กองทัพอากาศไทย
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
กองทัพอากาศไทย (อักษรย่อ: ทอ., อังกฤษ: Royal Thai Air Force : RTAF) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรก ๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตสายไหม เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน
ประวัติ
แก้แนวความคิดที่ให้มีเครื่องบินใช้ในราชการ ได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อชาวเบลเยี่ยมชื่อ ชาร์ล ว็อง แด็ง บอร์น (Van Den Born) ได้นำเครื่องบินปีก 2 ชั้น แบบอองรี ฟาร์ม็อง 4 (Henry Farman IV) มาแสดงการบินในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ณ สนามม้าสระปทุม เพื่อเป็นการแสดงการบินสู่สายตาประชาชนชาวไทยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) จอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกทรงเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องจัดหาอากาศยานไว้ป้องกันประเทศ จึงทรงดำริจัดตั้งกิจการการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก อยู่ที่สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าสระปทุม) อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน และส่งนายทหารไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 3 นายประกอบด้วย
นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนี สุวรรณประทีป) ต่อมาเป็น พล.อ.ท.พระยาเฉลิมอากาศ นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต ทั้งสามท่านได้เข้าเรียนที่บริษัทนีเออร์ปอร์ต (Nieuport Company) ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2454
หลังจากท่านทั้งสามสำเร็จวิชาการบิน ก็ได้ซื้อเครื่องบิน 2 แบบ 8 ลำ คือ Nieuport และ Breguet แบบละ 4 ลำ โดยระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุมเป็นสนามบิน แต่ด้วยปัญหาบางประการทำให้สนามม้าสระปทุมไม่สามารถรองรับกิจการการบินที่เติบโตขึ้นได้ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบิน มาที่ตำบลดอนเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 และทรงยกฐานะ กิจการบิน เป็น"กองบินทหารบก" ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 ต่อมากระทรวงกลาโหมได้ยึดถือวันนี้เป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"
หลังจากนั้นกิจการการบินได้เติบโตเรื่อยมา โดยกองบินทหารบกได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2460 กับฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ชื่อเสียงและเกียรติภูมิ ของชาติ เป็นที่ยอมรับ และได้รับการยกย่องเป็นอันมาก และในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2461 กองบินทหารบกจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมอากาศยานทหารบก" หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2464 กระทรวงกลาโหมได้พิจารณาเห็นว่า กำลังทางอากาศไม่ได้เป็นกำลังเฉพาะในด้านยุทธศาสตร์ทางทหารเท่านั้น แต่มีประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อกิจการด้านอื่น ๆ อีกด้วย ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2464 จึงได้แก้ไขการเรียกชื่อจาก "กรมอากาศยานทหารบก" เป็น "กรมอากาศยาน" โดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยตรง และในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2478 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมทหารอากาศ" และวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กองทัพอากาศ" มียศและเครื่องแต่งกายเป็นของตนเอง โดยนาวาอากาศเอก พระเวชยันตรังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก จึงถือเอาวันนี้เป็น "วันกองทัพอากาศ" และยกย่องถวายพระเกียรติจอมพล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ว่าเป็น "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" และยกย่องนายทหาร 3 ท่าน ที่ไปเรียนวิชาการบินรุ่นแรกว่าเป็น "บุพการีทหารอากาศ"
