อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ
อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ[1] (air-to-air missile) เป็นมิสไซล์ที่ปล่อยจากอากาศยาน มีจุดมุ่งหมายที่จะทำลายอากาศยานเป้าหมาย ปกติแล้วมิสไซล์อากาศสู่อากาศ จะใช้เครื่องยนต์จรวดเดี่ยวหรือหลายเครื่องยนต์ก็ได้ และใช้เชื้อเพลิงแข็ง แต่บางครั้งอาจใช้เชื้อเพลิงเหลว หรือเครื่องยนต์แรมเจ็ท[2]
โดยทั่วไปมิสไซล์อากาศสู่อากาศสามารถจำแนกออกเป็นสองประเภท ประเภทแรกคือมิสไซล์ที่ออกแบบมาเพื่อติดตามอากาศยานในระยะไม่เกิน 20 ไมล์ (32 กิโลเมตร) เป็นมิสไซล์ระยะสั้นในระยะมองเห็น (SRAAMs หรือ WVRAAMs) โดยเน้นที่การใช้งานในการต่อสู้ระยะประชิด หรือเรียกว่า "ด็อกไฟท์" มิสไซล์ประเภทนี้จะเน้นที่ความคล่องตัวมากกว่าระยะยิง ใช้ระบบนำวิถีแบบอินฟราเรด หรือเรียกอีกอย่างว่าระบบค้นหาเป้าหมายด้วยความร้อน
ประเภทที่สองคือมิสไซล์ในระยะกลางถึงไกล เป็นมิสไซล์ในระยะเกินมองเห็น (BVRAAMs) และนำวิถีด้วยเรดาร์
ความเป็นมา
แก้มิสไซล์อากาศสู่อากาศ ถูกพัฒนาขึ้นมาจากจรวดอากาศสู่อากาศไม่นำวิถีในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยกองทัพเยอรมันนำจรวดติดตั้งไปกับเครื่องบินปีกสองชั้น ควบคุมการยิงโดยระบบไฟฟ้าในการทำลายบัลลูนตรวจการณ์ของอังกฤษ โดยนักบินกลุ่มแรกที่ใช้คือ อัลเบิร์ต บอล และ เอ เอ็ม วอลเตอร์ส[3] ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเยอรมันได้พยายามพัฒนาอาวุธเพื่อนำมาตอบโต้กับกองกำลังทางอากาศฝ่ายสัมพันธมิตร โดยได้ดัดแปลงจรวด อาร์4เอ็ม เป็นจรวดนำวิถีด้วยเส้นลวดครั้งแรก ในชื่อว่า Ruhrstahl X-4 แต่มิได้ใช้งานจริงในการรบ
หลังสงครามโลกกองทัพอังกฤษได้เปิดตัวจรวดไฟร์แฟลช ในปี พ.ศ. 2498 แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ต่อมากองทัพเรือสหรัฐได้ร่วมมือกับกองทัพอากาศสหรัฐพัฒนามิสไซล์นำวิถีขึ้น คือ เอไอเอ็ม-4 ฟัลคอน และได้พัฒนามิสไซล์ในรุ่นต่อมา เช่น เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ และ เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ ในขณะที่ทางฝั่งโซเวียตได้เปิดตัวมิสไซล์ คาลินินกราด เค-5 ในปี พ.ศ. 2500 เช่นกัน
มิสไซล์อากาศสู่อากาศมีการพัฒนาต่อไปอีกมาก จนกลายเป็นอาวุธหลักส่วนหนึ่งของอากาศยานหลากหลายประเภท ต่อมาหลักการของการรบ "ระยะนอกสายตา" ได้กลายมาเป็นหลักการสำคัญในการพัฒนาอาวุธนำวิถีในรุ่นหลัง ล่าสุดมีการพัฒนามิสไซล์นำวิถีตรวจจับความร้อนซึ่งสามารถจับเป้าหมายจากในหลายทิศทาง ไม่เฉพาะด้านหลังอย่างเดียว
มิสไซล์อากาศสู่อากาศโดยทั่วไป
แก้น้ำหนัก (กิโลกรัม) |
ชื่อ | ประเทศผู้ผลิต | ช่วงเวลาผลิต และประจำการ |
น้ำหนักหัวรบ (กิโลกรัม) |
ชนิดหัวรบ | ระยะยิง (กิโลเมตร) |
ความเร็ว (มัค) | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
86 | เรเทียน เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ | สหรัฐอเมริกา | พ.ศ. 2499- | 9.4 | ระเบิดสะเก็ดระเบิด | 18 | 2.5 | |
87.4 | ไอริส-ที | เยอรมนี | พ.ศ. 2548- | 11.4 | สะเก็ดระเบิดแรงสูง | 25 | 3 | |
88 | เอ็มบีดีเอ เอไอเอ็ม-132 แอสแรม | สหราชอาณาจักร | พ.ศ. 2545- | 10 | ระเบิด/สะเก็ดระเบิด | 18 | 3+ | |
89 | มาทรา อาร์550 แมจิก/แมจิก 2 | ฝรั่งเศส | พ.ศ. 2519-พ.ศ. 2529 (แมจิก) พ.ศ. 2529- (แมจิก 2) |
12.5 | ระเบิด/สะเก็ดระเบิด | 15 | 2.7 | |
105 | วิมเปล อาร์-73 | รัสเซีย | พ.ศ. 2525- | 7.4 | สะเก็ดระเบิด | 20–40 | 2.5 | |
112 | เอ็มบีดีเอ ไมคา-อีเอ็ม/-ไออาร์ | ฝรั่งเศส | พ.ศ. 2539- (อีเอ็ม) พ.ศ. 2543- (ไออาร์) |
12 | ระเบิด/สะเก็ดระเบิด | > 60 | 4 | |
118 | ราฟาเอล เดอร์บี | อิสราเอล | พ.ศ. 2533- | 23 | ระเบิด/สะเก็ดระเบิด | 50 | 4 | |
152 | เรเทียน เอไอเอ็ม-120ดี แอมแรม | สหรัฐอเมริกา | พ.ศ. 2551 | 18 | ระเบิด/สะเก็ดระเบิด | 210 | 4 | |
152 | เรเทียน เอไอเอ็ม-120ซี แอมแรม | สหรัฐอเมริกา | พ.ศ. 2539 | 18 | ระเบิด/สะเก็ดระเบิด | 105 | 4 | |
152 | เรเทียน เอไอเอ็ม-120บี แอมแรม | สหรัฐอเมริกา | พ.ศ. 2537- | 23 | ระเบิด/สะเก็ดระเบิด | 48 | 4 | |
175 | วิมเปล อาร์-77 | รัสเซีย | พ.ศ. 2537- | 22 | ระเบิด/สะเก็ดระเบิด | 75 | 3.5 | |
185 | เอ็มบีดีเอ มีทีเออร์ | สหภาพยุโรป | พ.ศ. 2555- | ? | ระเบิด/สะเก็ดระเบิด | 100+ | 4+ |
อ้างอิง
แก้- ↑ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พจนานุกรมศัพท์ทหาร อังกฤษ-ไทย ฉบับใช้ร่วมสามเหล่าทัพ พ.ศ. 2558 เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Wragg, David W. (1973). A Dictionary of Aviation (first ed.). Osprey. p. 30. ISBN 9780850451634.
- ↑ Albert Ball, V. C. Chaz Bowyer. Crecy Publishing, 2002. ISBN 0-947554-89-0, 9780947554897. หน้า 90-91