พรรคประชาธิปัตย์
พรรคประชาธิปัตย์ (ย่อ: ปชป.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม และปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม[15][16][17][18]
พรรคประชาธิปัตย์ | |
---|---|
![]() | |
หัวหน้า | ว่าง |
เลขาธิการ | เฉลิมชัย ศรีอ่อน |
ผู้ก่อตั้ง | ควง อภัยวงศ์ |
รองหัวหน้าพรรค | นราพัฒน์ แก้วทอง สามารถ ราชพลสิทธิ์ ชัยชนะ เดชเดโช สรรเสริญ สมะลาภา องอาจ คล้ามไพบูลย์ กัลยา โสภณพนิช อลงกรณ์ พลบุตร สาธิต ปิตุเตชะ นิพนธ์ บุญญามณี อัศวิน วิภูศิริ ไชยยศ จิรเมธากร |
เหรัญญิกพรรค | สุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ |
นายทะเบียนพรรค | วิรัช ร่มเย็น |
คำขวัญ | สจฺจํ เว อมตา วาจา (คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย) |
คติพจน์ | อุดมการณ์ ทันสมัย[1] |
ก่อตั้ง | 6 เมษายน พ.ศ. 2489 |
ที่ทำการ | 67 ถนนเศรษฐศิริ 2 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร[2] |
ฝ่ายเยาวชน | ยุวประชาธิปัตย์[3] |
จำนวนสมาชิก (ปี 2566) | 82,648 คน[4] |
อุดมการณ์ | เสรีนิยมอนุรักษ์ เสรีนิยมคลาสสิก[5][6][7] [8][9][10] |
จุดยืน | ขวากลาง[11][12][13][14] |
สี | สีฟ้า |
เพลง | เช้าวันใหม่ |
สภาผู้แทนราษฎร | 25 / 500
|
สภากรุงเทพมหานคร | 9 / 50
|
นายก อบจ. | 1 / 76
|
เว็บไซต์ | |
democrat.or.th | |
โฆษก | ราเมศ รัตนะเชวง |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง ![]() |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ |
พรรคการเมืองหลักที่เกี่ยวข้อง
|
การเมืองไทย • ประวัติศาสตร์ไทย |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ |
ชนวนเหตุ
|
พรรคการเมืองที่เกี่ยวข้อง
|
องค์กร กลุ่มบุคคล ที่เกี่ยวข้อง
|
การเมืองไทย • ประวัติศาสตร์ไทย |
พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในปี พ.ศ. 2491, พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2539 และหลังจากนั้นก็ไม่เคยได้เสียงข้างมากในสภาอีกเลย ฐานเสียงของพรรคส่วนใหญ่คือภาคใต้และกรุงเทพฯ แม้ว่าผลการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ จะผันผวนมากก็ตาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2565 มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์ 3 คน คือนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร และ พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2562 พรรคประชาธิปัตย์นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2566 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คือนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประวัติ
ก่อตั้งพรรค
พรรคประชาธิปัตย์ ก่อตั้งโดยพันตรีควง อภัยวงศ์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 แต่พรรคถือว่าวันที่ 6 เมษายน ซึ่งตรงกับวันจักรีเป็นวันก่อตั้งพรรค โดยเป็นพรรคอนุรักษ์นิยมและกษัตริย์นิยม หลังการเลือกตั้งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 โดยสมาชิกในยุคแรกๆ ได้แก่ กลุ่มกษัตริย์นิยมที่ต่อต้านนายปรีดี พนมยงค์ และอดีตขบวนการเสรีไทย ซึ่งพรรคต้องแข่งขันกับพรรคที่สนับสนุนนายปรีดี และพรรคก้าวหน้าของสองพี่น้องจากราชสกุลปราโมช คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชและ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 กลุ่มพันธมิตรที่นำโดยนายปรีดีได้รับเสียงข้างมากในรัฐสภา อย่างไรก็ตาม นายปรีดีปฏิเสธการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐสภาได้แต่งตั้งพันตรีควงเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 พันตรีควงลาออกจากตำแหน่งพร้อมกับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 หลังจากแพ้โหวตในร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส. อุบลราชธานี ด้วยคะแนน 65-63 เสียง และถูกแทนที่โดยนายปรีดี
รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492
เมื่อถึงการเลือกตั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายกษัตริย์นิยมอย่างหม่อมเจ้าอุปลีสาณ ชุมพล, พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล), เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา), พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) และนายศรีเสนา สมบัติศิริ ยกเว้นหม่อมเจ้าอุปาลีสาณ ทั้ง 4 คนกลายเป็นองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยพรรคที่ร่วมกับนายปรีดียังคงได้รับเสียงข้างมากในสภา นายปรีดีได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ภายหลังลาออก รัฐสภาจึงเลือก พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่ด้วยปัญหาหลายประการทำให้คณะนายทหารที่นำโดย พลโทผิน ชุณหะวัณ นายทหารนอกราชการทำรัฐประหารยึดอำนาจและโค่นล้มรัฐบาลของพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
