นภินทร ศรีสรรพางค์
นภินทร ศรีสรรพางค์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 30 มีนาคม พ.ศ. 2502) เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดราชบุรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
นภินทร ศรีสรรพางค์ | |
---|---|
![]() นภินทร ในปี พ.ศ. 2567 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 7 เดือน 29 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ สุชาติ ชมกลิ่น | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน (2566 – 2567) แพทองธาร ชินวัตร (2567 – ปัจจุบัน) |
รัฐมนตรีว่าการ | ภูมิธรรม เวชยชัย (2566 – 2567) พิชัย นริพทะพันธุ์ (2567 – ปัจจุบัน) |
ก่อนหน้า | สินิตย์ เลิศไกร |
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดราชบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 (5 ปี 11 เดือน 27 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย ภูมิใจไทย |
ประวัติ
แก้นภินทร เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 เป็นบุตรนายน้อม ศรีสรรพางค์ อดีตผู้พิพากษา และนางเอกอนงค์ ศรีสรรพางค์
สำเร็จชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนดรุณาราชบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนดรุณาราชบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มศ. 4 จากโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มศ. 5 จาก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
การทำงาน
แก้ธุรกิจ
แก้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัทแอ็กโกรคอมเมอร์ส กรุ๊ป จำกัด และ ผู้ดำเนินงาน ตลาดกลางผักและผลไม้ จังหวัดราชบุรี (ศรีเมือง)[1]
การเมือง
แก้นภินทร เข้าสู่การเมืองโดยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองราชบุรี (2527-2531) สมาชิกสภาจังหวัดราชบุรี (2535-2538) และสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดราชบุรี (2543-2549) และเป็นสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และเคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (พิพัฒน์ รัชกิจประการ) ปี พ.ศ. 2566 เขาได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในสัดส่วนพรรคภูมิใจไทย[2] เขาแต่งตั้งน้องชาย ศุภพรพงศ์ ชวนบุญ เป็นที่ปรึกษา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติ “นภินทร ศรีสรรพางค์” เจ้าของตลาดยักษ์ใหญ่ราชบุรี สู่ รมช.พาณิชย์ ยุค “เศรษฐา 1”
- ↑ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง คณะรัฐมนตรี "เศรษฐา" นายกฯ ควบ "รมว.คลัง"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
ก่อนหน้า | นภินทร ศรีสรรพางค์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สินิตย์ เลิศไกร | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน) |
อยู่ในวาระ |