จอมพล (ประเทศไทย)

ยศทหารชั้นสูงสุดของกองทัพไทย

จอมพล เป็นยศทหารชั้นสูงสุดของกองทัพไทย โดยมียศที่เทียบเท่ากันของทั้งสามเหล่าทัพ ได้แก่ จอมพล (ทหารบก) จอมพลเรือ (ทหารเรือ) และจอมพลอากาศ (ทหารอากาศ) (ตามพระราชบัญญัติยศทหาร พ.ศ. ๒๔๗๙) โดยเป็นยศสูงกว่าพลเอก และเป็นรองแต่เพียงจอมทัพไทยเท่านั้น (จอมทัพเป็นตำแหน่งมิใช่ยศทางการทหาร จอมทัพไทยทรงดำรงยศ จอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ)

จอมพล
อินทรธนูจอมพลไทย
ธงหมายยศจอมพลไทย
ประเทศ ไทย
สังกัตกองทัพบกไทย
ระดับยศยศห้าดาว
เทียบยศเนโทOF-10
สถาปนาพ.ศ. 2431
ยศที่สูงกว่าจอมทัพ
ยศที่ต่ำกว่าพลเอก
ยศที่คล้ายคลึง
ยศทหารที่พบทั่วไป
ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
นายทหารชั้นสัญญาบัตร
จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก
พลโท พลเรือโท พลอากาศโท
พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
พลจัตวา พลเรือจัตวา พลอากาศจัตวา
พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก
พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท
พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี
ร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก
ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโท
ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี
นายทหารชั้นประทวน
จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก
จ่าสิบโท พันจ่าโท พันจ่าอากาศโท
จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี
พลอาสาสมัครและทหารเกณฑ์

สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก
สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท
สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี
พลทหาร พลทหารเรือ พลทหารอากาศ

ปัจจุบัน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้รับเงินเดือนอัตราพลเอกพิเศษ

ประวัติ

แก้

ยศจอมพลในประเทศไทยมีขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริตามแบบธรรมเนียมทหารในต่างประเทศ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลแก่ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จเรทหารทั่วไป เป็นพระองค์แรก ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลแก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก และพระราชทานยศจอมพลเรือแก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ต่อมาเมื่อโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ทรงย้ายมาเป็นเสนาธิการทหารบก ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพลให้ด้วย

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง มีการปรับสายการบังคับบัญชาทหาร จากกองทัพน้อย กองพล กรม กองพัน เหลือเพียงระดับกองพัน จึงไม่มีการพระราชทานยศจอมพล จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการขอพระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ และจอมพลอากาศ ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ยศจอมพลให้แก่ผู้บัญชาการทหารบก ยศจอมพลเรือแก่ผู้บัญชาการทหารเรือ และยศจอมพลอากาศแก่ผู้บัญชาการทหารอากาศ และต่อมาได้มีการขอพระราชทานยศจอมพลสามเหล่าทัพให้เฉพาะผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว

นายทหารผู้ได้รับพระราชทานยศจอมพลคนสุดท้าย คือ จอมพลเกรียงไกร อัตตะนันทน์ เมื่อ พ.ศ. 2515 ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมา ก็ไม่มีการแต่งตั้งยศจอมพลอีกเลย มีเพียงแต่งตั้งยศ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก สามเหล่าทัพ ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย, ปลัดกระทรวงกลาโหม รวมถึงการพระราชทานยศแบบพิเศษ เช่น พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 ขณะที่พลเอกเปรมฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[1], พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อ พ.ศ. 2531 ขณะที่พลเอกชาติชาย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม [2], พลเอก เชษฐา ฐานะจาโร เมื่อ พ.ศ. 2540 อดีตผู้บัญชาการทหารบก ได้รับพระราชทานยศแบบพิเศษ[3], พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2534 อดีตผู้บัญชาการทหารเรือและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับพระราชทานยศแบบพิเศษ[4] และ พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2546 อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้รับพระราชทานยศแบบพิเศษ[5] ในการพระราชทานยศจอมพล จะพระราชทานคทาจอมพล ที่มีลักษณะเป็นรูปครุฑพ่าห์ ด้านล่างของด้ามคทาประดิษฐ์เป็นรูปทรงมัณฑ์ 3 ยอด ประดับด้วยแก้วผลึกสีเขียวสลับแดง ที่ด้ามมีจารึกนามจอมพลพร้อมด้วยวันที่ได้รับพระราชทาน

