กองทัพเรือบรูไน
กองทัพเรือบรูไน (อังกฤษ: Royal Brunei Navy มลายู: Tentera Laut Diraja Brunei, ย่อ: RBN, TLDB) เป็นกองกำลังป้องกันทางเรือของประเทศบรูไนดารุสซาลาม เป็นกองกำลังทหารขนาดเล็กแต่ประกอบด้วยยุทโธปกรณ์ทางการทหารครบครัน มีหน้าที่หลักในการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย รวมไปถึงยับยั้งและปกป้องน่านน้ำบรูไนจากการรุกรานจากกองกำลังทางทะเล[1]
กองทัพเรือบรูไน | |
---|---|
Tentera Laut Diraja Brunei | |
ตรากองทัพเรือบรูไน | |
ประจำการ | 14 มิถุนายน 1965 |
ประเทศ | บรูไน |
รูปแบบ | กองทัพเรือ |
บทบาท | การสงครามทางเรือ การค้นหาและกู้ภัย การบังคับใช้กฎหมาย |
ขึ้นกับ | กองทัพบรูไน |
กองบัญชาการ | ฐานทัพเรือมัวรา, บรูไน-มัวรา, บรูไน |
วันสถาปนา | 14 มิถุนายน |
ยุทธภัณฑ์ | ดูรายชื่อ |
เว็บไซต์ | navy |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการ | น.อ. Sarif Pudin Matserudin (รักษาการ) |
รองผู้บัญชาการ | น.อ. Sarif Pudin Matserudin |
ผู้บัญชาการกองเรือ | น.อ. Khairil Abdul Rahman |
เสนาธิการ | น.ท. Azrin Mahmud |
จ่ากองพัน | พ.จ.อ. Roslan Duraman |
เครื่องหมายสังกัด | |
ธงนาวี | |
ธงฉาน |
กองทัพเรือบรูไนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 1965กองทัพบรูไน (Royal Brunei Armed Forces: RBAF) กองทัพเรือบรูไนมีกองบัญชาการอยู่ที่เมืองมัวรา ที่ตั้งอยู่ห่างจากเมืองมัวราประมาณ 4 กิโลเมตร (2 ไมล์) โดยมีลูกเรือส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลย์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 กองทัพเรือบรูไนได้จัดหาเรือปืนขีปนาวุธและเรือตรวจการณ์ชายฝั่งแบบต่าง ๆ โดยเรือทั้งหมดใช้คำนำหน้าว่า KDB มาจากคำว่า Kapal Diraja Brunei ในภาษามลายู แปลว่า Royal Brunei Ship หรือ เรือหลวงของบรูไน[1]
โดยเป็นหน่วยงานทางทหารหน่วยที่สองที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากการสถาปนาประวัติศาสตร์
แก้ช่วงเริ่มต้น
แก้กองทัพเรือบรูไนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 1965กองทัพบรูไน เดิมถูกเรียกว่าแผนกเรือของกองทัพบรูไน โดยมีกำลังพลเพียง 18 นาย รวมทั้งนายทหาร 1 นายจากกองพันที่ 1 ที่เคยเข้าร่วมการฝึกหลักสูตรพื้นฐานที่แหลมมาลายาในปี พ.ศ. 2504 - 2507[2]
4 ปีหลังจากก่อตั้งแผนกเรือมียุทโธปกรณ์คือเรืออะลูมิเนียมจำนวนหนึ่ง เรียกว่า Temuai ในภาษามลายู และเรือเร็วโจมตี (FABs)[2] บทบาทของแผนกเรือมีหน้าที่ในการขนส่งกำลังทหารราบภายในบรูไนเท่านั้น หลักจากองค์กรมีการขยายตัวประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แผนกเรือจึงได้กับการปรับเป็นกองร้อยเรือในปี พ.ศ. 2509[2]
กองร้อยเรือได้รับเรือตรวจการณ์ลำน้ำจำนวนอีก 3 ลำในปี พ.ศ. 2509 เรือที่ได้รับมอบได้รับการตั้งชื่อว่า KDB Bendahara, KDB Maharajalela, และ KDB Kermaindera เรือทั้งหมดมีลูกเรือเป็นชาวบรูไนภายใต้กรบังคับบัญชาโดยนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่ได้รับการคัดเลือก ในปีเดียวกันนั้นเอง กองร้อยเรือได้รับการเสริมความแข็งแกร่งขึ้นด้วยเรือโฮเวอร์คราฟต์แบบ SR.N5 และแบบ SR.N6 ในปี พ.ศ. 2511[3] และในปีเดียวกันได้มีการนำเรือเร็วตรวจการณ์ประจำการและตั้งชื่อว่า KDB Pahlawan และกลายมาเป็นเรือธงลำแรกของกองร้อยเรือ[3]
