นาวาอากาศตรี
นาวาอากาศตรี (อังกฤษ: squadron leader ย่อว่า Sqn Ldr ในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร; SQNLDR ในกองทัพอากาศนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย; เดิมทีใช้ S/L ในทุกกองทัพอากาศที่ใช้งานคำนี้) เป็นยศนายทหารชั้นสัญญาบัตรอาวุโสในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร[1] และกองทัพอากาศของหลายประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากสหราชอาณาจักร รวมถึงหลายประเทศในเครือจักรภพ แต่ไม่รวมแคนาดา (นับตั้งแต่การรวมเหล่า) และแอฟริกาใต้ บางครั้งใช้เป็นคำแปลภาษาอังกฤษของยศที่เทียบเท่าในประเทศที่มีโครงสร้างยศเฉพาะตัวของกองทัพอากาศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งยศนี้เริ่มต้นในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2460 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และยศนี้สูงกว่าเรืออากาศเอก และตํ่ากว่านาวาอากาศโท
นาวาอากาศตรี Squadron leader | |
---|---|
ธงบัญชาการนาวาอากาศตรี กองทัพอากาศสหราชอาณาจักร | |
เครื่องหมายแขนเสื้อ / ไหล่ นาวาอากาศตรีสหราชอาณาจักร | |
สังกัต | กองทัพอากาศ |
อักษรย่อ | Sqn Ldr / SQNLDR / น.ต. |
เทียบยศเนโท | OF-3 |
เทียบยศนอกเนโท | O-4 |
สถาปนา | 1 เมษายน 2461 (ทอ.สหราชอาณาจักร) |
ยศที่สูงกว่า | นาวาอากาศโท |
ยศที่ต่ำกว่า | เรืออากาศเอก |
ยศที่คล้ายคลึง | พันตรี, นาวาตรี |
นาวาอากาศตรีของกองทัพอากาศนั้นเป็นยศที่สูงกว่าเรืออากาศเอก และต่ำกว่านาวาอากาศโท เป็นนายทหารที่อาวุโสน้อยสุดในกลุ่มนายทหารชั้นสัญญาบัตรอาวุโส ยศนี้เทียบกับระบบรหัสยศของเนโทคือ OF-3 เทียบเท่ากับยศนาวาตรีในราชนาวี และยศพันตรีในกองทัพบกสหราชอาณาจักร หรือราชนาวิกโยธิน เทียบเท่ายศเจ้าหน้าที่ฝูงบิน (squadron officer) ในกองทัพอากาศหญิงช่วยรบ กองทัพอากาศหญิงสหราชอาณาจัก (จนถึงปี พ.ศ. 2511) หน่วยพยาบาลกองทัพอากาศเจ้าหญิงแมรี (จนถึงปี พ.ศ. 2523)
คำว่า squadron leader ยังได้รับการใช้งานเป็นชื่อตำแหน่งของผู้บังคับการกองทหารม้า (สหราชอาณาจักร) และใช้เป็นยศ (ฝรั่งเศส) มาตั้งแต่อย่างน้อยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ส่วนในอาร์เจนตินาใช้งานเป็นชื่อตำแหน่งบังคับการของทั้งกองทัพบกและกองทัพอากาศ ยศของผู้บังคับการกองทหารม้าในฝรั่งเศสก็ใช้ชื่อนี้และมีตำแหน่งเทียบเท่ากับ OF-4 ของพันตรีเช่นกัน และชื่อตำแหน่งผู้บังคับการกองทหารม้าในสหราชอาณาจักรก็ใช้คำนี้เช่นเดียวกัน
ต้นกำเนิด
แก้ยศดั้งเดิมมีจุดกำเนิดในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ต่อมากองทัพอากาศอื่น ๆ อีกหลายแห่งที่ใช้งาน หรือใช้งานระบบยศของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2461 กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ได้ปรับใช้ระบบยศจากกองทัพบกสหราชอาณาจักร โดยมีนาวาเอกจากหน่วยบริการการบินกองทัพเรือ (Royal Naval Air Service) และพันเอกจากกองบินหลวง (Royal Flying Corps) ปรับยศเป็นพันโทอย่างเป็นทางการในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร โดยในทางปฏิบัติ เกิดความไม่สอดคล้องกันหลายข้อ มีอดีตทหารเรือบางนายยังคงใช้ยศเดิมก่อนการรวมหน่วย เพื่อสนับสนุนข้อเสนอที่มีการเสนอไปว่ากองทัพอากาศควรใช้ระบบยศของกองทัพเรือ ซึ่งกองทัพอากาศอาจจะใช้ยศของกองทัพเรือโดยมีคำว่า "อากาศ" (air) แทรกอยู่หน้ายศทหารเรือ เช่น ตำแหน่งที่ต่อมากลายเป็นนาวาอากาศตรี (squadron leader) จะใช้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า air lieutenant commander
แม้ว่ากระทรวงกองทัพเรือจะคัดค้านการเปลี่ยนยศของตน แต่ก็ยอมตกลงกับกองทัพอากาศว่าอาจจะใช้บางยศจากยศเดิมของกองทัพเรือโดยมีเงื่อนไขของการปรับใช้ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอว่าพันโทของกองทัพอากาศ อาจได้รับเลือกให้เป็นรีฟส์หรือผู้บังคับฝูงบิน อย่างไรก็ตาม ชื่อยศว่า squadron leader ได้รับเลือกมาใช้เป็นยศพันเอกของกองทัพอากาศ เนื่องจากคำว่า squadron commander เคยได้รับการใช้งานในหน่วยบริการการบินกองทัพเรือ โดยตำแหน่งนาวาอากาศตรีเริ่มใช้งานเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2462[2] และใช้งานนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
การใช้งานในสหราชอาณาจักร
แก้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2461 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรใช้ยศพันตรีเป็นตำแหน่งสำหรับผู้บังคับฝูงบิน จนกระทั่งวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2461 นาวาตรีจากหน่วยบริการการบินกองทัพเรือ (Royal Naval Air Service) และพันตรีจากกองบินหลวง (Royal Flying Corps) รวมกันเป็นพันตรีในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2461 ต่อมาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2462 ตำแหน่งพันตรีในกองทัพอากาศถูกแทนที่ด้วยนาวาอากาศตรี และใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน การเลื่อนตำแหน่งขึ้นสู่นาวาอากาศตรีนั้นเป็นไปตามระบบคุณธรรมอย่างเคร่งครัด และมีข้อกำหนดให้บุคคลดังกล่าวต้องได้รับการแต่งตั้งในสายอาชีพของชั้นสัญญาบัตร ซึ่งจะต้องประจำการในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรจนกว่าจะเกษียณอายุหรือลาออกโดยสมัครใจ
ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง นาวาอากาศตรีจะเป็นผู้บังคับการฝูงบิน แต่ในปัจจุบันฝูงบินมักจะได้รับการบัญชาการจากนาวาอากาศโท โดยมี 2 หน่วยบินอยู่ภายใต้การบังคับการของนาวาอากาศตรี อย่างไรก็ตาม ฝูงบินปฏิบัติการภาคพื้นดินซึ่งเป็นหน่วยรองของกองบินมักจะได้รับการสั่งการจากนาวาอากาศตรีเช่นกัน
เครื่องหมายและธงบัญชาการ
แก้เครื่องหมายยศประกอบไปด้วยแถบสีน้ำเงินบาง บนแถบสีดำที่กว้างกว่าเล็กน้อย อยู่ระหว่างแถบสีน้ำเงินบางสองแถบบนแถบสีดำที่กว้างกว่าเล็กน้อย สวมบริเวณท่อนล่างของเสื้อคลุมหรือบริเวณไล่ของชุดนักบินหรือเครื่องแบบลำลอง
นาวาอากาศตรีเป็นเจ้าหน้าที่ระดับต่ำที่สุดที่สามารถใช้งานธงบัญชาการ ธงอาจจะแสดงบนเครื่องบินของนายทหารหรือหากนาวาอากาศตรีท่านนั้นเป็นผู้บังคับการ อาจจะมีการชักธงบัญชาการนาวาอากาศตรีขึ้นบนเสาธงหรือธงบนรถยนต์ราชการ หากนาวาอากาศตรีเป็นผู้บังคับการฝูงบินที่มีหมายเลข หมายเลขของฝูงบินก็จะแสดงอยู่บนธงด้วย
-
เครื่องหมายบนแขนเสื้อ / ไหล่
-
เครื่องหมายแถบยศบนแขนเสื้อ
-
เครื่องหมายแถบยศแขนเสื้อของเครื่องแบบบริการหมายเลข 1
กองทัพอากาศอื่น
แก้ยศนาวาอากาศตรี ยังใช้ในงานในกองทัพอากาศอื่นในเครือจักรภพ เช่น กองทัพอากาศบังคลาเทศ (BAF)[3], กองทัพอากาศกานา, กองทัพอากาศอินเดีย (IAF)[4], กองทัพอากาศนามิเบีย, กองทัพอากาศศรีลังกา (SLAF), กองทัพอากาศปากีสถาน (PAF), กองทัพอากาศออสเตรเลีย (RAAF), กองทัพอากาศไนจีเรีย (NAF) และกองทัพอากาศนิวซีแลนด์ (RNZAF) นอกจากนี้ยังใช้ในกองทัพอากาศอียิปต์ กองทัพอากาศกรีก กองทัพอากาศโอมาน กองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศซิมบับเว[5]
แคนาดาใช้ยศนาวาอากาศตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 จนถึง พ.ศ. 2511 จนกระทั่งมีการรวมกองทัพแคนาดาในปี พ.ศ. 2511 ได้มีการปรับชื่อยศในกองทัพอากาศให้มีความสอดคล้องกันกับกองทัพบกทั้งชื่อของตำแหน่งและยศ อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2558 เครื่องหมายยศสำหรับกองทัพอากาศแคนาดาได้เปลี่ยนกลับไปเป็นการใช้แถบยศสีเทามุกบนพื้นหลังสีดำจำนวนสองแถบครึ่ง
การเทียบยศนาวาอากาศตรีกับกองทัพอากาศชิลี ในภาษาสเปนของชิลี คือ comandante de escuadrilla หรือ squadron commander
-
กองทัพอากาศแคนาดาแบบเครือจักรภพดั้งเดิม
กองกำลังทางบก
แก้ในกรมทหารม้ารักษาพระองค์ของสหราชอาณาจักรและกองกำลังราชยานเกราะ squadron leader (ผู้บังคับกองร้อย) เป็นชื่อของตำแหน่ง (ไม่ใช่ยศ) ที่มักมอบให้กับผู้บังคับการของกองร้อยยานเกราะต่อสู้ (AFV) ผู้บังคับกองร้อยมักจะเป็นพันตรี แม้ว่าในสงครามโลกครั้งที่สองตำแหน่งนี้จะเป็นของร้อยเอก
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Ranks and Badges of the Royal Air Force". Royal Air Force. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2011. สืบค้นเมื่อ 2007-12-01.
- ↑ Hobart, Malcolm C (2000). Badges and Uniforms of the Royal Air Force. Leo Cooper. p. 26. ISBN 0-85052-739-2.
- ↑ "BAF RANKS". Bangladesh Air Force Website. BAF Communication Unit. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-11. สืบค้นเมื่อ 13 December 2020.
- ↑ "Officer ranks in Indian Army, Air Force and Navy". India Today. New Delhi. 25 February 2019. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020.
- ↑ "RANKS AND BADGES IN THE AFZ". Air Force of Zimbabwe Website. Air Force of Zimbabwe. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-09. สืบค้นเมื่อ 13 December 2020.