เรืออากาศโท
เรืออากาศโท[1] (อังกฤษ: flying officer ตัวย่อ ร.ท.;Fg Off ในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรและอินเดีย FLGOFF ในกองทัพอากาศออสเตรเลีย; FGOFF ในกองทัพอากาศนิวซีแลนด์; ในอดีตเคยใช้ F/O ในทุกกองทัพอากาศที่ใช้งานคำนี้และยังพบบ่อยในสหราชอาณาจักร) เป็นยศนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่อ่อนอาวุโสในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (RAF)[2] กองทัพอากาศของหลายประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางประวัติศาสตร์จากสหราชอาณาจักร บางครั้งใช้เป็นคำแปลภาษาอังกฤษของยศที่เทียบเท่าในประเทศที่มีโครงสร้างยศเฉพาะตัวของกองทัพอากาศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นยศที่สูงกว่าเรืออากาศตรี และต่ำกว่าเรืออากาศเอก ยศนี้ถูกเริ่มต้นในไทยขึ้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2410 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เรืออากาศโท Flying officer | |
---|---|
เครื่องหมายแขนเสื้อ / ไหล่ นาวาอากาศตรีสหราชอาณาจักร | |
สังกัต | กองทัพอากาศ |
อักษรย่อ | Fg Off / FLGOFF / FGOFF / ร.ท. |
เทียบยศเนโท | OF-1 |
เทียบยศนอกเนโท | O-2 |
สถาปนา | 1 เมษายน 2461 (ทอ.สหราชอาณาจักร) |
ยศที่สูงกว่า | เรืออากาศเอก |
ยศที่ต่ำกว่า | เรืออากาศตรี |
ยศที่คล้ายคลึง |
ยศทหารที่พบทั่วไป | ||
ทหารบก | ทหารเรือ | ทหารอากาศ |
---|---|---|
นายทหารชั้นสัญญาบัตร | ||
พลเอก | พลเรือเอก | พลอากาศเอก |
พลโท | พลเรือโท | พลอากาศโท |
พลตรี | พลเรือตรี | พลอากาศตรี |
พันเอก | นาวาเอก | นาวาอากาศเอก |
พันโท | นาวาโท | นาวาอากาศโท |
พันตรี | นาวาตรี | นาวาอากาศตรี |
ร้อยเอก | เรือเอก | เรืออากาศเอก |
ร้อยโท | เรือโท | เรืออากาศโท |
ร้อยตรี | เรือตรี | เรืออากาศตรี |
นายทหารชั้นประทวน | ||
จ่าสิบเอก | พันจ่าเอก | พันจ่าอากาศเอก |
จ่าสิบโท | พันจ่าโท | พันจ่าอากาศโท |
จ่าสิบตรี | พันจ่าตรี | พันจ่าอากาศตรี |
พลอาสาสมัครและทหารเกณฑ์
| ||
สิบเอก | จ่าเอก | จ่าอากาศเอก |
สิบโท | จ่าโท | จ่าอากาศโท |
สิบตรี | จ่าตรี | จ่าอากาศตรี |
พลทหาร | พลทหารเรือ | พลทหารอากาศ |
ยศนี้เทียบกับระบบรหัสยศของเนโทคือ OF-1 เทียบเท่ายศร้อยโทในกองทัพบกสหราชอาณาจักร หรือราชนาวิกโยธิน[3] แต่มียศเหนือกว่ารองเรือเอก (sub-lieutenant) ในราชนาวี
เรืออากาศโทมียศเทียบเท่าเจ้าหน้าที่ส่วน (section officer) ในกองทัพอากาศหญิงช่วยรบ
ต้นกำเนิด
แก้เดิมกองบินหลวง (Royal Flying Corps) ใช้คำว่า flying officer เป็นชื่อตำแหน่งของนายทหารอ่อนอาวุโส ไม่ใช่ชื่อของยศ
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2461 กองทัพอากาศสหราชอาณาจักรที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่ได้ปรับใช้ระบบยศจากกองทัพบกสหราชอาณาจักร โดยมีเรือโท (sub-lieutenant) จากหน่วยบริการการบินกองทัพเรือ (Royal Naval Air Service) และร้อยโท (lieutenant) จากกองบินหลวง (Royal Flying Corps) ปรับยศเป็นเรือโท (lieutenant) ในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม จากการปรับโครงสร้างยศภายในกองทัพอากาศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2462 เรือโท (lieutenant) จึงปรับมาเป็นคำว่า flying officer[4] หรือคำว่าเรืออากาศโท[1] และใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
การใช้งาน
แก้ชื่อของยศเรืออากาศโทในภาษาอังกฤษคือ flying officer ไม่ได้หมายความถึงนายทหารที่ทำหน้าที่เป็นนักบินโดยเฉพาะ แต่เรืออากาศโทหลายนายเป็นเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน ในบรรดาเหล่าทั้งหมดที่เรืออากาศโทสังกัดอยู่ มีเรืออากาศโทบางนายที่สามารถบังคับการหน่วยบินได้
ในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร เจ้าหน้าที่การบิน (aircrew) และวิศวกร (engineer officer) จะได้รับแต่งตั้งให้ครองยศเรืออากาศโท ในขณะที่เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินจะได้การแต่งตั้งให้ครองยศเป็นเรืออากาศตรี (pilot officer) ในระยะเวลา 6 เดือนแรก ระยะเวลาในการครองยศเรืออากาศโทจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเหล่าที่สังกัดก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเลื่อนยศขึ้นเป็นเรืออากาศเอกโดยอัตโนมัติ เจ้าหน้าที่การบินและนายทหารที่มีคุณวุฒิวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตจะปฏิบัติหน้าที่ระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน นายทหารที่มีคุณวุฒิวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตใช้ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน และนายทหารในเหล่าอื่น ๆ ภาคพื้นดินใช้ระยะเวลา 3 ปี 6 ส่วนผู้ที่จบการศึกษาระดับวิศวกรรมศาตรมหาบัณฑิตแต่ประจำการในหน่วยภาคพื้นดินที่ไม่ใช่ตำแหน่งวิศวกรใช้ระยะเวลา 3 ปี 6 เดือนสำหรับตำแหน่งเรืออากาศโท – การเลื่อนยศในช่วงแรกสำหรับวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตได้รับการออกแบบมาเพื่อจูงใจในการสรรหาบุคลากรเพื่อเข้ามาประจำการ เงินเดือนเริ่มต้นสำหรับเรืออากาศโทของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรคือ 30,616.80 ปอนด์ต่อปี[5]
ในหลายกรณี ยศเรืออากาศโทถือเป็นตำแหน่งแรกของนายทหารอากาศหลังจากการจบการฝึกวิชาชีพ เรืออากาศโทอาจจะทำหน้าที่ในตำแหน่งนักบินในการฝึก ตำแหน่งผู้ช่วย ตำแหน่งนายทหารรักษาความปลอดภัย หรือนายทหารธุรการ โดยปกติจะได้รับมอบหมายให้ดูแลบุคลากร และ/หรือทรัพยากรต่าง ๆ เมื่อนักบินสิ้นสุดการฝึก นักบินจะต้องเข้าประจำการเป็นระยะเวลา 2 ปี 6 เดือนและเข้าร่วมฝูงบินในแนวหน้าในยศเรืออากาศเอก
เครื่องหมายยศ
แก้เครื่องหมายยศประกอบไปด้วยแถบสีน้ำเงินบางหนึ่งแถบบนแถบสีดำที่กว้างกว่าเล็กน้อย สวมบริเวณท่อนล่างของเสื้อคลุมหรือบริเวณไล่ของชุดนักบินหรือเครื่องแบบลำลอง เครื่องหมายยศบนเครื่องแบบราตรีสโมสรมีลักษณะคล้ายกับลายของกองทัพเรือ โดยมีแถบสีทองหนึ่งแถบพันรอบแขนเสื้อตรงข้อมือทั้งสองข้าง แต่ของกองทัพเรือไม่มีเส้นรอบแขน
-
เครื่องหมายบนแขนเสื้อ / ไหล่
-
เครื่องหมายแถบยศบนแขนเสื้อ
-
เครื่องหมายแถบยศแขนเสื้อของเครื่องแบบบริการหมายเลข 1
กองทัพอากาศอื่น
แก้ยศเรืออากาศโทยังมีการใช้ในกองทัพอากาศหลายแห่งในเครือจักรภพ เช่น กองทัพอากาศบังกลาเทศ[6], กองทัพอากาศอินเดีย (IAF)[7], กองทัพอากาศนามิเบีย, กองทัพอากาศปากีสถาน (PAF), กองทัพอากาศออสเตรเลีย (RAAF), กองทัพอากาศไนจีเรีย (NAF) และกองทัพอากาศนิวซีแลนด์ (RNZAF)
กองทัพอากาศแคนาดา (RCAF) ใช้ยศนี้จนกระทั่งการรวมเหล่าทัพทั้งสามรวมกันเป็นกองทัพแคนาดาในปี พ.ศ. 2511 และนำยศของกองทัพบกมาปรับใช้แทน ทำให้นายทหารยศเรืออากาศโทปรับไปเป็นร้อยโท ในการใช้งานอย่างเป็นทางการของฝรั่งเศสแคนาดา (French Canadian) ชื่อของยศเรืออากาศโทคือ lieutenant d'aviation[8] แม้ว่ากองทัพอากาศแคนาดาจะนำมาใช้เป็นชื่อกองทัพอากาศแคนาดาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2554 แต่ก็ยังคงใช้งานระบบยศแบบกองทัพบกเหมือนเดิม
นอกจากนี้ยังมีการใช้งาน นายดาบโท (warrant flying officer) ในกองทัพอากาศจักรวรรดิญี่ปุ่น
ตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับร้อยโทในกองทัพอากาศมาเลเซีย
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "ยศทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ". กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Ranks and Badges of the Royal Air Force". Royal Air Force. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2011.
- ↑ "Armed Forces Act 2001". www.legislation.gov.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2013.
- ↑ Hobart, Malcolm C (2000). Badges and Uniforms of the Royal Air Force. Leo Cooper. p. 26. ISBN 0-85052-739-2.
- ↑ "Rates of Pay, 2015" (PDF). raf.mod.uk. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2016.
- ↑ "BAF RANKS". Bangladesh Air Force Website. BAF Communication Unit. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-11. สืบค้นเมื่อ 13 December 2020.
- ↑ "Officer ranks in Indian Army, Air Force and Navy". India Today. New Delhi. 25 February 2019. สืบค้นเมื่อ 19 December 2020.
- ↑ "The RCAF". www.castlearchdale.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2009. สืบค้นเมื่อ 22 May 2022.