คณะรัฐประหารจึงได้เชิญพันตรีควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์มาเป็นนายกรัฐมนตรีพลเรือน[19] ในการเลือกตั้งครั้งต่อมาเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเสียงข้างมากเป็นครั้งแรก และรัฐสภาเลือกพันตรีควงกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ต่อมาทหารกลุ่มเดิมทำรัฐประหารอีกครั้งโดยบังคับให้พันตรีควงลาออกจากตำแหน่งและเชิญจอมพลแปลก พิบูลสงครามกลับคืนสู่อำนาจและเป็นนายกรัฐมนตรี
การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548
พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีคะแนนเสียงอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร โดยมีจำนวนที่นั่ง 96 ที่นั่ง (จากทั้งหมด 500 ที่นั่ง) มีฐานเสียงใหญ่อยู่ที่ภาคใต้ ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงจากภาคใต้ถึง 52 ที่นั่งจาก 54 ที่นั่ง อย่างไรก็ตามพรรคไม่ได้รับการสนับสนุนมากนักในส่วนอื่น ๆ ของประเทศ (ยกเว้นในเขตกรุงเทพมหานคร ที่คะแนนเสียงแปรผันไปตามสถานการณ์ทางการเมืองแต่ละสมัย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พรรคฯ ได้เสียงจากกรุงเทพเพียง 4 ที่นั่ง จาก 37 ที่นั่ง โดยที่พรรคคู่แข่งคือ พรรคไทยรักไทย ได้ถึง 32 ที่นั่ง) ลักษณะเช่นนี้เหมือนกับพรรคเสรีนิยมของสหราชอาณาจักรที่ผู้สนับสนุนอย่างเหนียวแน่นส่วนใหญ่จะอยู่ในแคว้นสก็อตแลนด์ คือเป็นลักษณะภูมิภาคนิยม ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนสูงถึง 136 ที่นั่ง แต่พรรคได้รับเลือกเพียง 2 ที่นั่งเท่านั้น
- ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน จากประชาชนทั่วประเทศ ในระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 7,210,742 เสียง
- โดยการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 นั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้แนวทางการหาเสียงว่า "เลือกให้ถึง 201 ที่นั่ง" และ "ทวงคืนประเทศไทย" อันเนื่องจากต้องการสัดส่วนที่นั่งในสภาฯให้ถึง 200 ที่ เพื่อที่ต้องการจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 นั่นเอง
- หลังการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้ตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการ 6 คณะ คือ
- คณะกรรมาธิการการตำรวจ มี นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง เป็นประธาน
- คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง มี นายนคร มาฉิม ส.ส.พิษณุโลก เป็นประธาน
- คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ มี นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา เป็นประธาน
- คณะกรรมาธิการติดตามมติสภา มี นายวินัย เสนเนียม ส.ส.สงขลา เป็นประธาน
- คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน มี นายสุวโรช พะลัง ส.ส.ชุมพร เป็นประธาน
- คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข มี นายธีระ สลักเพชร ส.ส.ตราด เป็นประธาน
คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549
ช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมอีก 2 พรรค คือ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ด้วยการไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง โดยมีเหตุผลว่ารัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยุบสภา โดยไม่ชอบธรรม และต่อมามีคำวินิจฉัยของศาลให้การเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นโมฆะ เนื่องจาก กกต. จัดการเลือกตั้งไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น มีการหันคูหาเลือกตั้งที่ทำให้การลงคะแนนไม่เป็นการลงคะแนนลับ
ในช่วงเวลาเดียวกันพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำการฟ้องร้องต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในขณะนั้น ให้ดำเนินคดียุบพรรคไทยรักไทย เนื่องจากกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยมีการจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์ร้อยละ 20 ตามกฎหมาย และพรรคประชาธิปัตย์มีพยานบุคคลจากพรรคเล็กยืนยัน แต่ต่อมาพยานดังกล่าวได้กลับคำให้การกลางคัน และพรรคไทยรักไทยที่เป็นผู้ต้องหาในคดีกลับฟ้องร้องต่อ กกต. ให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ โดยกล่าวหาว่ามีการจ้างพรรคเล็กให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย และมีพฤติกรรมที่เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงมีการนำคดีขึ้นสู่กระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
ต่อมาภายหลังการ รัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย คปค. ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงพร้อมกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2549 ประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายตุลาการคือ ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นต้น รับโอนอรรถคดีจากศาลรัฐธรรมนูญมาดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จนกระทั่งวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และมีมติให้ยุบ พรรคไทยรักไทยและพรรคเล็กที่ถูกฟ้องร่วมในคดี และวินิจฉัยให้ตัดสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยและพรรคเล็กทั้งหมด เป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ว่ากรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจ้างพรรคเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งจริง และขณะเดียวกันไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าพรรคประชาธิปัตย์จ้างพรรคเล็กให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยหรือมีพฤติกรรมล้มล้างการปกครองตามฟ้องแต่อย่างใด
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พรรคประชาธิปัตย์ถูกงดกิจกรรมทางการเมืองชั่วคราว จนกระทั่งได้มีกำหนดการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอนโยบายบริหารประเทศชื่อว่า "วาระประชาชน" ใจความสำคัญว่า "ประชาชนต้องมาก่อน" ในการรณรงค์เลือกตั้ง โดยได้เสนอต่อสาธารณะนับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2549 มีกลุ่มนโยบาย 4 หัวข้อใหญ่
ผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้อันดับ 2 รวม 165 ที่นั่ง รองจากพลังประชาชนได้คะแนนอันดับ 1 ที่ได้ 232 ที่นั่ง โดยพรรคประชาธิปัตย์แบ่งตามภาคได้ดังนี้
เขตพื้นที่ | จำนวนที่นั่ง | ได้ |
---|---|---|
กรุงเทพมหานคร | 36 | 27 |
กลาง | 98 | 35 |
ตะวันออกเฉียงเหนือ | 135 | 5 |
ใต้ | 56 | 49 |
เหนือ | 75 | 16 |
สัดส่วน | 80 | 33 |
รวม | 480 | 165 |
พรรคพลังประชาชนได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม ร่วมกับพรรคการเมืองอื่นๆ คือ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคประชาราช โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคฝ่ายค้านพรรคเดียวเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย[ต้องการอ้างอิง]
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ได้ประกาศจัดตั้ง "รัฐบาลเงา" หรือ "ครม.เงา" เพื่อตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลและนำเสนอแนวทางการบริหารประเทศควบคู่ไปกับการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบ "คณะรัฐมนตรีเงา" ใน "ระบบเวสมินสเตอร์" ของอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551[20] โดยมีเว็บไซต์ www.shadowdp.com เก็บถาวร 2019-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในการเผยแพร่การปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.เงา
รัฐบาลผสม
ภายหลังจากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคการเมืองซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล (พรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย) และเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งส่งผลให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต้องพ้นจากตำแหน่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ คือ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคชาติไทยพัฒนา พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา พรรคภูมิใจไทย และพรรคกิจสังคม (ภายหลังพรรคมาตุภูมิได้เข้ามาเป็นพรรคร่วมรัฐบาลแทนพรรคเพื่อแผ่นดิน) พร้อมกับสนับสนุนให้ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ชนะพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก จากพรรคเพื่อแผ่นดิน ด้วยคะแนน 235 ต่อ 198 เสียง ในการลงมติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และได้จัดตั้งรัฐบาลผสม เป็นคณะรัฐมนตรี คณะที่ 59 ของไทย
คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2553
อภิชาต สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวหาว่า ใน พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเงินบริจาค จำนวนสองร้อยห้าสิบแปดล้านบาท จาก บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แต่ไม่แจ้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทราบ และใช้จ่ายไปโดยผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งเงินจำนวนยี่สิบเก้าล้านบาท ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดสรรให้จากกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ขัดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 66 อนุมาตรา (2) และ (3) จึงขอให้ศาลมีคำสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์ และตัดสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 98[21][22]
คดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ด้วยมติสี่ต่อสองว่า กฎหมายกำหนดให้ผู้ร้องยื่นคำร้องมาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ปรากฏแก่ตนว่าผู้ถูกร้องฝ่าฝืนกฎหมายอันเป็นเหตุให้ถูกยุบได้ ทว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องมาล่วงระยะเวลาสิบห้าวันดังกล่าวนี้ จึงไม่ชอบที่จะพิจารณาวินิจฉัยคำร้องสืบไป และให้ยกคำร้อง[23]
หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2554
หลังจากที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศยุบสภาในวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อให้จัดตั้งการเลือกตั้งทั่วไป และหลังจากที่ พรรคประชาธิปัตย์ได้แพ้การเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และเป็นเหตุให้คณะเลขาธิการพรรค รองหัวหน้าพรรค ที่ปฏิบัติหน้าที่นั้น ต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งหมด หลังจากนั้นได้มีการลงคะแนนเสียงเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ และผลออกมาในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลังนายอภิสิทธิ์ พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ได้รับเลือกให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง พ.ศ. 2556
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีท่าทีครึ่ง ๆ กลาง ๆ ต่อรัฐประหารเมื่อปี 2557 แม้เขาโพสต์ลงเฟซบุ๊กขออภัยที่ไม่สามารถผลักดันแผนปฏิรูปประเทศและปกป้องประชาธิปไตยได้[24] และพร้อมร่วมคัดค้านรัฐประหาร หาก คสช. ไม่มีคำตอบชัดเจนว่าจะปฏิรูปอะไรและประชาชนจะมีส่วนร่วมอย่างไร และมีผู้รักประชาธิปไตยที่แท้จริงเสนอประชาธิปไตยที่ดีกว่า[25] แต่เขาก็โพสต์สนับสนุนให้ คสช. ใช้มาตรการเข้มข้นขึ้นเพื่อรับมือกับการต่อต้านรัฐประหาร[26] ขณะที่นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า ประยุทธ์ควรเป็นนายกรัฐมนตรี ควรใช้อำนาจเด็ดขาด อย่าเป็นนักประชาธิปไตยเหมือนสุรยุทธ์ จุลานนท์ อย่าสนใจคำครหานินทาว่ามาจากรัฐประหาร หากทำดี แก้ปัญหาได้ ทำประเทศปรองดองได้ ทุกคนจะสรรเสริญ[27]
ในปี 2561 พรรคประชาธิปัตย์จัดการลงมติเลือกหัวหน้าพรรคเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง ผลปรากฏว่าอภิสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคอีกสมัย[28]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 อภิสิทธิ์ย้ำว่าจะไม่สนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย แต่มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าเขาไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่ร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ[29][30] ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนมหาชน 3.9 ล้านเสียง ส.ส. 52 ที่นั่ง ซึ่งน้อยกว่าพรรคเกิดใหม่อย่างพรรคพลังประชารัฐและพรรคอนาคตใหม่ ในคืนเลือกตั้ง อภิสิทธิ์ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค หลังค่อนข้างแน่ชัดว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้ ส.ส. ไม่ถึง 100 ที่นั่ง[31] หลายคนคาดว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเปลี่ยนไปร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ[32]
จะมีการลงมติเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 มีผู้สมัคร 4 คน ได้แก่ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, กรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[33] หนังสือพิมพ์ มติชน เขียนว่า จุรินทร์และกรณ์เป็นตัวเต็ง โดยจุรินทร์มีโอกาสมากกว่าเนืองจากชวน หลีกภัย ผู้มีบารมีในพรรค สนับสนุน เป็นนักการเมืองจากภาคใต้และเลือกเลขาธิการพรรคจากภาคตะวันออก ซึ่งจะมาเชื่อมระหว่างภาคใต้และภาคกลาง[34] ทั้งนี้ กรณ์, อภิรักษ์ และพีระพันธุ์มองว่ามีความเป็นไปได้ที่พรรคจะร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ[35] ผลปรากฏว่า จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่[36]
ต่อมามีข่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์เจรจาได้ที่นั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์[37] และมีมติร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ[38] ผลของมติทำให้สมาชิกบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าว เช่น สมชัย ศรีสุทธิยากร รวมถึงสมาชิกกลุ่ม "นิวเด็ม" (New Dem) ซึ่งเป็นคนหนุ่มสาวในพรรค ลาออกหลายคน[39] ต่อมา นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม[40] และนายอุเทน ชาติภิญโญ ลาออกจากสมาชิกพรรค[41]
เมื่อจุรินทร์เป็นหัวหน้าพรรคแล้ว เกิดความเห็นแตกแยกกันในพรรคจนทำให้มีสมาชิกพรรคเก่าแก่แยกตัวออกไปหลายกลุ่ม เช่น กรณ์ที่แยกออกไปตั้งพรรคกล้าซึ่งคาดว่ามาจากการตั้งปริญญ์ พานิชภักดิ์มาคุมทีมเศรษฐกิจ[42]
หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2566
หลังการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2566 พรรคประชาปัตย์ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 25 คน ส่งผลให้จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อผลการเลือกตั้ง[43]
บุคลากร
รายชื่อหัวหน้าพรรค
ลำดับ | รูป | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | หมายเหตุ |
1 | พันตรี ควง อภัยวงศ์ | พ.ศ. 2489 | 15 มีนาคม พ.ศ. 2511 | ||
2 | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช | พ.ศ. 2511 | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | ||
3 | พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | 3 เมษายน พ.ศ. 2525 | พ.ศ. 2522 ถนัด คอมันตร์ - 62 | |
4 | พิชัย รัตตกุล | 3 เมษายน พ.ศ. 2525 | 26 มกราคม พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2530 พิชัย รัตตกุล - 101 | |
5 | ชวน หลีกภัย | 26 มกราคม พ.ศ. 2534 | 20 เมษายน พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2534 ชวน หลีกภัย - 85 | |
6 | บัญญัติ บรรทัดฐาน | 20 เมษายน พ.ศ. 2546 | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 | พ.ศ. 2546 บัญญัติ บรรทัดฐาน - 163 | |
7 | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | 5 มีนาคม พ.ศ. 2548 | 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 | พ.ศ. 2562 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ - 67,505 | |
8 | จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[44] | 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | พ.ศ. 2562 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ - 160 |
รายชื่อเลขาธิการพรรค
ลำดับ | รูป | ชื่อ | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช | 6 เมษายน พ.ศ. 2489 | 16 กันยายน พ.ศ. 2491 | |
2 | เทพ โชตินุชิต | 17 กันยายน พ.ศ. 2491 | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 | |
3 | ชวลิต อภัยวงศ์ | 1 มิถุนายน พ.ศ. 2492 | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | |
4 | ใหญ่ ศวิตชาติ | 30 กันยายน พ.ศ. 2498 | 26 กันยายน พ.ศ. 2513 | |
5 | ธรรมนูญ เทียนเงิน | 26 กันยายน พ.ศ. 2513 | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2518 | |
6 | ดำรง ลัทธพิพัฒน์ | 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2521 | |
7 | เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | |
8 | มารุต บุนนาค | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | 3 เมษายน พ.ศ. 2525 | |
9 | เล็ก นานา | 3 เมษายน พ.ศ. 2525 | 5 เมษายน พ.ศ. 2529 | |
10 | วีระ มุสิกพงศ์ | 5 เมษายน พ.ศ. 2529[45] | 10 มกราคม พ.ศ. 2530 | |
