พะเนียง กานตรัตน์

พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็นนายทหาร เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารอากาศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

พะเนียง กานตรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าเปรม ติณสูลานนท์
ถัดไปชาติชาย ชุณหะวัณ
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2520 – พ.ศ. 2524
ก่อนหน้าพลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ
ถัดไปพลอากาศเอก ทะแกล้ว ศุษิลวรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน พ.ศ. 2465
อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศสยาม
เสียชีวิต7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 (88 ปี)
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสคุณหญิงสุรนุช กานตรัตน์

ประวัติ

แก้

ชีวิตส่วนตัว

แก้

พล.อ.อ. พะเนียง[1] มีชื่อเล่น น้อง เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2465 ที่ตำบลบางหัวเสือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายนวล และนางบาง แก้วงาม

พล.อ.อ. พะเนียง ได้สมรสกับคุณหญิงสุรนุช กานตรัตน์ (สกุลเดิม ทรัพยสาร) เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2487 มีบุตรทั้งหมด 4 คน

การศึกษา

แก้

พล.อ.อ. พะเนียง สำเร็จการศึกษา ดังนี้[1]

ก่อนรับราชการ

แก้

หลังรับราชการ

แก้

การรับราชการ

แก้

รับราชการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2484[1] ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ในยศ "เรืออากาศตรี" จากนั้นได้เติบโตในหน้าที่ราชการเรื่อยมา ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น

นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ตุลาการศาลทหารสูงสุด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม 3 สมัย[2][3][4] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในสมัยรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนั้น ได้เกิดเหตุกบฏ 9 กันยา ขึ้น ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ที่ทหารบกเหล่าทหารม้า และทหารอากาศสังกัดอากาศโยธินกลุ่มหนึ่ง นำกำลังก่อการยึดอำนาจแต่ทว่าไม่สำเร็จ ซึ่งเหตุการณ์ได้จบลงที่ คณะทหารผู้ก่อการได้หลบหนีออกนอกประเทศไป และหลังเหตุการณ์นี้ พล.อ.อ. พะเนียง ได้ถูกเพ่งเล็งว่าเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อการครั้งนี้ด้วย ร่วมกับนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายคน อาทิ

  1. พล.อ. เสริม ณ นคร
  2. พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
  3. พล.อ. ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  4. พล.อ.อ. อรุณ พร้อมเทพ[5]

การถึงแก่อนิจกรรม

แก้

พล.อ.อ. พะเนียง กานตรัตน์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 3.30 น. ด้วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย ที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช สิริอายุได้ 88 ปี[6] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้
  •   สหรัฐ :
  •   เกาหลีใต้ :
    • พ.ศ. 2524 -   เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งการทูต ชั้นที่ 1[14]
  •   เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2510 -   เครื่องอิสริยาภรณ์ราชการดีเด่นเวียดนาม ชั้นที่ 1 (ทหารอากาศ)
    • พ.ศ. 2506 -   เหรียญเกียรติยศกองทัพเวียดนาม ชั้นที่ 1

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 (2555). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว. ณ ฌาปนสถานกองทัพอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555. บริษัท สตาร์บูมอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  5. กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
  6. “พล.อ.อ. พะเนียง กานตรัตน์” อดีตรมว.กลาโหมถึงแก่อนิจกรรมแล้ว[ลิงก์เสีย]
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๒๐๒ ง หน้า ๓๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒๐๑, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๙๘ ง หน้า ๓๑๓๔, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๘๒, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 78 ตอนที่ 21 หน้า 613, 7 มีนาคม 2504
  13. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1979.
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 98 ตอนที่ 184 ฉบับพิเศษ หน้า 24, 4 พฤศจิกายน 2524
ก่อนหน้า พะเนียง กานตรัตน์ ถัดไป
พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ    
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
(พ.ศ. 2520-พ.ศ. 2522)
  พลอากาศเอก ทะแกล้ว ศุษิลวรณ์