กองร้อยเรือได้รับการปรับโครงสร้างใหม่เป็น Angkatan Laut Pertama, Askar Melayu DiRaja Brunei (ALP AMDB) แปลว่า กองพันทะเลที่ 1 กรมรอยัลบรูไนมาเลย์ในมาเลย์ (First Sea Battalion, Royal Brunei Malay Regiment in Malay) เป็นอีกเหล่าใหญ่หนึ่งของกรมรอยัลบรูไนมาเลย์ ในช่วงเวลานั้นกองพันทะเลมีกำลังประมาณ 42 นาย รวมนายทหารจำนวน 1 นาย ในขณะที่ยุทโธปกรณ์ประกอบไปด้วย เรือเร็วตรวจการณ์ 1 ลำ เรือตรวจการณ์ลำน้ำ 3 ลำ เรือโฮเวอร์คราฟต์ 2 ลำ เรือเร็วโจมตี 1 ลำ เรือยาวจำนวนหนึ่ง และเรือ Temuai (เรืออะลูมิเนียม)[4]
ในปี พ.ศ. 2514 กองพันทะเลที่ 1 ได้รับเรือลาดตระเวนชายฝั่งอีก 2 ลำ คือเรือ KDB Saleha และ KDB Masna[5] โดยกองพันทะเลได้รับการปรับโครงสร้างอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 เป็นกองทัพเรือบรูไน เนื่องจากการเติบโตของหน่วยงานและการได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร[6]
กรณีพิพาทเรือคอร์เวต เอฟ 2000
แก้กองทัพเรือบรูไนมีเป้าหมายที่จะปรับปรุงกองเรือให้ทันสมัย ด้วยการปรับปรุงฐานทัพเรือมัวราและจัดซื้อเรือคอร์เวตที่ต่อในสหราชอาณาจักรโดยบีเออี ซิสเต็มส์นาวาลชิปส์, สกอตแลนด์ ซึ่งเรือจะติดขีปนาวุธต่อต้านเรือ เอ็มบีดีเอ เอ็กโซเซต์ บล็อก II และขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ เอ็มบีดีเอ ซีวูฟ โดยเซ็นสัญญากับจีอีซี-มาร์โคนีในปี พ.ศ. 2538 ในเดือนมกราคม เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 และเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 ได้มีการปล่อยเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นนาโคดา รากัม ณ อู่ต่อเรือบีเออี ซิสเต็มส์ มารีน เมืองสก๊อตสตูน เรือทั้งสามลำถูกต่อขึ้นจนเสร็จสมบูรณ์ แต่กองทัพเรือปฏิเสธที่จะตรวจรับเรือและระบุว่าเรือที่ต่อขึ้นไม่ตรงตามข้อกำหนดที่กำหนดในสัญญาที่ลงนามกันไว้[7]
กรณีพิพาทดังกล่าวถูกนำเข้าสู่ขั้นตอนของอนุญาโตตุลาการ[8][9] หลังจากข้อพิพาทยุติลง เรือได้ถูกส่งมอบให้กับหน่วยบริการทางเทคนิคบรูไน (Royal Brunei Technical Services) ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550[10] และในปีเดียวกันบรูไนได้เซ็นสัญญากับอู่ต่อเรือเลิร์สเซ่นในเยอรมนีเพื่อหาลูกค้าใหม่ให้กับเรือทั้ง 3 ลำที่ต่อขึ้น ซึ่งเรือได้ถูกนำไปจอดไว้ที่ที่บาร์โรว์อินเฟอร์เนส[11] และถูกซื้อโดยกองทัพเรืออินโดนีเซีย ราคาลำละ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7]
ปัจจุบัน
แก้กองทัพเรือบรูไนมีการซ้อมรบรหัส SEAGULL ซึ่งการฝึก SEAGULL 03-07 จัดขึ้นในประเทศบรูไนระหว่างวันที่ 2-10 กันยายน พ.ศ. 2550 ระหว่างกองทัพเรือบรูไนและกองทัพเรือฟิลิปปินส์ โดยการฝึกซ้อมด้วยรหัสนี้มีการฝึกร่วมกันทุกปีระหว่างสองชาติดังกล่าว[12]
ในปี พ.ศ. 2562 กองทัพเรือบรูไนได้เปิดตัวลายพรางใหม่ของกองทัพเรือคือลายพรางดิจิทัลสีฟ้าแบบ Digital Disruptive Pattern ในงานครบรอง 58 ปีของกองทัพ ณ ค่ายโบลเกียห์[13]
บทบาทหน้าที่และการจัดหน่วย
แก้บทบาทหน้าที่
แก้บทบาทของกองทัพเรือบรูไน ประกอบไปด้วย
- การป้อมปรามการปฏิบัติการโจมตีที่เกิดจากกองกำลังทางทะเล
- คุ้มครองทรัพยากรธรรมชาตินอกชายฝั่งของประเทศ
- รักษาเส้นทางคมนาคมทางทะเล (SLOC)
- เฝ้าระวังเขตเศรษฐกิจจำเพาะในระยะ 200 ไมล์ทะเล (370 กิโลเมตร; 230 ไมล์)
- ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยทางทะเล
- ให้การสนับสนุนการปฏิบัติการของกองทัพบรูไน
- ให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานความมั่นคงอื่น ๆ ตามคำสั่งของกระทรวงกลาโหมบรูไน
การจัดหน่วย
แก้กองทัพเรือบรูไนประกอบไปด้วย 4 หน่วยหลัก ได้แก่[14]
- กองเรือ (Fleet)
- กองบริหาร (Administration)
- กองการฝึก (Training)
- กองส่งกำลังบำรุง (Logistics)
กองบัญชาการ
แก้กองบริหารของกองพันทะเลที่ 1 ได้ย้ายไปยังฐานทัพแห่งใหม่ที่ จาลัน ตันจง เปลุมปง เขตบรูไน-มัวรา ในปี พ.ศ. 2517 ฐานนี้รู้จักกันในชื่อ ฐานทัพเรือมัวรา ซึ่งเป็นกองบัญชาการหลักของกองทัพเรือบรูไน ฐานได้รับการปรับปรุงและขยายในปี พ.ศ. 2540 เพื่อเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนเรือสนับสนุนกิจการนอกชายฝั่ง (OSV) จำนวน 3 ลำ[15] ฐานทัพเรือมัวราต้อนรับการมาเยือนจากเรือรบต่างประเทศบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเรือจากกองทัพเรือสหราชอาณาจักร บางครั้งกองลูกเสือของบรูไน Persekutuan Pengakap Negara Brunei Darussalam มักจะเข้าไปทำกิจกรรมในฐานทัพบางเวลา
ผู้บัญชาการ
แก้ลำดับ | ภาพ | ชื่อ
(เกิด–เสียชีวิต) |
สมัยดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง | ||
---|---|---|---|---|---|---|
เข้ารับตำแหน่ง | ออกจากตำแหน่ง | ระยะเวลา | ||||
1 | พลตรี Ibnu Ba'asith Apong |
2508 | 2509 | 1 ปี | [16] | |
2 | นาวาเอก Kelfi Razali |
22 เมษายน 2526 | 30 กันยายน 2529 | 3 ปี 222 วัน | [17] | |
3 | นาวาโท Noeh Abdul Hamid (died 1988) |
30 กันยายน 2529 | 30 ธันวาคม 2531 | 2 ปี 91 วัน | [18] | |
4 | นาวาโท Shahri Mohammad Ali |
30 ธันวาคม 2531 | 1 พฤศจิกายน 2534 | 2 ปี 306 วัน | [19] | |
5 | นาวาโท Abdul Latif Damit (1950–?) |
1 พฤศจิกายน 2534 | 25 มิถุนายน 2536 | 1 ปี 236 วัน | [20] | |
(2) | นาวาเอก Kelfi Razali |
25 มิถุนายน 2536 | 3 กุมภาพันธ์ 2538 | 1 ปี 223 วัน | [17] | |
6 | นาวาเอก Abdul Jalil Ahmad |
5 กุมภาพันธ์ 2538 | 13 มิถุนายน 2545 | 7 ปี 128 วัน | [21] | |
7 | นาวาเอก Joharie Matussin |
13 มิถุนายน 2545 | 16 พฤษภาคม 2551 | 5 ปี 338 วัน | [22] | |
8 | พลเรือเอก Abdul Halim (born 1965) |
16 พฤษภาคม 2551 | 28 กุมภาพันธ์ 2557 | 5 ปี 288 วัน | [23] | |
9 | พลเรือเอก Abdul Aziz (born 1966) |
28 กุมภาพันธ์ 2557 | 13 มีนาคม 2558 | 1 ปี 13 วัน | [24] | |
10 | พลเรือเอก Norazmi Muhammad |
13 มีนาคม 2558 | 19 เมษายน 2562 | 4 ปี 37 วัน | [25] | |
11 | พลเรือเอก Othman Suhaili (born 1970) |
19 เมษายน 2562 | 31 ธันวาคม 2563 | 1 ปี 256 วัน | [26] | |
12 | พลเรือเอก Spry Serudi |
31 ธันวาคม 2563 | 30 ธันวาคม 2565 | 1 ปี 364 วัน | [27] | |
– | นาวาเอก Sarif Pudin Matserudin รักษาการ |
30 ธันวาคม 2565 | อยู่ในตำแหน่ง | 1 ปี 301 วัน | [28] |
โครงสร้างชั้นยศ
แก้นายทหารชั้นสัญญาบัตร
แก้เครื่องหมายยศของนายทหารชั้นสัญญาบัตร
