แอร์บูล สุทธิวรรณ
พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ เป็นนายทหารอากาศชาวไทย ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย คนที่ 27
แอร์บูล สุทธิวรรณ | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
สมาชิกโดยตำแหน่ง 6 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564 (0 ปี 299 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ |
ถัดไป | พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ |
ผู้บัญชาการทหารอากาศ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564 (0 ปี 365 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ |
ถัดไป | พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มีนาคม พ.ศ. 2504 |
คู่สมรส | พรรณระพี สุทธิวรรณ |
บุตร | เอริณ สุทธิวรรณ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 21 โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช รุ่นที่ 28 โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ รุ่นที่ 40 วิทยาลัยการทัพอากาศ รุ่นที่ 44 |
ชื่อเล่น | แอร์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพอากาศไทย |
ยศ | พลอากาศเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพอากาศไทย กองบิน 6 ฝูงบิน 601 |
ประวัติ
แก้แอร์บูล เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2504 ชื่อเล่น แอร์ โดยที่มาของชื่อมาจากการฝึกร่วมทางอากาศของกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศสหรัฐภายใต้รหัสแอร์บูล (Airbull) แปลไม่เป็นทางการได้ว่า กระทิงเวหา โดยบิดาซึ่งเป็นนายทหารอากาศที่เคยฝึกร่วม และแอร์บูลเกิดในปีที่มีการฝึกร่วมทางอากาศจึงนำชื่อนี่มาตั้ง[1]
แอร์บูลจบจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน แล้วจึงเรียนต่อที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 21 จากนั้น เข้าสู่โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช รุ่นที่ 28 โดยดำรงตำแหน่งเป็นนักบินเครื่องบินลำเลียง ซี-130 ต่อมา เป็นผู้บังคับฝูงบิน 601 และผู้บังคับการกองบิน 6 ในช่วงปี พ.ศ. 2553-2556 เป็นผู้ช่วยทูตทหารอากาศประจำสิงคโปร์[2] ในขณะยศพลอากาศโท เป็นปลัดบัญชีทหารอากาศ[3] แล้วจึงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของกองทัพอากาศ รับพระราชทานยศพลอากาศเอก และยังเป็นนายทหารราชองค์รักษ์[4] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ[5][6][7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ไทย
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2554 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[11]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[12]
ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ เปิดที่มาชื่อ"แอร์บูล" กระทิงอากาศ แม่ทัพฟ้าคนใหม่ - สยามรัฐ
- ↑ "พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ - ลับลวงพราง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2020-09-22.
- ↑ "ตรวจเยี่ยมสายวิทยาการปลัดบัญชี ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ - กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-15. สืบค้นเมื่อ 2020-09-22.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งราชองครักษ์ จำนวน 364 ราย - คมชัดลึก
- ↑ บิ๊กแอร์ คือใคร? พร้อมประวัติและผลงานของ บิ๊กแอร์บูล พล.อ.อ. แอร์บูล สุทธิวรรณ
- ↑ รู้จักให้มากขึ้น "แอร์บูล" ลูกทัพฟ้า - กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ พล.อ.อ.แอร์บูล สุทธิวรรณ : ผู้บัญชาการทหารอากาศ-ชื่อเท่ - มติชน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๒๑, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๔๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๒๓, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๙๗, ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๗๙, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
- ↑ MINDEF Singapore. Former Royal Thai Air Force Chief Receives Prestigious Military Award
ก่อนหน้า | แอร์บูล สุทธิวรรณ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
มานัต วงษ์วาทย์ | ผู้บัญชาการทหารอากาศ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564) |
นภาเดช ธูปะเตมีย์ |