กองทัพอากาศได้สร้างวีรกรรมและยุทธเวหาไว้มากมาย โดยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอินโดจีน สามารถสร้างความพรั่นพรึงให้กับอริราชศัตรูของชาติได้อย่างมาก
ปัจจุบัน กองทัพอากาศมีกำลังทางอากาศทั้งสิ้น 12 กองบิน กับ 1โรงเรียนการบิน โดยมีอากาศยานรวมเกือบ 320 ลำ
นอกจากนี้ กองทัพอากาศดอนเมือง ยังเคยเป็นสถานที่แข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 3 อีกด้วย
ภารกิจ
แก้กองทัพอากาศมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพอากาศตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
ส่วนราชการในสังกัดกองทัพอากาศ
แก้กองบัญชาการกองทัพอากาศ
แก้- แผนกสนับสนุนกองบัญชาการกองทัพอากาศ
- ศูนย์อำนวยการเครื่องบินพระราชพาหนะ
- ศูนย์อำนวยการเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ
- ศูนย์การสงครามทางอากาศ
- สำนักงานพัฒนาระบบราชการกองทัพอากาศ
ส่วนบัญชาการ
แก้- สำนักงานเลขานุการกองทัพอากาศ
- กรมสารบรรณทหารอากาศ
- พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
- กรมกำลังพลทหารอากาศ
- กรมข่าวทหารอากาศ
- กรมยุทธการทหารอากาศ
- กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ
- กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
- กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทหารอากาศ
- สำนักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ
- กรมการเงินทหารอากาศ
- กรมจเรทหารอากาศ
- สำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ
- สำนักงานนิรภัยทหารอากาศ
- สำนักงานพระธรรมนูญทหารอากาศ
- ศูนย์ไซเบอร์กองทัพอากาศ
- สำนักงานประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับกองอำนวยการรักษาความั่นคงภายในราชอาณาจักร กองทัพอากาศ
ส่วนกำลังรบ
แก้- กองบิน 1 นครราชสีมา
- ฝูงบิน 102 "Stars"
- ฝูงบิน 103 "Lightning"
- กองบิน 2 ลพบุรี
- ฝูงบิน 201 "Spider"
- ฝูงบิน 202 "Scholar"
- ฝูงบิน 203 "Scorpion"
- สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล "chandy" เก็บถาวร 2012-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กองบิน 3 วัฒนานคร
- ฝูงบิน 301 "Firefox"
- ฝูงบิน 302 "Wolfpack"
- ฝูงบิน 303
- กองบิน 4 ตาคลี นครสวรรค์
- ฝูงบิน 401 "Dragon"
- ฝูงบิน 402 "Focus"
- ฝูงบิน 403 "Cobra"
- กองบิน 5 ประจวบคีรีขันธ์
- ฝูงบิน 501 "Mosquito"
- กองบิน 6 ดอนเมือง
- ฝูงบิน 601 "Lucky"
- ฝูงบิน 602 "Wihok"
- ฝูงบิน 603 "Cowboy"
- ฝูงบิน 604 "Sunny"
- กองบิน 7 สุราษฏร์ธานี
- ฝูงบิน 701 "Shark"
- ฝูงบิน 702 "Orca"
- กองบิน 21 อุบลราชธานี
- ฝูงบิน 211 "Eagle"
- กองบิน 23 อุดรธานี
- ฝูงบิน 231 "Hunter"
- กองบิน 41 เชียงใหม่
- ฝูงบิน 411 "Thunder"
- กองบิน 46 พิษณุโลก
- ฝูงบิน 461 "Vampire"
- กองบิน 56 หาดใหญ่ สงขลา*
- ฝูงบิน 561 "Panther"
- โรงเรียนการบิน กำแพงแสน
- ฝูงฝึกขั้นต้น "Chicken"
- ฝูงฝึกขั้นปลาย "Mustang"
- กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
- หน่วยในระบบป้องกันทางอากาศ
- ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศกรุงเทพ
- ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศสุราษฎร์ธานี
- ศูนย์ควบคุมและรายงานดอยอินทนนท์
- สถานีรายงานเขาเขียว
- สถานีรายงานเขาพนมรุ้ง
- สถานีรายงานภูสิงห์
- สถานีรายงานเขาจาน
- สถานีรายงานบ้านเพ
