พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2460 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2545) อดีตประธานรัฐสภา อดีตประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519[2]

กมล เดชะตุงคะ
ประธานรัฐสภาไทย และ
ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม – 20 พฤศจิกายน 2519
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ก่อนหน้าอุทัย พิมพ์ใจชน
ถัดไปพลอากาศเอก หะริน หงสกุล
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2519 – 30 กันยายน 2520
ก่อนหน้าพลเรือเอก สงัด ชลออยู่
ถัดไปพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2517 – 30 กันยายน 2520
ก่อนหน้าพลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา
ถัดไปพลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มิถุนายน พ.ศ. 2460
จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม
เสียชีวิต8 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (84 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงมนัส เดชะตุงคะ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
กองทัพเรือไทย
กองทัพอากาศไทย
ประจำการพ.ศ. 2478 – พ.ศ. 2520
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก[1]
บังคับบัญชากองทัพไทย

ประวัติ

แก้

พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ เกิดวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2460 ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของร.ท.เป้า และนางเขียน เดชะตุงคะ สมรสกับ คุณหญิงมนัส เดชะตุงคะ มีบุตร-ธิดา รวม 7 คน เป็นหญิง 3 คน ชาย 4 คน

การศึกษา

แก้

พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนการบิน บน.1 และได้เข้ารับการศึกษาในต่างประเทศ คือ โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศอเมริกา และโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศอังกฤษ นอกจากนั้นยังเคยผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. 2498

ยศทางทหาร

แก้

พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ เริ่มรับราชการทหารชั้นยศ "ร้อยตรี" เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478[3] จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในชั้นยศ "พลอากาศเอก" เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2510 จนกระทั่งวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 ได้รับพระราชทานยศ "พลเอก พลเรือเอก"[4] จนเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2520

พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ ในระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึงปี พ.ศ. 2519 และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในระหว่างปี พ.ศ. 2519 ถึงปี พ.ศ. 2520 และเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[5]

  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 - ร้อยตรี
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2481 - โอนย้ายมารับราชการเป็นทหารอากาศพร้อมรับพระราชทานยศ เรืออากาศตรี[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. 2504 –   เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหาร ชั้นที่ 1[17][18]

อ้างอิง

แก้
  1. พระราชทานยศ
  2. คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๒
  3. ประกาศ พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๕๙๕)
  4. "พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-12.
  5. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญํติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  6. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๔๔๕)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๙ ธันวาคม ๒๕๐๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘๓๗, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๘๘, ๓ มิถุนายน ๒๔๗๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๔ กันยายน ๒๕๑๙
  13. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๔, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2022-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๗ ตอนที่ ๖๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙๕, ๑๔ ธันวาคม ๒๔๙๓
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๗๓๑, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๐๓
  17. http://theme.archives.go.kr/viewer/common/archWebViewer.do?bsid=200200021980&dsid=000000000005&gubun=search
  18. 18.0 18.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๒๖๓๗, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
ก่อนหน้า กมล เดชะตุงคะ ถัดไป
พลเรือเอก สงัด ชลออยู่   ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 30 กันยายน พ.ศ. 2520)
  พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา   ผู้บัญชาการทหารอากาศ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – 30 กันยายน พ.ศ. 2520)
  พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์