ปัจจุบัน ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม จะรับเงินเดือนอัตราพลเอกพิเศษ (เทียบเท่าอัตราจอมพลเดิม) แต่ไม่ได้รับพระราชทานยศจอมพล เนื่องจาก ยศจอมพล จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ เป็นยศสำหรับจอมทัพไทยเท่านั้น[6][7]

เครื่องหมายประจำยศจอมพล

แก้

ภาพธงที่แสดงในที่นี้ เป็นธงตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522


รายพระนามจอมทัพไทย

แก้

พระมหากษัตริย์ไทยทรงดำรงตำแหน่ง จอมทัพไทย ดำรงพระยศจอมพล

พระบรมฉายาลักษณ์ พระนาม วันเถลิงถวัลยราชสมบัติ วันถวายเครื่องหมายพระยศจอมพลทหารบก วันสิ้นสุดรัชกาล
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446[8] 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
(สวรรคต)
 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453[9][10] 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
(สวรรคต)
 
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 5 ธันวาคม พ.ศ. 2468[11][12][13] 2 มีนาคม พ.ศ. 2478
(สละราชสมบัติ)
 
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 7 ธันวาคม พ.ศ. 2488[14] 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
(สวรรคต)
 
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 26 มีนาคม พ.ศ. 2493[15] 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559
(สวรรคต)
 
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ยังอยู่ในราชสมบัติ

รายพระนามและรายนามจอมพลในประเทศไทย

แก้

สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งดำรงพระยศเป็นจอมพล และนายทหารของกองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย กองทัพอากาศไทย และกองบัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งมียศจอมพล มีทั้งสิ้น 6 พระองค์ และ นายทหารชั้นจอมพลทั้งหมด 11 ท่าน

  1. สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
  3. สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
  4. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
  5. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก - กองทัพเรือได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถวายพระยศจอมพลเรือเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2541[16]
  6. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

นายทหารชั้นจอมพล 11 ท่าน

  1. เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล)
  2. เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
  3. แปลก พิบูลสงคราม
  4. ผิน ชุณหะวัณ
  5. หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล)
  6. ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
  7. สฤษดิ์ ธนะรัชต์
  8. เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร - ได้รับพระราชทานยศจอมพล หลังจากเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่ไต้หวัน เมื่อ พ.ศ. 2503 (ขณะเสียชีวิตมียศเป็นพลอากาศโท ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ)
  9. ถนอม กิตติขจร
  10. เกรียงไกร อัตตะนันทน์ - ได้รับพระราชทานยศจอมพล หลังจากเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อ พ.ศ. 2515 (ขณะเสียชีวิตมียศเป็นพลโท ตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1)
  11. ประภาส จารุเสถียร