11 | พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ | 10 มกราคม พ.ศ. 2530[46] | 17 กันยายน พ.ศ. 2543 | |
12 | อนันต์ อนันตกูล | 17 กันยายน พ.ศ. 2543[47] | 20 เมษายน พ.ศ. 2546 | |
13 | ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ | 20 เมษายน พ.ศ. 2546[48] | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 | |
14 | สุเทพ เทือกสุบรรณ | 5 มีนาคม พ.ศ. 2548[49] | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | |
15 (ครั้งที่ 1) |
เฉลิมชัย ศรีอ่อน | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554[50] | 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
16 | จุติ ไกรฤกษ์ | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
15 (ครั้งที่ 2) |
เฉลิมชัย ศรีอ่อน | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[44] | ปัจจุบัน |
ผลการเลือกตั้งทั่วไป
การเลือกตั้ง | จำนวนที่นั่ง | คะแนนเสียงทั้งหมด | สัดส่วนคะแนนเสียง | ที่นั่งเปลี่ยน | ผลการเลือกตั้ง | ผู้นำเลือกตั้ง |
---|---|---|---|---|---|---|
2495 | 0 / 123
|
− | − | คว่ำบาตร | ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง | ควง อภัยวงศ์ |
ก.พ. 2500 | 31 / 283
|
31 | ฝ่ายค้าน | |||
ธ.ค. 2500 | 39 / 160
|
9 | ||||
2512 | 57 / 219
|
18 | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช | |||
2518 | 72 / 269
|
3,176,398 | 17.2% | 15 | ร่วมรัฐบาล | |
2519 | 114 / 279
|
4,745,990 | 25.3% | 43 | แกนนำจัดตั้งรัฐบาล | |
2522 | 33 / 301
|
2,865,248 | 14.6% | 81 | ฝ่ายค้าน | พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ |
2526 | 56 / 324
|
4,144,414 | 15.6% | 23 | ร่วมรัฐบาล | พิชัย รัตตกุล |
2529 | 100 / 347
|
8,477,701 | 22.5% | 44 | ||
2531 | 48 / 357
|
4,456,077 | 19.3% | 52 | ||
มี.ค. 2535 | 44 / 360
|
4,705,376 | 10.6% | 4 | ฝ่ายค้าน | ชวน หลีกภัย |
ก.ย. 2535 | 79 / 360
|
9,703,672 | 21.0% | 35 | แกนนำจัดตั้งรัฐบาล | |
2538 | 86 / 391
|
12,325,423 | 22.3% | 7 | ฝ่ายค้าน | |
2539 | 123 / 393
|
18,087,006 | 31.8% | 37 | ||
2544 | 128 / 500
|
7,610,789 | 26.6% | 5 | ||
2548 | 96 / 500
|
4,018,286 | 16.1% | 32 | บัญญัติ บรรทัดฐาน | |
2549 | − | − | − | คว่ำบาตร - เป็นโมฆะ | ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
2550 | 165 / 480
|
14,084,265 | 39.63% | 69 | ฝ่ายค้าน | |
2554 | 159 / 500
|
11,435,640 | 35.15% | 14 | ||
2557 | − | − | − | คว่ำบาตร - เป็นโมฆะ | ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง | |
2562 | 53 / 500
|
3,947,726 | 11.11% | 106 | ร่วมรัฐบาล | |
2566 | 25 / 500
|
925,349 | 2.34% | 28 | จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ |
ภาพลักษณ์
พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีฐานเสียงเหนียวแน่นในภาคใต้ จนมีเรื่องเล่าว่า "ส่งเสาไฟฟ้าลงก็ชนะ" ซึ่งมีนักวิชาการอธิบายว่าเป็นเพราะผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์มีเครือข่ายอยู่แล้วทำให้แทบไม่ต้องหาเสียง ซึ่งไม่เกี่ยวกับอุดมการณ์ และยังรวมถึงกระแส "ชวนฟีเวอร์" หรือนายกฯ คนใต้ ทำให้นักการเมืองในภาคใต้ที่อยากเลือกตั้งชนะต่างพากันเข้าพรรคประชาธิปัตย์กันหมด อย่างไรก็ตามในช่วงหลัง ๆ ประชาชนบางส่วนเริ่มเบื่อหน่ายกับความไม่พัฒนาของภูมิภาคทำให้พรรคอื่นเริ่มเจาะฐานเสียงได้บ้าง[51]
หลังการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2562 ทำให้มีการค้นคำว่า "พรรคแมลงสาบ" ในเสิร์ชเอนจินปริมาณเพิ่มขึ้น คำนี้มีการใช้เพื่อหมายถึงอายุยืนยาวและการรั้งอำนาจอย่างยาวนานของพรรค และมีการใช้เพื่อล้อเลียนพรรคเมื่อใดที่ปรากฏการกระทำที่ไร้เกียรติของพรรค ทั้งนี้ คำดังกล่าวมีที่มาจากศาสตราจารย์ กนก วงษ์ตระหง่าน สมาชิกพรรค ในการประชุมประจำปี 2545 ที่เสนอ "ทฤษฎีแมลงสาบ" เพื่อให้พรรคอยู่รอดในสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเวลานั้น[52]
อ้างอิง
- ↑ 74 ปี ประชาธิปัตย์ “จุรินทร์” ประกาศเดินหน้า อุดมการณ์ ทันสมัย สู่ประชาธิปไตยกินได้”
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคและที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอน 197 ก พิเศษ หน้า 4 26 ธันวาคม พ.ศ. 2528
- ↑ "จับตา "ปชป."แยกตัวสถาปนาก๊กใหม่ ชิงความได้เปรียบทางการเมือง". 24 June 2019.