- สถานีรายงานกาญจนบุรี
- สถานีรายงานภูเขียว
- สถานีรายงานภูหมันขาว
- สถานีรายงานเกาะสมุย
- สถานีรายงานภูเก็ต
- สถานีรายงานหาดใหญ่[2]
- หน่วยในระบบควบคุมทางอากาศยุทธวิธี
- ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ 1 ดอนเมือง
- ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ 2 นครราชสีมา
- ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ 3 พิษณุโลก
- ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ 4 นครศรีธรรมราช
- กองกำลังทางอากาศเฉพาะกิจที่ 9 ปัตตานี
- ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม
- ฝูงบิน 509 หัวหิน***
- ฝูงบิน 106 อู่ตะเภา
- ฝูงบิน 306 ตราด **(กำลังจะมีอากาศยานประจำการเป็นUAVและฐานต่อระยะทำการของUAVกองบิน3ซึ่งเปลี่ยนจากฝูงบิน207เป็นฝูงบิน306)
- ฝูงบิน 237 น้ำพอง**
- ฝูงบิน 236 สกลนคร
- ฝูงบิน 238 นครพนม
- ฝูงบิน 466 น่าน
- ฝูงบิน 416 เชียงราย
- หน่วยในระบบป้องกันทางอากาศ
- หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน
- ศูนย์การทหารอากาศโยธิน
- กรมทหารอากาศโยธิน รักษาพระองค์
- กรมทหารต่อสู้อากาศยาน รักษาพระองค์
- กรมปฏิบัติการพิเศษ
- กองดุริยางค์ทหารอากาศ
- ศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศกองทัพอากาศ
หมายเหตุ
(*) = ฐานบินปฏิบัติการส่วนหน้า ไม่มีอากาศยานบรรจุถาวร
(**) = ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามและสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศ
(***) = ฝูงบินอิสระปฏิบัติภารกิจพิเศษและหน่วยบินเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ
(****)กำลังจะมีอากาศยานประจำการหรือเป็นฐานต่อระยะทำการ
ส่วนส่งกำลังบำรุง
แก้- กรมช่างอากาศ ตั้งอยู่ถนนประดิพัทธ์ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
- กรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
- สถานีวิทยุกระจายเสียงทหารอากาศ (สนว.กจ.ทอ.)
- สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพอากาศ (AFCTV หรือ Air Force Channel TV.)
- กรมสรรพาวุธทหารอากาศ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
- กรมแพทย์ทหารอากาศ
- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร
- โรงพยาบาลจันทรุเบกษา ตั้งอยู่ตำบลกระตีบ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
- โรงพยาบาลทหารอากาศ(สีกัน) ตั้งอยู่ถนนเดชะตุงคะ แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
- กรมพลาธิการทหารอากาศ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
- กรมช่างโยธาทหารอากาศ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
- กรมขนส่งทหารอากาศ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์ซอฟต์แวร์กองทัพอากาศ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
ส่วนการศึกษา
แก้- โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ตั้งอยู่ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
- กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
- วิทยาลัยการทัพอากาศ
- โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
- โรงเรียนนายทหารอากาศอาวุโส
- โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง
- โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับหมวด
- โรงเรียนครูทหาร
- โรงเรียนนายทหารชั้นประทวน
- โรงเรียนจ่าอากาศ ตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
- ศูนย์ภาษา
- ศูนย์ทดสอบบุคคล
ส่วนกิจการพิเศษ
แก้- ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ
- กรมสวัสดิการทหารอากาศ
- สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง (สน.ผบ.ดม.)
