นาวาตรี
นาวาตรี (อังกฤษ: lieutenant commander สะกดด้วยยัติภัค์ lieutenant-commander และตัวย่อ น.ต. (ชื่อ) ร.น., Lt Cdr,[1] LtCdr.,[2] LCDR,[3][4] หรือ LCdr[5]) เป็นยศนายทหารชั้นสัญญาบัตรในกองทัพเรือหลายแห่ง มียศเหนือกว่าเรือเอก และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของนาวาโท ตำแหน่งที่สอดคล้องกันในกองทัพเรือและกองทัพอากาศบางประเทศคือพันตรี และในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ในเครือจักรภพและบางประเทศคือนาวาอากาศตรี ซึ่งยศนี้ถูกเริ่มต้นในไทย เมื่อปี พ.ศ.2459 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยศทหารที่พบทั่วไป | ||
ทหารบก | ทหารเรือ | ทหารอากาศ |
---|---|---|
นายทหารชั้นสัญญาบัตร | ||
พลเอก | พลเรือเอก | พลอากาศเอก |
พลโท | พลเรือโท | พลอากาศโท |
พลตรี | พลเรือตรี | พลอากาศตรี |
พันเอก | นาวาเอก | นาวาอากาศเอก |
พันโท | นาวาโท | นาวาอากาศโท |
พันตรี | นาวาตรี | นาวาอากาศตรี |
ร้อยเอก | เรือเอก | เรืออากาศเอก |
ร้อยโท | เรือโท | เรืออากาศโท |
ร้อยตรี | เรือตรี | เรืออากาศตรี |
นายทหารชั้นประทวน | ||
จ่าสิบเอก | พันจ่าเอก | พันจ่าอากาศเอก |
จ่าสิบโท | พันจ่าโท | พันจ่าอากาศโท |
จ่าสิบตรี | พันจ่าตรี | พันจ่าอากาศตรี |
พลอาสาสมัครและทหารเกณฑ์
| ||
สิบเอก | จ่าเอก | จ่าอากาศเอก |
สิบโท | จ่าโท | จ่าอากาศโท |
สิบตรี | จ่าตรี | จ่าอากาศตรี |
พลทหาร | พลทหารเรือ | พลทหารอากาศ |
รหัสยศเนโทส่วนใหญ่เทียบได้กับ OF-3[6]
นาวาตรีเป็นเจ้าหน้าที่แผนก หรือรองผู้บังคับการ (รองผู้บังคับหน่วย) บนเรือรบหลายลำและที่ตั้งทางทหารขนาดเล็กบริเวณชายฝั่ง หรือผู้บังคับการเรือขนาดเล็ก / ที่ตั้งทางทหารขนาดเล็ก[7] นอกจากนี้นาวาตรียังเป็นเจ้าหน้าที่แผนกในฝูงบินนาวีอีกด้วย
นิรุกติศาสตร์
แก้กองทัพเรือบางชาติเรียกนาวาตรีตามยศเต็มหรือตำแหน่งที่ครอง เช่น กับตัน หากเป็นผู้บัญชาการเรือ
อย่างไรก็ตาม ในกองทัพเรือสหรัฐเรียกขานนายทหารตามยศเต็มหรือระดับที่สูงกว่าชั้นยศ เช่น การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ เรือโท (lieutenant junior grade แปลได้อีกอย่างว่า ผู้หมวดที่อาวุโสอ่อนสุด) จะเรียกแบบย่อว่า lieutenant (ยศเรือเอก หรือผู้หมวด) ซึ่งเป็นยศของร้อยเอก และ นาวาตรี (lieutenant commander) จะเรียกโดยย่อว่า commander (คือยศของนาวาโท)[8]
เช่นกันกับนายทหารราชนาวีที่ใช้การเรียกอย่างไม่เป็นทางการอิงตามยศที่สูงกว่า เช่น Vice-Admiral Ramsay (พลเรือโท แรมเซย์) จะเรียกว่า Admiral Ramsay (พลเรือเอก แรมเซย์) และ Lieutenant-Commander Crabb (นาวาตรี แครบบ์) จะเรียกว่า Commander Crabb (นาวาโท แครบบ์) ยกเว้นตำแหน่ง sub-lieutenant (เรือโท) ที่จะเรียกว่า Subbies (ผู้ใต้บังคับบัญชา) ดังนั้น Sub-Lieutenant Balme (เรือโท บาล์ม) จะเรียกว่า Subby Balme (ซับบี้ บาล์ม)
ต้นกำเนิด
แก้โดยปกติ Lieutenant (ชื่อยศเรือเอก) จะเป็นผู้บังคับการเรือขนาดเล็กโดยไม่ต้องมีนาวาโทหรือนาวาเอกอนุญาตในการตัดสินใจต่าง ๆ เรือเอกเรียกว่า lieutenant commanding หรือ lieutenant commandant ในกองทัพเรือสหรัฐ และเรียกว่า lieutenant in command, lieutenant and commander, หรือ senior lieutenant ในราชนาวี โดยกองทัพเรือสหรัฐได้กำหนดให้ใช้คำว่า lieutenant commander ในปี พ.ศ. 2405 และกำหนดขึ้นมาเป็นยศชัดเจน และราชกนาวีได้กำหนดตามมาหลังจากนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2457[9]