กลุ่มชั้นยศ | นายพล / นายทหารชั้นนายพล | นายทหารสัญญาบัตรอาวุโส | นายทหารสัญญาบัตร | นักเรียนนายร้อย | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กองทัพเรือบรูไน[29] |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Laksamana armada | Laksamana | Laksamana madya | Laksamana muda | Laksamana pertama | Kepten | Komander | Leftenan komander | Leftenan | Leftenan madya | Leftenan muda | Pegawai kadet | |||||||||||||||||||||||||
จอมพลเรือ | พลเรือเอก | พลเรือโท | พลเรือตรี | นาวาเอกพิเศษ | นาวาเอก | นาวาโท | นาวาตรี | เรือเอก | เรือโท | เรือตรี | นักเรียนนายร้อย | |||||||||||||||||||||||||
Admiral of the Fleet | Admiral | Vice Admiral | Rear admiral | Commodore | Captain (naval) | Commander | Lieutenant commander | Lieutenant (navy) | Second lieutenant | Lieutenant (junior grade) | Officer cadet |
นายทหารชั้นประทวน
แก้เครื่องหมายยศของนายทหารชั้นประทวน และพลอาสาสมัคร
กลุ่มชั้นยศ | นายทหารประทวนอาวุโส | นายทหารประทวน | พลสมัคร และพลทหาร | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กองทัพเรือบรูไน[29] |
|
ไม่มีเครื่องหมายยศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
Sarjan Mejar (Jawatan) |
Pegawai Waran 1 | Pegawai Waran 2 | Bintara Kanan | Bintara | Laskar Kanan | Laskar Muda | Prebet/Soldadu | |||||||||||||||||||||||||||||
พันจ่าเอกพิเศษ | พันจ่าเอก | พันจ่าโท | พันจ่าตรี | จ่าเอก | จ่าโท | จ่าตรี | พลทหาร | |||||||||||||||||||||||||||||
Sergeant major | Warrant officer | Warrant officer | Chief petty officer | Petty officer | Leading Seaman | Able Seaman | Private |
ยุทโธปกรณ์
แก้กองเรือปัจจุบันของกองทัพเรือบรูไนมีดังนี้:[30][31]
ชั้นหรือชื่อ | ภาพ | ผู้สร้าง | แบบ | ปีเข้าประจำการ | รายละเอียด | เรือ |
---|---|---|---|---|---|---|
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง | ||||||
ชั้น Darussalam[32] | Lürssen Werft, เบรเมน-เวเกแซค, เยอรมนี | เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง | 2554–2557 | OPV สั่งจาก Lürssen Werft ความยาว 80 เมตร (262 ฟุต) อาวุธยุทโธปกรณ์:
|
06 Darussalam 07 Darulehsan 08 Darulaman 09 Daruttaqwa | |
เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง | ||||||
ชั้น Ijtihad[33] | Lürssen Werft, เบรเมน-เวเกแซค, เยอรมนี | เรือตรวจการณ์ | 2553 | PV สั่งจาก Lürssen Werft ความยาว 41 เมตร (135 ฟุต) อาวุธยุทโธปกรณ์:
|
17 Itjihad 18 Berkat 19 Syafaat 20 Afiat | |
ชั้น Fearless | ST Engineering, สิงคโปร์ | เรือตรวจการณ์ | - | เดิมประจำการในกองทัพเรือสิงคโปร์ ต่อมามอบให้บรูไนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566[34]
อาวุธยุทโธปกรณ์:
|
As-Siddiq Al-Faruq | |
เรือเร็วโจมตี | ||||||
ชั้น Mustaed[35] | Marinteknik Shipyard ทัส, สิงคโปร์ | เรือเร็วโจมตี | 2554 | FAC ใช้การออกแบบของ Lürssen Werft FIB25-012 สร้างขึ้นในสิงคโปร์ ความยาว 27 เมตร (89 ฟุต) อาวุธยุทโธปกรณ์:
|
21 Mustaed | |