- สถาบันเวชศาสตร์การบินกองทัพอากาศ
อากาศยานในประจำการ
แก้เครื่องบินขับไล่และโจมตี | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Lockheed Martin | สหรัฐ | ขับไล่/โจมตี | F-16A/B บล็อค 15 ADF F-16A/B บล็อค 15 OCU F-16AM/BM บล็อค 20 MLU |
11/1 12/6 12/6 |
ติดมิสไซล์ AIM-9 Sidewinder และ AIM-120 AMRAAM | 103 403 | ||
Saab | สวีเดน | พหุภารกิจ | JAS 39C/D | 11 (-1)
(+12) |
ติดมิสไซล์ IRIS-T, AIM-120 AMRAAM และ Meteor กำลังอัพเกรด จะเสร็จทุกลำในปี 2025 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2567 ได้มีการประกาศคัดเลือก รุ่น E/F จำนวนประมาณ 12 ถึง 14 ลำ[3]เพื่อทดแทน F-16A/B ฝูงบิน 102 ที่ใกล้ปลดประจำการ |
701
102 | ||
Northrop | สหรัฐ | ขับไล่/โจมตี | F-5TH Super Tigris | 13 | สามารถติดมิสไซล์ IRIS-T และ Python 5 | 211 | ||
เครื่องบินโจมตีและฝึก | ||||||||
Korea Aerospace Industries | เกาหลีใต้ | ฝึกขับไล่/โจมตี | T-50TH | 14 | สามารถติดมิสไซล์ AIM-9M Sidewinder | 401 | ||
Dornier | เยอรมนี | โจมตีเบา | Alpha Jet A | 18 | อัพเกรดแล้วเมื่อปี 2023 | 231 | ||
Textron Aviation | สหรัฐ | โจมตีเบา | AT-6TH | 2 (+6) | รอผลิตและส่งมอบ
เริ่มทยอยส่งมอบเเล้ว2ลำ |
411 | ||
เครื่องบินฝึก | ||||||||
Textron Aviation | สหรัฐ | ฝึกโจมตี | T-6TH | 12 | รร.การบิน | |||
Pacific Aerospace | นิวซีแลนด์ | ฝึกบิน | CT-4A/E | 50 | 206 รร.การบิน | |||
เซสนา | สหรัฐ | ฝึกบิน | T-41D | 36 | 604 | |||
Diamond Aircraft Industries | ออสเตรีย | ฝึกบินและลาดตระเวน |
|
|
DA-42MPP จัดซื้อจำนวน 2 เครื่องสำหรับภารกิจลาดตระเวนถ่ายภาพ | 402 | ||
กองทัพอากาศไทย | ไทย | ฝึกบิน | บ.ชอ.2 | 1 | พัฒนาโดยกรมช่างอากาศ | |||
กองทัพอากาศไทย | ไทย | ฝึกบิน | ทอ.6 | 3 (+25) | พัฒนาโดย กรมช่างอากาศ | |||
เครื่องบินตรวจการณ์ | ||||||||
Saab | สวีเดน | เตือนภัยล่วงหน้าและควบคุมทางอากาศ | S-100B Argus | 2 |
|
702 | ||
พีลาตัส แอร์คราฟ | สวิตเซอร์แลนด์ | โจมตีเบา/เอนกประสงค์ | AU-23A | 14 |
|
501 | ||
Aeronautics Defense Systems | อิสราเอล | อากาศยานไร้คนขับ | Aerostar | 22 (+4) | เข้าประจำการในปี 2554 โดยเพิ่มคุณลักษณะพิเศษ |
| ||
G-Force Composite | ไทย | อากาศยานไร้คนขับ | Tigershark II | 2 | อยู่ในขั้นตอนการวิจัย | |||
Aeronautics Defense System | อิสราเอล | อากาศยานไร้คนขับ | Dominator XP | 3 | ||||
เครื่องบินลำเลียง | ||||||||
ซ้าบ | สวีเดน | ลำเลียงระยะสั้น | 340B | 2 | 702 | |||
Lockheed Martin | สหรัฐ | ลำเลียงทางยุทธวิธี | C-130H-30 | 12 | มีแผนปรับปรุง Center Wing Box (CWB) แบบใหม่ | 601 | ||
Basler Turbo Conversions | สหรัฐ | ลำเลียงทางยุทธวิธี | Basler BT-67 | 3 | 461 | |||
ATR | ฝรั่งเศส | รับส่งบุคคลสำคัญ | ATR-72-500 | 3 (รุ่น 500)
6 (รุ่น 600) |
|
603 | ||
