เทพ โชตินุชิต
เทพ โชตินุชิต เป็นอดีตนักการเมือง นักกฎหมาย และทนายความชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง และเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคเศรษฐกร (พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2501) และพรรคแนวร่วม-เศรษฐกร (พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2514)
เทพ โชตินุชิต | |
---|---|
รัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 16 มกราคม พ.ศ. 2493 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 16 มกราคม พ.ศ. 2493 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพล แปลก พิบูลสงคราม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 มกราคม พ.ศ. 2450 อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม |
เสียชีวิต | 7 เมษายน พ.ศ. 2517 (67 ปี) โรงพยาบาลรามาธิบดี กทม. |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2491–2498) เศรษฐกร (2498–2501) แนวร่วม-เศรษฐกร (2511–2514) |
คู่สมรส | สนอง โชตินุชิต |
ประวัติ
แก้เทพ โชตินุชิต เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2450 ที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สำเร็จการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และเนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) เมื่อ พ.ศ. 2475 ประกอบอาชีพทนายความ จ่าศาลจังหวัด ผู้พิพากษา และลาออกมาสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2480 นับเป็น ส.ส. คนแรกของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และได้รับการเลือกตั้งต่อมาอีก 3 สมัย[2][3]
ใน พ.ศ. 2492 เป็นรัฐมนตรีลอย[4] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อ พ.ศ. 2493[5] เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2492 นับเป็นเลขาธิการพรรคคนที่ 2 ต่อจากหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
นอกจากแล้วยังเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491[6] เคยก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา คือ พรรคเศรษฐกร[7] และพรรคแนวร่วม-เศรษฐกร แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก
เทพ โชตินุชิต ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่เป็นนักกฎหมายที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมให้แก่สังคมมาโดยตลอด เคยถูกจับและเคยช่วยเหลือหลายบุคคลมาแล้ว อาทิ ทองใบ ทองเปาด์ ซึ่งก่อนจะเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ในปี พ.ศ. 2516 ไม่นาน เทพ โชตินุชิต ได้ร่วมกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อีก 3 คน คือ พิชัย รัตตกุล ดำรง ลัทธพิพัฒน์ และชวลิต อภัยวงศ์ ลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผู้มาลงชื่อทั้งหมด 100 คนด้วย
เทพ โชตินุชิต ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2517 ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุได้ 67 ปี[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2492 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[9]
- พ.ศ. 2484 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)[10]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (จำนวน ๗ ราย)
- ↑ ประกาศประธานวุฒิสภา เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเศรษฐกร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
- ↑ ประวัติ จากชมรมวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๕๕๓๔, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๐๕, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๒๔๗๔, ๓ สิงหาคม ๒๔๘๖