สุชาติ ชมกลิ่น
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
สุชาติ ชมกลิ่น (เกิด 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2517) ชื่อเล่น เฮ้ง เป็นนักการเมืองชาวไทย รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาล นาย เศรษฐา ทวีสิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี เขต 1 จำนวน 2 สมัย
สุชาติ ชมกลิ่น | |
---|---|
![]() สุชาติ ใน พ.ศ. 2563 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | จุติ ไกรฤกษ์ |
ถัดไป | พิพัฒน์ รัชกิจประการ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังชล (2554–2561) พลังประชารัฐ (2561–2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | วิมลจิต อรินทมะพงษ์ |
ประวัติ แก้ไข
สุชาติ ชมกลิ่น เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 เป็นบุตรชายของวิเชียร ชมกลิ่น อาศัยอยู่ที่ อ.เมือง จ.ชลบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยเกริก[1] สมรสกับวิมลจิต อรินทมะพงษ์[2] มีบุตรชาย 2 คน
งานการเมือง แก้ไข
สุชาติ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี เขตอำเภอเมืองชลบุรี ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคพลังชล และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ โดยได้รับเลือกติดต่อกันรวม 2 สมัย
กระทั่งวันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน[3]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เขาได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[4] กระทั่งวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 นายสุชาติได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการพรรคพลังประชารัฐ[5][6] ต่อมาในวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566 นายสุชาติได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส. โดยคาดว่าในช่วงเช้าวันจันทร์ที่ 9 มกราคม นายสุชาติจะยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐเพื่อเตรียมสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้ไข
สุชาติ ชมกลิ่น ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ "นายสุชาติ ชมกลิ่น". hris.parliament.go.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""ส.ส.เฮ้ง" ชื่อนี้ "ธนาธร" มีหนาว". คมชัดลึกออนไลน์. 2019-07-18.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๘๐ ง หน้า ๒, ๖ สิงหาคม ๒๕๖๓
- ↑ Bhattarada (2021-06-18). "เปิดรายชื่อ กก.บห. พรรคพลังประชารัฐชุดใหม่ 22 คน". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ 'สุชาติ' กราบลา 'บิ๊กป้อม' ลาออกจาก กก.บห. เตรียมซบ รทสช.
- ↑ 'เฮ้ง' แจงยิบทิ้งพปชร.ไปทำภารกิจสำคัญ อ้าว!เด็กบิ๊กป้อม ประกบแจจดทุกเม็ดพูดอะไร
- ↑ ""สุชาติ"ลาออกส.ส. คาดเดินตาม"บิ๊กตู่"ซบพรรครวมไทยสร้างชาติพรุ่งนี้". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-01-08.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