Sukhoi | รัสเซีย | รับส่งบุคคลสำคัญ | Superjet 100LR | 2 | 603 | |||
Boeing | สหรัฐ | เครื่องบินพระที่นั่งสำรอง รับส่งบุคคลสำคัญ |
B737-4Z6 | 1 | 602 | |||
Boeing | สหรัฐ | เครื่องบินพระที่นั่งใน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ |
B737-8Z6 (B737-800) | 2 | 602 | |||
Airbus | สหภาพยุโรป | เครื่องบินพระที่นั่งสำรอง | A-319-115X CJ | 1 | 602 | |||
Airbus | สหภาพยุโรป | เครื่องบินพระที่นั่งสำรอง
รับส่งบุคคลสำคัญ |
A340-500 | 1 | 602 | |||
Airbus | สหภาพยุโรป | รับส่งบุคคลสำคัญ | ACJ320 | 2 | 602 | |||
เฮลิคอปเตอร์ | ||||||||
Sikorsky Aircraft | สหรัฐ | รับส่งบุคคลสำคัญ | S-70I | 5 | 201 | |||
Sikorsky Aircraft | สหรัฐ | รับส่งบุคคลสำคัญ | S-92A | 5 | 201 | |||
Airbus Helicopter | เยอรมนี | ฝึกนักบิน ฮ.ขั้นต้น | EC-135 T3H | 6 | 202 | |||
Bell Helicopter | แคนาดา | รับส่งบุคคลสำคัญ | 412SPHPEP | 2
2 1 7 |
202 | |||
Airbus Helicopters | สหภาพยุโรป | เฮลิคอปเตอร์เอนกประสงค์ ค้นหาและช่วยชีวิต |
EC-725 (H225M) | 12 | 203 |
อาวุธ
แก้อากาศยานที่ปลดประจำการ
แก้RTAF Designator |
อากาศยาน ประเภท |
ประเทศ | ระยะเวลาใช้งาน | จำนวน | รายละเอียด |
Siamese Flying Corps and Royal Siamese Air Service | |||||
n/a | Nieuport II & IV | ฝรั่งเศส | 1913-? | 4 | first SFC/RSAS/RSAF aircraft |
n/a | Breguet III | ฝรั่งเศส | 1913-? | 5 | first SFC/RSAS/RSAF aircraft |
เครื่องบินโจมตี | |||||
B.J1 | Vought V-93S Corsair | สหรัฐ | 1934-1950 | 112 | Locally built. First RTAF combat[comments 1] |
B.J2 | Mitsubishi Ki-30 | ญี่ปุ่น | 1940-1951 | 24 | |
B.J3 | Curtiss SB2C-5 Helldiver | สหรัฐ | 1951-1955 | 6 | Ex-Royal Thai Navy |
B.J4 | Fairey Firefly FR.1 & T.2 | สหราชอาณาจักร | 1951-1955 | 12 | Also used for target towing |
B.J5 | Rockwell OV-10C Bronco | สหรัฐ | 1971-2004 | 32 | Some donated to Philippine Air Force |
B.J6 | Cessna A-37 | สหรัฐ | 1972-1994 | 20 | |
B.J7 | L-39ZA/ART | เชโกสโลวาเกีย | 1994-2021 | 39 | |
เครื่องบินทิ้งระเบิด | |||||
B.Th1 | Breguet 14 | ฝรั่งเศส | 1919-1937 | 40+ | First RSAS/RSAF bomber, built locally |
B.Th2 | Boripatra | สยาม | 1927-1940 | 4+ | First Siamese aircraft design - by RSAF |
B.Th3 | Martin 139WSM & 166 | สหรัฐ | 1937-1949 | 15 | Included 6 ex-Dutch 166s |
B.Th4 | Mitsubishi Ki-21 | ญี่ปุ่น | 1940-1949 | 9 | |
เครื่องบินฝึกพลเรือน | |||||
B.Ph1 | Cessna 150 | สหรัฐ | 1971-2004 | 6 | |
เครื่องบินคมนาคม | |||||
B.S1 | Fairchild 24 | สหรัฐ | 1938-1950 | 13 ca. | |
B.S2 | Rearwin 9000 | สหรัฐ | 1938-1947 | 2 | |
B.S3 | Piper L-4 Cub/Piper PA-11 | สหรัฐ | 1947-1962 | 44 | PA-11 often confused for Super Cub. |
B.S4 | Stinson L-5 & L-5B | สหรัฐ | 1947-1959 | 10 | |
