ไอริส-ที (ย่อ: IRIS-T อังกฤษ: Infra Red Imaging System Tail) เป็นอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ที่เยอรมนีเป็นผู้นำในการพัฒนาร่วมกับหลายประเทศ เพื่อแทนที่ AIM-9 Sidewinder ซึ่งเป็นที่ใช้งานส่วนใหญ่ในประเทศสมาชิก นาโต้

IRIS-T
IRIS-T ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่
ชนิดอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศ
แหล่งกำเนิดร่วมพัฒนาโดยหลายประเทศ นำโดยเยอรมนี
บทบาท
ประจำการธันวาคม พ.ศ. 2548
ผู้ใช้งาน11 ประเทศ
ประวัติการผลิต
บริษัทผู้ผลิตเยอรมนี Diehl BGT Defence
มูลค่า400,000 ยูโร
ข้อมูลจำเพาะ
มวล87.4 กิโลกรัม
ความยาว2,936 มิลลิเมตร
เส้นผ่าศูนย์กลาง127 มิลลิเมตร
หัวรบสะเก็ดระเบิดแรงสูง
กลไกการจุดชนวน
การกระทบของสายชนวนบริเวณเรดาร์

เครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงแข็ง
ความยาวระหว่างปลายปีก447 มิลลิเมตร
พิสัยปฏิบัติการ
~25 กิโลเมตร
ความสูงปฏิบัติการ20,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
ความเร็ว3 มัค (1,029 เมตร/วินาที)
ระบบนำวิถี
อินฟราเรด
ฐานยิง
ผู้ใช้งาน:

ประวัติ แก้

หัวจรวดค้นหาตำแหน่ง

ในทรรศวรรษที่ 1980 ประเทศสมาชิกนาโต้ลงนามในบันทึกความตกลงว่าสหรัฐอเมริกาจะพัฒนาอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยกลางเพื่อแทนที่ AIM-7 Sparrow ในขณะที่สหราชอาณาจักรและเยอรมนีจะพัฒนาอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ เพื่อแทนที่ AIM-9 Sidewinder สหรัฐอเมริกาได้ออกแบบและพัฒนา AIM-120 AMRAAM ในขณะที่สหราชอาณาจักร-เยอรมนีเริ่มออกแบบและพัฒนา AIM-132 ASRAAM

ASRAAM ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1970 ซึ่งออกแบบให้มีความคล่องแคล่วสูงที่เรียกว่า "Taildog" แต่ในปี 1974 การพัฒนาก็ต้องสิ้นสุดลงจากการที่ไม่มีคำสั่งซื้อ ซึ่งต่อมาเยอรมนีและสหราชอาณาจักรได้มีความพยายามที่จะรื้อแผนงานนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ในช่วงเวลานั้น ความจำเป็นในการที่ขีปนาวุธจะต้องมีความคล่องแคล่วสูงได้ถูกลดระดับลง

AIM-120 ที่สหรัฐอเมริกาพัฒนานั้นสามารถปฏิบัติการในรัศมีมากกว่า 32 กิโลเมตร ในขณะที่ AIM-9 และ Taildog ยังพบช่องโหว่อีกมากที่ต้องเร่งแก้ไข แปลนขีปนาวุธเดิมได้ถูกนำมาใช้อีกครั้งในการผลิต แต่มีการปรับปรุงในบางรายละเอียด

ภายหลังจากที่เยอรมนีได้รวมประเทศในปี ค.ศ. 1990 เยอรมนีพบว่าตนเองนั้นมีขีปนาวุธ Vympel R-73 ของสหภาพโซเวียตอยู่มากมาย สำหรับใช้งานกับเครื่องบิน มิก-29 ซึ่งเป็นที่รับรู้ถึงประสิทธิภาพของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันถูกค้นพบว่ามีความคล่องแคล่วกว่าเท่าตัวรวมถึงมีพิสัยทำการไกลกว่า AIM-9 ซึ่งข้อสรุปเหล่านี้เองทำให้​​เยอรมนีตั้งคำถามบางแง่มุมในการออกแบบของ ASRAAM ในส่วนของลำตัวซึ่งเป็นความรับผิดชอบของสหราชอาณาจักร ซึ่งต่อมานั้นส่งผลให้เยอรมนีและสหราชอาณาจักรไม่สามารถมาตกลงเกี่ยวกับการออกแบบของ ASRAAM ได้ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1990 เยอรมนีถอนตัวออกจากโครงการ ASRAAM ในขณะที่สหราชอาณาจักรมีมติที่จะหาผู้ร่วมพัฒนาอื่นๆในการพัฒนา ASRAAM ต่อไป

ประเทศผู้พัฒนา แก้

 
ประเทศผู้ใช้งาน IRIS-T

ในปี ค.ศ. 1995 เยอรมนีได้ประกาศแผนงานพัฒนาขีปนาวุธนามว่า "IRIS-T" ร่วมกับกรีซ, อิตาลี, นอร์เวย์, สวีเดนและแคนาดา ซึ่งภายหลังแคนาดาได้ถอนตัวออกไป

สัดส่วนการจัดสรรงานในการพัฒนาขีปนาวุธ IRIS-T

  • เยอรมนี: 46%
  • อิตาลี: 19%
  • สวีเดน: 18%
  • กรีซ: 13%
  • แคนาดาและนอร์เวย์: 4 %

ประเทศผู้ใช้งาน แก้

จำนวนขีปนาวุธติดหัวรบ ไอริส-ที แบ่งตามประเทศ
  เยอรมนี   สเปน   กรีซ   ออสเตรีย   สวีเดน   นอร์เวย์   อิตาลี   เบลเยียม   ซาอุดีอาระเบีย   แอฟริกาใต้   ไทย
1,250[1] 770[2] 350[1] 25 400 150 450 500 1,400[3] 25 220[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 deagel.com: Spain Joins IRIS-T Program
  2. Ministerio de Defensa (September 2011). "Evaluación de los Programas Especiales de Armamento (PEAs)" (PDF) (ภาษาสเปน). Madrid: Grupo Atenea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-26. สืบค้นเมื่อ 30 September 2012.
  3. http://armstrade.sipri.org/armstrade/page/trade_register.php
  4. "Diehl Defence: IRIS-T, the short-distance missile of the latest generation". Diehl.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-30. สืบค้นเมื่อ 2014-04-19.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้