ชั้น Waspada[36] | Vosper Thornycroft, สิงคโปร์ | เรือเร็วโจมตี | 2521–2522 | FAC สั่งจาก Vosper Thornycroft ความยาว 37 เมตร (121 ฟุต) รวมทั้งหมด 3 ลำ ปลดประจำการเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 มี 1 ลำที่ประจำการในบรูไน และ 2 ลำบริจาคให้อินโดนีเซียในชื่อ KRI Salawaku (642) และ KRI Badau (643) อาวุธยุทโธปกรณ์:
|
P02 Waspada | |
เรือระบายพล | ||||||
ชั้น Serasa | Transfield Shipbuilding, เฮนเดอร์สัน, ออสเตรเลีย | เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก (LCM) |
2539 | อาวุธยุทโธปกรณ์:
|
L33 Serasa L34 Teraban | |
ชั้น Damuan | Cheverton Workboats, คาวส์, อังกฤษ | เรือระบายพลทั่วไป | 2519–2520 | ไม่มีอาวุธ บรรทุกสินค้าได้ 30 ตัน | L32 Puni | |
เรือสนับสนุน | ||||||
– | Cheverton Boatworks, คาวส์, อังกฤษ | เรือบด | 2525 | ใช้เป็นเรือลากจูงและเรือพี่เลี้ยงนักดำน้ำ | Burong Nuri |
อื่น ๆ
แก้เรือที่ใช้ในการลาดตระเวนในลำน้ำ
- 01 Aman
- 02 Damai
- 04 Sentosa
- 06 Sejahteru
นอกจากนี้กระทรวงประงและอุตสาหกรรม / ทรัพยากรปฐมภูมิได้ใช้งานเรือลาดตระเวนความยาว 16 เมตร (52 ฟุต) ซึ่งต่อที่ Syarikat Cheoy Lee Shipyards และได้รับมอบในปี พ.ศ. 2545
การฝึกและซ้อมรบร่วม
แก้กองงทัพเรือบรูไนและกองทัพเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์มีความร่วมมือกันผ่านการฝึกซ้อมร่วมเป็นประจำทุกปี ภายใต้ชื่อรหัสว่า Exercise Pelican นอกจากนี้นายทหารและทหารของกองทัพเรือบรูไนได้ถูกส่งไปรับการฝึกขั้นสูงจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งปกติจะเป็นออสเตรเลีย บราซิล มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐ[37]
ระเบียงภาพ
แก้-
นักดำน้ำของกองทัพเรือบรูไนถูกหย่อนลงจากเรือกู้ภัย ยูเอสเอ็นเอส เซฟการ์ด (ARS-50) ระหว่างการฝึกดำน้ำเพื่อสร้างความคุ้นเคยเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2548
-
KDB Nakhoda Ragam (28), KDB Bendahara Sakam (29) และ KDB Jerambak (30) ลอยลำอยู่นอกอ่าว สก๊อตสตูน สกอตแลนด์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2550
-
กองทัพเรือบรูไนยืนแสดงความเคารพในขณะที่เรือ ยูเอสเอส จาร์เรตต์ (FFG-33) เคลื่อนตัวเข้าสู่ท่าเรือมัวรา ประเทศบรูไน ระหว่างการฝึกกะรัต 2007
-
สมาชิกของกองกำลังพิเศษบรูไน รีบมุ่งหน้าไปยังห้องถือท้ายเรือของ ยูเอสเอส ฮาวเวิร์ด (DDG-83) ในระหว่างการฝึกซ้อมการเผชิญเหตุ ขึ้นเรือ และตรวจค้น ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551
-
ยามฝั่งสหรัฐ กำลังฝึกให้กับบุคลากรกองทัพเรือบรูไนบนเรือ ยูเอสเอส ครอมเมลิน (FFG-37) ในระหว่างการฝึกกะรัต 2009
-
กะลาสีเรือของกองทัพเรือบรูไนเฝ้าระวังทางเดินบนเรือ ยูเอสซีจีซี เมลลอน (WHEC-717) ระหว่างการฝึกกะรัต 2010
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Introduction – Royal Brunei Navy – Retrieved 19 April 2007
- ↑ 2.0 2.1 2.2 History – Royal Brunei Navy เก็บถาวร 2007-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
- ↑ 3.0 3.1 History – Royal Brunei Navy, page 2 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
