จุติ ไกรฤกษ์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
จุติ ไกรฤกษ์ (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2499) ชื่อเล่น ไก่ เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
จุติ ไกรฤกษ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | อนันตพร กาญจนรัตน์ |
ถัดไป | วราวุธ ศิลปอาชา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |
รักษาราชการแทน | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 – 4 สิงหาคม พ.ศ. 2563 | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (รัฐมนตรีว่าการ) |
ถัดไป | สุชาติ ชมกลิ่น (รัฐมนตรีว่าการ) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ก่อนหน้า | ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี |
ถัดไป | อนุดิษฐ์ นาครทรรพ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2499 อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ประชากรไทย (2526—2534) ความหวังใหม่ (2534–2535) พลังธรรม (2535–2538) ประชาธิปัตย์ (2538–2566) |
คู่สมรส | สมานจิตต์ ไกรฤกษ์ |
ลายมือชื่อ | |
ครอบครัว
แก้จุติ ไกรฤกษ์ เกิดวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ชื่อเล่น ไก่ เป็นบุตรชายคนเดียวของนายโกศล ไกรฤกษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับ นางประดับ ไกรฤกษ์ มีศักดิ์เป็นหลานปู่ ร้อยโทจงกล ไกรฤกษ์ อดีต ส.ส. พิษณุโลก หนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปไตย ที่ต่อมาได้รวมตัวกับพรรคก้าวหน้า ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กลายเป็นพรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบัน นายจุติจึงนับเป็นทายาททางการเมืองรุ่นที่ 3 ของตระกูลไกรฤกษ์
การศึกษา
แก้- ประถมศึกษา โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ ประเทศออสเตรเลีย
- ปริญญาโท Business Administration Queensland ประเทศออสเตรเลีย
- หลักสูตร ผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.รุ่น20)
ประวัติการทำงาน - การเมือง
แก้- นายกสมาคมนักเรียนไทย ในกรุงแคนเบอร์ร่า
- กรรมการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ตะวันออกไฟแนนซ์
- 2526 - 2527 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โกศล ไกรฤกษ์ ผู้เป็นบิดา
- 24 สิงหาคม 2531 กรรมาธิการการต่างประเทศประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- 24 กรกฎาคม 2531 ส.ส.พิษณุโลก เขต 2 พรรคประชากรไทย สมัยที่ 1
- 2 ตุลาคม 2535 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (สุเทพ อัตถากร)
- 2 กรกฎาคม 2538 ส.ส.พิษณุโลก เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 2 (ยุบสภา 27 ก.ย. 2539)
- 15 สิงหาคม 2538 เลขานุการคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน
- 17 พฤศจิกายน 2539 ส.ส.พิษณุโลก เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 3
- 19 ธันวาคม 2539 กรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน
- 20 พฤศจิกายน 2540 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ธารินทร์ นิมมานเหมินท์
- 16 ธันวาคม 2540 กรรมาธิการการเศรษฐกิจ
- 21 เมษายน 2544 ส.ส.พิษณุโลก เขต 6 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 4 (แทนวีระ ปัทมสิริวัฒน์ ที่เสียชีวิต)
- 11 มีนาคม 2544 เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ชวน หลีกภัย (ลาออก 31 มี.ค.44)
- 12 มิถุนายน 2544 ประธานกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ
- 20 เมษายน 2546 กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
- 5 มีนาคม 2548 กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
- 2 พฤษภาคม 2548 เลขานุการผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- 23 ธันวาคม 2550 ส.ส.พิษณุโลก เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 5 (86,469 คะแนน)
- 27 มิถุนายน 2551 กรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ
- 6 มิถุนายน 2553 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- 4 กรกฎาคม 2554 ส.ส.พิษณุโลก เขต 3 พรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ 6 (47,050 คะแนน)
- พ.ศ. 2562 ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ[1]
- 10 กรกฎาคม 2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่อีกครั้ง โดยจุติได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมกับ อภิรักษ์ โกษะโยธิน และ ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ และเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556 จุติได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2566 นายจุติได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองและได้สมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติในวันเดียวกัน[2]
ผลงานในระหว่างดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
แก้- นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ วางรากฐานพื้นฐานโครงสร้างทางด้านไอทีที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าจะเป็นลดช่องว่างทางโอกาสในการเรียนรู้ โอกาสในการเข้ารับการรักษาพยาบาล โอกาสในการทำมาหากิน พัฒนาตัวเอง พัฒนาสังคมเข้าถึงหมู่บ้าน และ 3G [3]
- การวางรากฐานเคเบิลใต้น้ำ ขยายการจราจรของอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศให้มีทางออกเพิ่มขึ้นหลาย ทาง เพื่อลดความเสี่ยงและรองรับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และไม่ส่งผลในเรื่องขอบเขต หรือความล่าช้าของสัญญาณ
- การจัดตั้งสำนักงานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ และ สำนักส่งเสริมและพัฒนา รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Goverment) [4]
- การลงนามถวายพระพรออนไลน์ ซึ่งทำให้คนไทยได้แสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และตื่นตัวต่อการใช้ไอทีในชีวิตประจำวัน [5]
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายโครงการทั้งบัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สมาร์ทการ์ด 3 จี โปรเจกต์อินเทอร์เน็ต เพื่อลดช่องว่างการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และสนองนโยบายบรอดแบรนด์แห่งชาติ ธนาคารไปรษณีย์ ลดช่องว่าง สร้างโอกาสให้ประชาชน การปิดกั้นหรือบล็อกเว็บหมิ่นสถาบัน เว็บพนันฟุตบอล เว็บลามกอนาจารและเว็บยาเสพติด [6] [7] [8]
ข้อกล่าวหาในคดีต่าง ๆ
แก้- ข้อกล่าวหากรณี หมิ่น ภรรยา นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
14 พฤษภาคม 2558 ศาลอาญารัชดา อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในที่ บริษัท บอดี้เชพ จำกัด โดยนางปราณี สืบวงศ์ลี กรรมการผู้มีอำนาจ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายจุติ ไกรฤกษ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากกรณีเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2546 นายจุติ ได้กล่าวอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี สามีโจทก์ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่ากระกระทรวงไอซีที ทำนองว่า น.พ.สุรพงษ์ ออกกฎหมายเพื่อเอื้อให้ภรรยา เปิดสถานบริการอาบอบนวด โดยไม่ต้องเสียภาษี ทั้งที่ความจริงแล้วนางปราณีไม่เคยเปิดสถานบริการอาบอบนวด แต่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสถานเสริมความงามและขายอุปกรณ์ลดน้ำหนักอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษาจำคุก 3 เดือน ปรับ 10,000 บาท แต่ให้รอลงอาญา 1 ปีล่าสุดศาลฎีกาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การอภิปรายของนายจุติกล่าวชัดเจนว่าสถานประกอบการของนางปราณี เป็นอาบอบนวดในสถานเสริมความงาม ซึ่งต่างจากร้านอาบอบนวดที่มีตู้ และอ่างอาบน้ำ ซึ่งจะต้องเสียภาษี ดังนั้นจึงไม่ครบองค์ประกอบหมิ่นประมาท ฎีกาพิพากษาแก้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้อง [9]
- ข้อกล่าวหาของ ปปช. กรณีอนุมัติประมูล 3G ส่อทุจริต
ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติแจ้งข้อกล่าวหากับนายจุติ ในคดีขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง กรณีใช้ตำแหน่งหน้าที่เอื้อประโยชน์ทำให้กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เข้าเป็นคู่สัญญาร่วมดำเนินธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT รวมทั้งส่อว่าจะได้รับผลประโยชน์เพื่อทำให้กลุ่มกิจการร่วมค้า เอสแอล คอนซอเตียม ได้เข้าเป็นคู่สัญญาสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT
โดยนายจุติกล่าวชี้แจงว่า เตรียมนำพยานหลักฐานไปให้กับ ป.ป.ช. เชื่อว่าหากได้พิจารณาจะเห็นได้ว่า ตนไม่ได้มีพฤติกรรมทุจริตหรือส่อทุจริตใดๆโครงการที่ถูกกล่าวหานั้นก็เป็นการดำเนินการของบอร์ด CAT และบอร์ด TOT ตามนโยบายที่ตนให้ไว้ว่าต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งหากดูผลงานจะพบได้ว่าสามารถรักษาผลประโยชน์ของรัฐได้ถึงกว่า 2 หมื่นล้านบาท [10] [11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ". ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
- ↑ 'จุติ' ทิ้ง ปชป.ตั้งแต่ 7 มี.ค.! ไปรวมไทยสร้างชาติแล้ว
- ↑ "ไอซีทีดึง 6 เอกชนสนองนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ". thailandindustry. 2554.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "จุติ ไกรฤกษ์ พร้อมตรวจสอบรัฐบาลใหม่". rackserveronline. 20 พ.ค. 2554.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""ไอซีที" เชิญชวน "ถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา"". 20 เมษายน 2554.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "'จุติ'ทิ้งท้ายก่อนบ๊ายบายเก้าอี้ รมว.ไอซีที ย้ำจุดยืนไม่เข้าข้างใคร!". ThairathOnline. 18 พ.ค. 2554.
- ↑ ""ไอซีที"ย้ำอินเทอร์เน็ต2เมก150บาท เยือนชนบทเร็วที่สุด". speedtest. 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-11.
- ↑ "รมว.ไอซีที สรุปผลงานปราบเว็บไซต์พนันบอล-ลามก-ยาเสพติด". MCOT. 2554.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ฎีกายกฟ้อง 'จุติ' หมิ่น 'เมียหมอเลี๊ยบ' เปิดเสริมความงามไม่เสียภาษี". dailynews. 14 พฤษภาคม 2558.
- ↑ "จุติ ลั่น ไม่มีโกง มั่นใจแจง ป.ป.ช.ได้ทุกประเด็น". ThairathOnline. 17 พ.ค. 2558.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""จุติ ไกรฤกษ์" แจงปมถูกแจ้งข้อกล่าวหา ปัดเอื้อเอกชนทำสัญญา "CAT-TOT" เตรียมเข้าพบ ป.ป.ช." thaipublica. 17 พ.ค. 2558.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์ เก็บถาวร 2019-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เก็บถาวร 2011-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | จุติ ไกรฤกษ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (ครม. 62) (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566) |
วราวุธ ศิลปอาชา | ||
ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554) |
นาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ |