ยศทหาร เป็นระบบความสัมพันธ์การแบ่งลำดับชั้นภายในกองกำลังติดอาวุธ หรือสถาบันพลเรือนซึ่งจัดการตามรูปแบบของทหาร โดยปกติแล้ว เครื่องแบบมักจะบ่งบอกถึงยศทหารของผู้ที่สวมใส่ ระบบการแบ่งยศทหารได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายที่สุดในประวัติศาสตร์การทหาร เนื่องจากความได้เปรียบสำหรับปฏิบัติการทางทหาร เมื่อเวลาผ่านไป และปฏิบัติการทางทหารเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ยศทางทหารก็ได้เพิ่มจำนวนขึ้น และระบบยศทหารก็มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นด้วย

ยศทหารที่พบทั่วไป
ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
นายทหารชั้นสัญญาบัตร
จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก
พลโท พลเรือโท พลอากาศโท
พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
พลจัตวา พลเรือจัตวา พลอากาศจัตวา
พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก
พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท
พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี
ร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก
ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโท
ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี
นายทหารชั้นประทวน
จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก
จ่าสิบโท พันจ่าโท พันจ่าอากาศโท
จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี
พลอาสาสมัครและทหารเกณฑ์

สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก
สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท
สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี
พลทหาร พลทหารเรือ พลทหารอากาศ

ในกองกำลังติดอาวุธสมัยใหม่ การใช้ยศทหารถือว่าเป็นเรื่องปกติทั่วโลก แต่บางครั้งในกองทัพของรัฐคอมมิวนิสต์ก็ลบล้างระบบยศทหารเสีย (เช่น ในกองทัพแดงของสหภาพโซเวียต ระหว่างปี ค.ศ. 1918-1935[1] ในกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ระหว่างปี ค.ศ. 1965-1988[2] และในกองทัพอัลเบเนีย ระหว่างปี ค.ศ. 1966-1991[3]) โดยจะมีการสร้างลำดับยศทหารใหม่ เฉพาะเมื่อประสบกับความยุ่งยากในการบังคับบัญชาและการควบคุมในระหว่างปฏิบัติการเท่านั้น

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Rosignoli, Guido (1984). World Army Badges and Insignia Since 1939. Dorset: Blandford Press.
  2. "CCC - China's Upcoming Leadership Changes and the PLA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-01. สืบค้นเมื่อ 2009-10-14.
  3. http://lcweb2.loc.gov/cgi-bin/query/r?frd/cstdy:@field(DOCID+al0155)