- ↑ ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566 (จำนวน 88 พรรคการเมือง)
- ↑ Democrat Party (DP) / Phak Prachathipat
- ↑ Thailand’s main political parties
- ↑ “Thai-Style Democracy”: A Conservative Struggle for Thailand’s Politics
- ↑ Medeiros, Evan S. (2008), Pacific Currents: The Responses of U.S. Allies and Security Partners in East Asia to China's Rise, RAND, p. 130
- ↑ Connors, Michael K. (February 2008), "Article of Faith: The Failure of Royal Liberalism in Thailand" (PDF), Journal of Contemporary Asia, 38 (1): 157, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-07-23
- ↑ Abbott, Jason P. (2003), Developmentalism and Dependency in Southeast Asia: The case of the automotive industry, RoutledgeCurzon, p. 112
- ↑ Dictionary of the Modern Politics of Southeast Asia
- ↑ "Can Thailand rely on the Democrat Party for democracy?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-07. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
- ↑ What's next for the Democrat Party?
- ↑ Dictionary of the Modern Politics of Southeast Asia
- ↑ "Demise of the Democrat Party in Thailand".
- ↑ "Democrat Party (DP) / Phak Prachathipat". GlobalSecurity.org. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
Of the four ruling coalition parties in 1987, the Democrat Party was considered to be somewhat liberal, despite its beginning in 1946 as a conservative, monarchist party.
- ↑ "Thailand's main political parties". Al Jazeera. 3 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
Prime Minister Abhisit Vejjajiva's ruling Democrat Party was founded in 1946. It is conservative, pro-monarchy and establishment, backed by the military and most of the Bangkok-based elite.
- ↑ Bunbongkarn, Suchit (1999), "Thailand: Democracy Under Siege", Driven by Growth: Political Change in the Asia-Pacific Region, M.E. Sharpe, p. 173, ISBN 9780765633446
- ↑ Frank C. Darling, "American Influence on the Evolution of Constitutional Government in Thailand" Thesis, American University, 1960, page 185
- ↑ "'ปชป.' แถลงรายชื่อ 'ครม.เงา' ย้ำ เพื่อติดตามการทำงานของรัฐบาลอย่างสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ของประชาชน". พรรคประชาธิปัตย์. 2008-02-08. สืบค้นเมื่อ 2008-02-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ (2553, 6 พฤษภาคม). กกต. เตรียมเชือดบุญจง แจกเบี้ยยังชีพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
- ↑ (2553, 3 มกราคม). สำนวนหลวม กกต.พริ้ว คดีเงินบริจาคปชป. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <ลิงก์>. (เข้าถึงเมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2553).
- ↑ (30 พฤศจิกายน 2553). บัญญัติปัดวุ่น-รู้4:2 ปชป.รอด โต้ 2มาตรฐาน. ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 30-11-2553.
- ↑ อภิสิทธิ์ขออภัยไม่สามารถปกป้องประชาธิปไตย-ม.ล.ณัฏฐกรณ์ท้าให้มาต้าน รปห. ประชาไท. 25 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2557.
- ↑ 'อภิสิทธิ์'ลั่นไร้คำตอบคสช.ปฏิรูปต้านรัฐประหาร เก็บถาวร 2014-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. กรุงเทพธุรกิจ. 25 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2557.
- ↑ 'อภิสิทธิ์' ชี้ คสช.ต้องใช้มาตรการเข้มขึ้น หลังมีกลุ่มก่อหวอดต้านอำนาจ ไทยรัฐ. 26 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2557.
- ↑ ""นิพิฏฐ์" เชียร์ "ประยุทธ์" นั่งนายกฯ ใช้อำนาจเด็ดขาด แก้ปัญหาตรงใจประชาชน". ASTVผู้จัดการ. 2014-06-07. สืบค้นเมื่อ 2014-06-11.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Abhisit Wins Democrat Party Leadership". Khaosod English (ภาษาอังกฤษ). 2018-11-10. สืบค้นเมื่อ 2018-11-30.
- ↑ "โพสต์หมดเวลาเกรงใจแล้ว มาร์คยัน ไม่สนับสนุน "บิ๊กตู่" (คลิป)". ไทยรัฐ. 2019-03-11. สืบค้นเมื่อ 2019-03-11.
- ↑ Surface, Nat (2019-03-10). "เมื่อ 2 พรรคใหญ่.... "เทลุง"". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ (2019-03-24). "เลือกตั้ง 2562 : อนาคต อภิสิทธิ์ ในวันที่ประชาธิปัตย์ตกที่นั่ง "พรรคต่ำร้อย"". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 2019-03-25.
- ↑ "Does it matter who leads the Democrat Party?". The Nation (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-06. สืบค้นเมื่อ 2018-12-06.
- ↑ "เช็คเสียง..!เลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ใครใหญ่?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-12. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
- ↑ 09.00 INDEX หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจัยชี้ขาด คือ ชวน หลีกภัย
- ↑ วิเคราะห์ ทิศทางผู้ท้าชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- ↑ "ด่วน! ผลการลงคะแนน "ประชาธิปัตย์" โหวต "จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" นั่งหัวหน้าพรรคใหม่คนที่ 8". กรุงเทพธุรกิจ. 2019-05-15. สืบค้นเมื่อ 2019-06-07.
- ↑ "ประชาธิปัตย์คว้าเก้าอี้เกษตรและพาณิชย์ ตอบตกลงร่วมรัฐบาล". โพสต์ทูเดย์. 2019-06-04. สืบค้นเมื่อ 2019-06-07.
- ↑ "ประชาธิปัตย์ อ้างปิดสวิตช์ คสช. โหวต "ประยุทธ์" ปิดดีลร่วมรัฐบาล พปชร.ยึดกระทรวงเกรดเอ". ประชาชาติ. 2019-06-05. สืบค้นเมื่อ 2019-06-07.
- ↑ "'นิพิฏฐ์' โพสต์เสียใจสุดซึ้งเมื่อ 'นิวเด็ม' หลายคนจากไป". มติชน. 2019-06-06. สืบค้นเมื่อ 2019-06-07.
- ↑ "คอนเฟิร์ม'หมอวรงค์'ลาออกพ้นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์". โพสต์ทูเดย์. 2019-11-20. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
- ↑ ""อุเทน" ลาออกสมาชิก ปชป. ระบุ รู้สึกผิดหวัง ที่ไร้จุดยืน ยึดติดอำนาจ". โพสต์ทูเดย์. 2019-12-03. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.
- ↑ "ลือ! มือดีล็อบบี้ กก.บห.ห้ามลาออก หวั่น 'จุรินทร์-39 คน' ถูกโละเซ่นปรากฏการณ์ 'ปริญญ์'". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-04-22. สืบค้นเมื่อ 2022-04-30.
- ↑ "จุรินทร์" ประกาศรับผิดชอบ ลาออกหัวหน้า ปชป.
- ↑ 44.0 44.1 ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 82ก วันที่ 15 พฤษภาคม 2529
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ตามนัยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอนที่ 47ก วันที่ 16 มีนาคม 2530
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหาร พรรคประชาธิปัตย์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 110ง วันที่ 31 ตุลาคม 2543
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 61ง วันที่ 30 พฤษภาคม 2546
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 32ง วันที่ 21 เมษายน 2548
- ↑ “อภิสิทธิ์”นั่งหัวหน้า ปชป.-โหวต“เฉลิมชัย”เป็นเลขาธิการพรรค จากแนวหน้า
- ↑ "ส่งเสาไฟฟ้าลงก็ชนะ? ทำไมคนใต้ถึงรักประชาธิปัตย์อย่างมั่นคง คุยกับ 2 นักรัฐศาสตร์". The MATTER. 19 January 2022. สืบค้นเมื่อ 21 May 2022.
- ↑ Thai political slang explained: พรรคแมลงสาบ or ‘cockroach party’
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ พรรคประชาธิปัตย์ |