- ↑ History – Royal Brunei Navy, page 3 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
- ↑ History – Royal Brunei Navy, page 4 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
- ↑ History – Royal Brunei Navy, page 5 เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
- ↑ 7.0 7.1 "อิเหนาทุ่มหนักซื้อเรือรบอีก 3 ลำ จรวดชุดบราซิล ปืนใหญ่ฝรั่งเศส". mgronline.com. 2012-11-10.
- ↑ Brunei and BAE Systems dispute ship acceptance Jane's 26 April 2005 – Retrieved 19 April 2007
- ↑ BAE Systems, Brunei OPV dispute nears resolution Jane's 8 September 2006 – Retrieved 19 April 2007
- ↑ "Shipyard deadlock ends". Ships Monthly. September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2007. สืบค้นเมื่อ 26 December 2007.
- ↑ Story by ocnus.net
- ↑ Philippine Fleet Official Website. Exercise SEAGULL 03-07.
- ↑ "RBAF debuts new military uniforms | Borneo Bulletin Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2022.
- ↑ Organisation – Royal Brunei Navy เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
- ↑ page 15 GHD Annual Review 2002/2003 เก็บถาวร 9 สิงหาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "1st Commander". Royal Brunei Navy.
- ↑ 17.0 17.1 "2nd Commander". Royal Brunei Navy.
- ↑ "3rd Commander". Royal Brunei Navy.
- ↑ "4th Commander". Royal Brunei Navy.
- ↑ "5th Commander". Royal Brunei Navy.
- ↑ "6th Commander". Royal Brunei Navy.
- ↑ Samudera, Warta (2008-07-09). "Warta Samudera 002: TENTERA LAUT DIRAJA BRUNEI MEMPUNYAI PEMERINTAH YANG BARU". Warta Samudera 002. สืบค้นเมื่อ 2023-04-13.
- ↑ "8th Commander". Royal Brunei Navy.
- ↑ "9th Commander". Royal Brunei Navy.
- ↑ "10th Commander". Royal Brunei Navy.
- ↑ "11th Commander". Royal Brunei Navy.
- ↑ "FAREWELL PARADE CEREMONY FOR THE COMMANDER OF ROYAL BRUNEI NAVY". Royal Brunei Armed Forces.
- ↑ "Commander". Royal Brunei Navy.
- ↑ Fleet – Royal Brunei Navy เก็บถาวร 2007-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
- ↑ [The Naval Institute Guide to Combat Fleets of the World – Eric Wertheim – 15th Ed. 2007, p66-68]
- ↑ "HRH commissions new ship | the Brunei Times". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 December 2014.
- ↑ "Brunei Navy".
- ↑ "Brunei to induct ex-Singapore Fearless-class patrol boats". Janes.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-03-29.
- ↑ "Royal Burnei Navy commissions fast interceptor boat KDB MUSTAED". 28 November 2011.
- ↑ "Indonesia to get Brunei patrol ships | The Brunei Times". bt.com.bn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-04.
- ↑ Training – Royal Brunei Navy เก็บถาวร 2007-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Retrieved 19 April 2007
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Royal Brunei Navy