B.S5 | Beechcraft Bonanza | สหรัฐ | 1951-1962 | 3 | Ex-Royal Thai Navy examples |
B.S6 | Grumman Widgeon | สหรัฐ | 1951-1956 | 5 | |
B.S7 | Cessna 170B | สหรัฐ | 1954-1959 | 9 | |
เครื่องบินขับไล่ | |||||
B.Kh1 | Nieuport 17 & Nieuport 21 | ฝรั่งเศส | 1918-1927 | 4+ | |
B.Kh2 | Nieuport 24bis | ฝรั่งเศส | 1918-1932 | 12+ | |
B.Kh3 | SPAD VII & SPAD XIII | ฝรั่งเศส | 1919-1931 | 33 | |
B.Kh4 | Nieuport-Delage NiD 29 | ฝรั่งเศส | 1923-1936 | 52 | 2 pattern aircraft bought, built locally |
B.Kh5 | ประชาธิปก | สยาม | 1929-? | 1 | First fighter built in Siam & designed by RSAF. |
B.Kh6 | Bristol Bulldog | สหราชอาณาจักร | 1930-1940 | 2 | For comparison testing |
B.Kh7 | Boeing 100 | สหรัฐ | 1931-1949 | 2 | For comparison testing |
B.Kh8 | Heinkel HD 43 | ไรช์เยอรมัน | 1930-1940 | 1 | For comparison testing |
B.Kh9 | Curtiss Hawk II | สหรัฐ | 1934-1949 | 12 | |
B.Kh10 | Curtiss Hawk III | สหรัฐ | 1935-1949 | 74 | First RTAF fighter in combat[comments 2] |
B.Kh11 | Curtiss Hawk 75N | สหรัฐ | 1939-1949 | 12 | Order 25 get 12 |
B.Kh12 | Nakajima Ki-27b | ญี่ปุ่น | 1942-1945 | 12 | Epic fight against USAAF[comments 3][4] |
B.Kh13 | Nakajima Ki-43 | ญี่ปุ่น | 1943-1949 | 24 | Downed 1 USAAF B-29 |
B.Kh14 | Supermarine Spitfire FR.14/PR.19 | สหราชอาณาจักร | 1951-1955 | 34 | |
B.Kh15 | Grumman F8F-1 Bearcat | สหรัฐ | 1951-1963 | 207 | Most numerous fighter |
B.Kh16 | Republic F-84G Thunderjet | สหรัฐ | 1956-1963 | 31 | first jet fighter |
B.Kh17 | North American F-86F/L Sabre | สหรัฐ | 1961-1972 | 74 | First RTAF swept-wing fighter. Replaced by F-5 |
B.Kh18 | Northrop F-5A/B/C | สหรัฐ | 1966-2008 | 25 | First RTAF supersonic fighter. Its derivatives, F-5E/F/T still in service. |
เครื่องร่อน | |||||
B.R1 | Hoffman H-36 Dimona | ออสเตรีย | 1983-1994 | 10 ca. | powered motor glider |
B.R2 | Grob G 109 | เยอรมนี | 1989-1994 | 2 | powered motor glider |
เฮลิคอปเตอร์ | |||||
B.H1 | Sikorsky H-5/S-51 | สหรัฐ | 1950-1954 | 4 | |
B.H2 | Hiller 360/UH-12 | สหรัฐ | 1950-1952 | 5 | |
B.H3 | Sikorsky S-55/H-19 | สหรัฐ | 1954-1965 | 11 | |
B.H4 | Sikorsky S-58/S-58T/H-34 | สหรัฐ | 1962-2003 | 82 | |
B.H5 | Kaman HH-43 Huskie | สหรัฐ | 1969-1972 | 4 | |
B.H6 | Bell 212/UH-1N | สหรัฐ | 1976-1999 | 2 | |
B.H7 | Bell 47/OH-13H | สหรัฐ | 1972-1973 | 9 | |
B.H8 | Bell 206B-3 Jet Ranger | สหรัฐ | 1995-2006 | 6 | |
B.H9 | Eurocopter AS332L-2 Super Puma | ฝรั่งเศส | 1996-2002 | 3 | |
เครื่องบินทำแผนที่ | |||||
B.PhTh1 | Cessna 411 | สหรัฐ | 1982-1989 | 2 | |
B.PhTh2 | Beechcraft Queen Air | สหรัฐ | 1971-1989 | 3 | |
B.PhTh4 | Aero Commander 690 | สหรัฐ | 1982-1988 | 1 | |
เฮลิคอปเตอร์ทำแผนที่ | |||||
B.HPhT1 | Bell 206B | สหรัฐ | 1982-1987 | 1 | ex-Thai Army |
B.HPhT | Kawasaki KH-4 | ญี่ปุ่น | 1982-1985 | 1 | ex-Thai Army. Development of Bell 47 |
เครื่องบินลาดตระเวน | |||||
B.T1 | Percival Prince | สหราชอาณาจักร | 1952-1962 | 1 | |
B.T2 | Cessna O-1 Bird Dog | สหรัฐ | 1967-1990 | 54 | |
เครื่องบินฝึก | |||||
B.F1 | Nieuport 80 | ฝรั่งเศส | 1918-1935 | 12 ca. | Trainer Nieuport 12, aka Nieuport 23 for wing area |
B.F2 | Nieuport 83 | ฝรั่งเศส | 1918-1935 | 12 ca. | Trainer Nieuport 10, aka Nieuport 18 for wing area |
B.F3 | Consolidated PT-1 | สหรัฐ | 1928-1939 | 4 | |
B.F4 | Avro 504N | สหราชอาณาจักร | 1930-1948 | 70+ | 50+ built locally |
B.F5 | Vought V-93S Corsair | สหรัฐ | 1939-1949 | 10+ | Modified |
B.F6 | Tachikawa Ki-55 | ญี่ปุ่น | 1942-1950 | 24 | |
B.F7 | Miles Magister | สหราชอาณาจักร | 1947-1952 | 20 | |
B.F8 | North American T-6 Texan | สหรัฐ | 1948-1974 | 220 | |
B.F9 | DHC Chipmunk | แคนาดา | 1950-1989 | 66 | |
B.F10 | de Havilland DH.82A Tiger Moth | สหราชอาณาจักร | 1951-1961 | 34 | |
B.F11 | Lockheed T-33A/RT-33A | สหรัฐ | 1955-1996 | 54 | First jet trainer, also first jet aircraft |
B.F12 | Cessna T-37B/C Tweet | สหรัฐ | 1961-1996 | 22 | Jet trainer |
B.F13 | North American T-28D | สหรัฐ | 1962-1988 | 120 | |
B.F15 | Aermacchi SF.260 | อิตาลี | 1973-1999 | 18 | Royal Thai Air Force get broadcasting technology was RTAF-2 |
B.F17 | RTAF-4 Chantra | ไทย | 1974-1989 | 13 ca. | locally built ab-initio trainer |
B.F18 | RFB Fantrainer 400 & 600 | เยอรมนี | 1988-1994 | 26 | basic trainer for F-5 lead in |
เครื่องบินขนส่ง | |||||
B.L1 | Beechcraft C-45B/F | สหรัฐ | 1947-1971 | 7 | First transport |
B.L2 | Douglas C-47 & EC-47D | สหรัฐ | 1947-1997 | 55 | B.L2k Basler BT-67 still in service |
B.L3 | Douglas C-54/DC-4 | สหรัฐ | 1959-1966 | 2 | |
B.L4 | Fairchild C-123B/K | สหรัฐ | 1964-1995 | 46 | |
B.L10 | Douglas DC-8-62 | สหรัฐ | 1982-1989 | 3 | |
B.L14 | Aeritalia G.222 | อิตาลี | |||
เครื่องบินหลากประโยชน์ | |||||
B.Th1 | Helio Courier | สหรัฐ | 1963-1986 | 20 |
อาวุธ
แก้ประจำการ
แก้ประเภท | ประเทศต้นกำเนิด | บทบาท | จำนวน | แผนการ |
จรวดอากาศสู่อากาศ | ||||
ไอริส-ที | เยอรมนี | SRAAM (ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศระยะสั้น) | 50 | Gripen Deal |
มีทีเออร์ | สหภาพยุโรป | BVRAAM ในอนาคต | Gripen Deal (Future) | |
เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ | สหรัฐ | SRAAM (ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศระยะสั้น) | 100 | PEACE NARESUAN |