แคนาดา
แก้ในกองทัพเรือแคนาดา นาวาตรี (LCdr)[5] คือยศทางเรือที่เทียบเท่ากับพันตรีในกองทัพบกหรือกองทัพอากาศ และเป็นนายทหารคนแรกในแท่งนายทหารสัญญาบัตรอาวุโส นาวาตรีนั้นอาวุโสกว่าเรือเอก (lieutenants) และร้อยเอกในกองทัพบกและกองทัพอากาศ และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของนาวาโทและพันโท[6]
ในกองทัพเรือแคนาดา ยศร้อยโท (LCdr) คือยศทางเรือเท่ากับพันตรีในกองทัพบกหรือกองทัพอากาศ และเป็นยศนายทหารอาวุโสคนแรก นาวาตรีเป็นผู้อาวุโสกว่าร้อยโท (N) และกัปตันกองทัพบกและกองทัพอากาศ และเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาและพันโท
สหราชอาณาจักร
แก้ราชนาวี
แก้เครื่องหมายยศนาวาตรีของราชนาวีคือแถบเปียสีทองขนาดกลางสองแถบ โดยมีสีทองบาง ๆ หนึ่งแถบพาดอยู่ระหว่างกลาง วางไว้บนพื้นหลังสีน้ำเงินกรมท่า / สีดำ แถบด้านบนมีห่วงวนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเครื่องหมายยศราชนาวีทั้งหมดยกเว้นนักเรียนนายเรือ (midshipman) ซึ่งในกองทัพอากาศก็มีรูปแบบคล้ายคลึงกันโดยมียศที่เทียบเท่ากันคือนาวาอากาศตรี (squadron leader)
เนื่องจากมียศนายทหารน้อยกว่ากองทัพบก ก่อนหน้านี้ราชนาวีจึงได้แบ่งยศตามอาวุโส (ระยะเวลาในตำแหน่ง) เพื่อให้สามารถเทียบเคียงกันได้ ดังนั้น lieutenant (เรือเอก) ที่มีอายุงานน้อยกว่าแปดปีจะสวมเครื่องหมายสองแถบ และเทียบเคียงยศเท่ากับร้อยเอก (captain) ของกองทัพบก สำหรับ lieutenant (เรือเอก) ที่มีอายุงานแปดปีขึ้นไปจะสวมเครื่องหมายสองแถบ และมีแถบที่บางกว่าอยู่ตรงกลางเข้ามาเพิ่ม และมียศเทียบเท่ากับพันตรี (major) ความแตกต่างดังกล่าวหายไปเมื่อยศ lieutenant commander (นาวาตรี) ได้รับการนำมาใช้งาน โดยแม้ว่าการเลื่อนตำแหน่งหลังจะปรับเลื่อนโดยอัตโนมัติเมื่ออายุราชการครบแปดปีสำหรับนายทหารในคณะกรรมการอาชีพเต็มรูปแบบ (FCC) ระบบการเลื่อนอัตโนมัติยุติการใช้งานในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 และใช้ระบบการเลื่อนตำแหน่งตามความเหมาะสมแทน
เหล่าตรวจการณ์สหราชอาณาจักร
แก้ในช่วงที่เหล่าตรวจการณ์สหราชอาณาจักรดำรงอยู่ ได้มีการใช้งานยศนาวาตรี (lieutenant commander) เช่นกัน โดยหน่วยจะสวมเครื่องแบบของกองทัพอากาศ และเครื่องหมายยศจะคล้ายคลึงกับนาวาอากาศตรีกองทัพอากาศ แตกต่างกันเพียงแถบจะเป็นสีดำ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อยศเป็น ผู้ตรวจการณ์ชั้นหนึ่ง (observer lieutenant (first class))
สหรัฐ
แก้ในสหรัฐ ยศนาวาตรีมีการใช้งานในกองทัพเรือสหรัฐ ยามฝั่งสหรัฐ เหล่าสัญญาบัตรสำนักงานสาธารณสุขสหรัฐ และเหล่าสัญญาบัตรองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ
ภายในกองทัพเรือสหรัฐ นาวาตรีอยู่ในรายชื่อของนายทหารชั้นต้น มีเครื่องหมายนาวาตรีสองแบบที่ใช้งานโดยกองทัพเรือสหรัฐและยามฝั่งสหรัฐ ในชุดกากีและเครื่องแบบปฏิบัติงานทั้งหมด นาวาตรีจะประดับเครื่องหมายรูปใบไม้สีทองที่ปกเสื้อ คล้ายกับการประดับของพันตรีในกองทัพอากาศสหรัฐและกองทัพบกสหรัฐ และเหมือนกับที่ประดับโดยเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ ในเครื่องแบบปฏิบัติงานทั้งหมด นาวาตรีจะประดับเครื่องหมายบนไหล่หรือแถบที่แขนเสื้อสีทองขนาดหนึ่งในสี่นิ้ว และระหว่าแถบจะมีแถบสีทองขนาดครึ่งนิ้วสองแถบ (ขนาดปกติ) บริเวณด้านบนหรือด้านในของแถบจะประดับเครื่องหมายพิเศษ (เช่น ใบโอ๊กเดี่ยวสำหรับแพทย์ ลูกโอ๊กสีเงินสำหรับเหล่าแพทย์ ใบโอ๊กไขว้สำหรับเหล่าช่างโยธา) โดยหน่วยบริการในเครื่องแบบสหรัฐกำหนดให้เป็นยศระดับ O-4[10]
ระเบียงภาพ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Triservice Officers Pay and Grade" (PDF). UK Government. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 25 April 2013.
- ↑ "A Dane giving the orders". Admiral Danish Fleet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2013. สืบค้นเมื่อ 25 April 2013.
- ↑ "US Navy Ranks". United States Navy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-04-25.
- ↑ "Uniform Ranks". Royal Australian Navy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2015. สืบค้นเมื่อ 25 April 2013.
- ↑ 5.0 5.1 "Royal Canadian Navy ranks and badges". Department of National Defence (Canada). 2023-08-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-27. สืบค้นเมื่อ 2023-11-03.
- ↑ 6.0 6.1 "NATO Standard Agreement (STANAG) 2116: NATO Codes for Grades of Military Personnel". NATO standardization agreement (5 ed.). NATO Standardization Agency (ตีพิมพ์ 25 February 2010). 13 March 1996. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2011. สืบค้นเมื่อ 13 July 2017.
- ↑ "United States Navy - O-4 Lieutenant Commander". FederalPay.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2018. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
- ↑ "MILPERSMAN 5000-010" (PDF). U.S. Navy. 22 Aug 2002. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2016. สืบค้นเมื่อ 28 June 2016.
- ↑ "Lieutenant Commander mokong Ibana". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2009. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009.
- ↑ "United States Department of Defense". www.defenselink.mil. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2004. สืบค้นเมื่อ 8 May 2018.
- ↑ "Badges of rank" (PDF). defence.gov.au. Department of Defence (Australia). สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.
- ↑ "Ranks and appointment". canada.ca. Government of Canada. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
- ↑ "Defense Act of 2008" (PDF). 3 September 2008. p. 8. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
- ↑ "Karių laipsnių ženklai" [Marks of soldiers]. kariuomene.kam.lt (ภาษาลิทัวเนีย). Ministry of National Defence (Lithuania). สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
- ↑ "Badges of Rank". nzdf.mil.nz. New Zealand Defence Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2020. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
- ↑ 21.0 21.1 "U.S. Military Rank Insignia". defense.gov. Department of Defense. สืบค้นเมื่อ 13 January 2022.
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Lieutenant Commanders