รายพระนามและรายนามจอมพลทหารบก

แก้
วันแต่งตั้ง ภาพ จอมพล เกิด เสียชีวิต หมายเหตุ
11 ธันวาคม พ.ศ. 2453   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช ม.จ.ก. น.ร. ป.จ.ว. ร.ว. ส.ร. ม.ป.ช.
(ภายหลัง สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช)
11 มกราคม พ.ศ. 2403 13 มิถุนายน พ.ศ. 2471 นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2444–2453)
เจ้ากรมยุทธนาธิการ (พ.ศ. 2435–2439; 2442–2444)
ก่อน พ.ศ. 2456   พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ม.จ.ก. น.ร. ป.จ.ว. ร.ว. ป.ช. ป.ม.
(ภายหลัง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช)
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2419 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2453–2457)
เจ้ากรมยุทธนาธิการ (พ.ศ. 2444–2453)
30 ธันวาคม พ.ศ. 2460   สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ม.จ.ก. น.ร. ป.จ.ว. ร.ว. ส.ร. ม.ป.ช.
(ภายหลัง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ)
3 มีนาคม พ.ศ. 2426 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 เสนาธิการทหารบก
30 ธันวาคม พ.ศ. 2460   เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต น.ร. ร.ว. ป.จ. ม.ป.ช. ป.ม. ม.ร. 14 เมษายน พ.ศ. 2399 25 สิงหาคม พ.ศ. 2464 เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2456–2464)
21 มิถุนายน พ.ศ. 2463   สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต ม.จ.ก. น.ร. ป.จ.ว. ร.ว. ส.ร. ม.ป.ช.
(ภายหลัง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต)
29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 18 มกราคม พ.ศ. 2487 นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พ.ศ. 2475)
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2469–2471)
31 มีนาคม พ.ศ. 2469   เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ป.จ. ป.ช. ป.ม. ร.ป.ฮ. ร.ด.ม. (พ) ร.ด.ม. (ผ) 28 มีนาคม พ.ศ. 2394 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 เจ้ากรมทหารบก (พ.ศ. 2433–2435)
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2484   หลวงพิบูลสงคราม น.ร. ร.ว. ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.ก.
(ภายหลัง แปลก พิบูลสงคราม)
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ
นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2481–2487; 2491–2500)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2477–2484; 2484–2486; 2492–2500)
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พ.ศ. 2483–2484; 2484–2487)
ผู้บัญชาการทหารบก (พ.ศ. 2481–2487; 2490–2491)
พ.ศ. 2495   ผิน ชุณหะวัณ ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ช.ส. พ.ร.ธ. ช.ร. 14 ตุลาคม พ.ศ. 2434 26 มกราคม พ.ศ. 2516 นอกจากนี้ยังเป็น พลเรือเอก และ พลอากาศเอก
ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2490)
หัวหน้าคณะทหารแห่งชาติ (พ.ศ. 2490; 2491)
รองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2494–2499)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2497–2498)
ผู้บัญชาการทหารบก (พ.ศ. 2491–2497)
1 มกราคม พ.ศ. 2499   สฤษดิ์ ธนะรัชต์ น.ร. ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ช.ส. 16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ
นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2502–2506)
หัวหน้าคณะปฏิวัติ (พ.ศ. 2500; 2501–2502)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2500)
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พ.ศ. 2500–2506)
ผู้บัญชาการทหารบก (พ.ศ. 2497–2506)
10 มกราคม พ.ศ. 2507   ถนอม กิตติขจร ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.ก. ช.ส. 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ
นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2501; 2506–2514; 2515–2516)
ประธานสภาบริหารคณะปฏิวัติ (พ.ศ. 2514–2515)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2500–2514; 2515–2516)
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พ.ศ. 2506–2516)
ผู้บัญชาการทหารบก (พ.ศ. 2506–2507)
6 ตุลาคม พ.ศ. 2515   เกรียงไกร อัตตะนันทน์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ. ช.ส. พ.ร.ธ. 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 28 สิงหาคม พ.ศ. 2515 เดิมเป็น พลโท ได้รับพระราชทานยศหลังจากถึงแก่อนิจกรรม
แม่ทัพภาคที่ 1 (พ.ศ. 2512–2515)
1 มิถุนายน พ.ศ. 2516   ประภาส จารุเสถียร ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.ด.ม. (ห) ช.ส. 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 18 สิงหาคม พ.ศ. 2540 นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ
รองนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2501; 2506–2514; 2515–2516)
รองประธานสภาบริหารคณะปฏิวัติ (พ.ศ. 2514–2515)
ผู้บัญชาการทหารบก (พ.ศ. 2507–2516)
19 สิงหาคม พ.ศ. 2535   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ม.จ.ก. น.ร. ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ภ.
(ภายหลัง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ นอกจากนี้ยังเป็น จอมพลเรือ และ จอมพลอากาศ
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พ.ศ. 2499)
ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (พ.ศ. 2502–ปัจจุบัน)

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/093/1.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2531/D/175/3.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/001/24.PDF
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-03. สืบค้นเมื่อ 2018-12-24.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-10. สืบค้นเมื่อ 2018-12-24.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-20. สืบค้นเมื่อ 2018-12-24.
  7. https://minimore.com/b/rRVZK/6
  8. "กรมทหารบกทูลเกล้า ฯ ถวายคทาจอมพลแลมีการสมโภช" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-06-15.
  9. "นายทหารบกนำเครื่องจอมพลทหารบกทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-06-15.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-06-15.
  11. "นายทหารบกนายทหารเรือนำเครื่องจอมพลทหารบกและจอมพลเรือทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-06-15.
  12. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-06-15.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-06-15.
  14. "อัฐมราชานุสสรณ์ ประมวญพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สยามินทราธิราช". หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ ดิศกุล และคณะ. 29 มีนาคม 2493. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-15. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2019.
  15. "กำหนดการ กองทัพบก และกองทัพอากาศ ทูลเกล้า ฯ ถวาย เครื่องยศจอมพล ๒๔๙๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2018-06-07.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (พระยศ จอมพลเรือ ถวายแด่ นายนาวาเอก สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) เก็บถาวร 2011-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 115, ตอน 4 ข, 2 มีนาคม พ.ศ. 2541, หน้า 1