เอไอเอ็ม-120C5/C7 แอมแรม | สหรัฐ | BVRAAM | 50 | Delivered. |
ไพธอน-4 | อิสราเอล | AAM | 46 | |
จรวจอากาศสู่พื้น/จรวด/ระเบิด | ||||
GBU-10/-12/-22 Paveway II[ต้องการอ้างอิง] | สหรัฐ | Laser-Guided Bomb | 300 | |
GBU-31(V)1/B JDAM | สหรัฐ | GPS/INS Guided Bomb | 100 | |
GBU-38/B JDAM | สหรัฐ | GPS/INS Guided Bomb | 200 | |
GBU-54/B JDAM | สหรัฐ | GPS/INS/Laser-Guided Bomb | 200 | |
เอจีเอ็ม-65B/D/G มาเวอร์ริก | สหรัฐ | Air-to-Ground Missile | 100 | |
Mk 81/Mk82/Mk84 | สหรัฐ | 500/1000/2000 pound general purpose bombs | 3,000 | |
อาร์บีเอส-15F Mk.2 | สวีเดน | (200 kg) Anti-ship missile | 15) | Gripen Deal |
จรวดพื้นสู่อากาศ (ป้องกัน) | ||||
Oerlikon ADATS | สวิตเซอร์แลนด์ | laser-guided supersonic missile | 94 | Fixed emplacement/semi-mobile |
Saab Bofors Dynamics RBS 70 Mk.2 | สวีเดน | Man-portable air-defence system (MANPAD) | 53 | |
QW-2 Vanguard II | จีน | Man-portable air-defence system (MANPAD) | 80 | |
Rheinmetall Mauser Mk.30 mod.F | เยอรมนี | 168 | ||
Bofors 40mm L/70 | สวีเดน | 40mm L/70 | 45 | |
Type 74 | จีน | Twin 37mm Anti Aircraft Artillery | 30 | |
KS-1 | จีน | SAM Anti Aircraft Artillery | 4 | |
อาวุธภาคพื้นดิน | ||||
Cadillac Gage V150 Commando | สหรัฐ | 4x4 amphibious armored car | 12 | With 12.7mm and 7.62mm MG |
Rheinmetall Condor | เยอรมนี | 4x4 amphibious armored car | 19 | With 20mm and 7.62mm MG |
การพัฒนาในอนาคต
แก้- RTAF-6 – เครื่องบินฝึก โดย อุตสาหกรรมการบินไทย
- Tigershark II – อากาศยานไร้คนขับ โดย G-Force Composite
- วิจัยจรวดอากาศสู่อากาศ โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
- วิจัยจรวดร่อนโจมตีภาคพื้นและโจมตีเรือ โดย สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
- RTAF-U1M อากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ
เครื่องหมายอากาศยาน
แก้สัญลักษณ์อากาศยาน
แก้2462 — 2483 2488 — ปัจจุบัน |
2483 — 2484 | 2484 — 2488 |
---|
สัญลักษณ์หางอากาศยาน
แก้2462 — 2484 2488 — ปัจจุบัน |
2484 — 2488 |
---|
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Japanese use of Type 45 Siamese Mauser?
- ↑ "สถานีรายงานหาดใหญ่กับสถานีรายงานเขาวังชิงคือที่เดียวกัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-11-19.
- ↑ "Air force chooses Gripen jets from Sweden". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). 27 Aug 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-08-27.
- ↑ Wieliczko and Szeremeta 2004, p. 81.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- กองทัพอากาศไทย เก็บถาวร 2008-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน