใหม่สัมฤทธิ์ผลในบริบทดังกล่าวด้วยการลงนามในความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาขึ้นในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 โดย ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามแทนรัฐบาลไทย และ ฯพณฯ รูเบนส์ ริคูเปโร เลขาธิการอังค์ถัดเป็นผู้ลงนามแทนสหประชาชาติ การลงนามในความตกลงนี้ถือเป็นจุดเด่นของการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 10 และเป็นสิ่งที่ ฯพณฯ ริคูเปโร ถือว่าเป็นรูปธรรมหนึ่งของการประชุมที่จะยั่งยืนอยู่สืบไป สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาได้รับการสถาปนาขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของรัฐบาลไทยโดยมีสถานะเป็นองค์การมหาชน สถาบันฯ ดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลไทย อังค์ถัด องค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ และองค์กรระดับภูมิภาค

อำนาจหน้าที่

แก้

มาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 ระบุว่า “ให้สถาบันฯ มีวัตถุประสงค์ในการให้การศึกษาอบรมและค้นคว้าวิจัย เพื่อส่งเสริมการค้าและการพัฒนา และดำเนินกิจกรรมอื่นที่สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและองค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา”

โดยนัยนี้ สถาบันฯ จึงมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

  1. จัดการศึกษาอบรมและให้การสนับสนุนเพื่อการค้นคว้าวิจัยแก่บุคลากรของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียด้านการค้าระหว่างประเทศการเงินการคลังการลงทุนการพัฒนาและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์และแนวทางการเปิดเสรีทางการค้าต่างๆ
  2. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เพื่อสร้างเสริมศักยภาพและความสามารถในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจที่เหมาะสมร่วมกันและการกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าวได้
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค และสร้างความเป็นเอกภาพโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้
  4. เป็นศูนย์กลางจัดการฝึกอบรมและกิจกรรมเสริมศักยภาพต่างๆ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนาและองค์การอื่นที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการสถาบัน

แก้
  1. ศาสตราจารย์ สมคิด เลิศไพฑูรย์ ประธานคณะกรรมการ
  2. นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ กรรมการโดยตำแหน่ง
  3. นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ กรรมการโดยตำแหน่ง
  4. นายธนู ขวัญเดช กรรมการโดยตำแหน่ง
  5. ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ กรรมการโดยตำแหน่ง
  6. นายขภัช นิมมานเหมินท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  7. นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  8. นางพิลาสลักษณ์ ยุคเกษมวงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  9. นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
  10. นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ทำเนียบผู้อำนวยการ

แก้
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ดร.มนัสพาสน์ ชูโต 11 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2545 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
2. นายเกริกไกร จีระแพทย์ 16 กันยายน พ.ศ. 2548 - 9 กันยายน พ.ศ. 2549
3. ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
4. นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ 28 กันยายน พ.ศ. 2552 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
5. ดร.กมลินทร์ พินิจภูวดล 5 มกราคม พ.ศ. 2558 - 4 มกราคม พ.ศ. 2562
6. ดร.เชิดศักดิ์ วีระพัฒน์ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2563
7. นายมนู สิทธิประศาสน์ 4 มกราคม พ.ศ. 2564 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566
8. นายสุภกิจ เจริญกุล 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้