หะริน หงสกุล

พลอากาศเอก หะริน หงสกุล (29 สิงหาคม พ.ศ. 2457 — 10 มีนาคม พ.ศ. 2551) อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[1] และประธานรัฐสภา

พลอากาศเอก
หะริน หงสกุล
ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม.
ประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
28 พฤศจิกายน 2519 – 20 ตุลาคม 2520
(0 ปี 327 วัน)
ก่อนหน้า พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน 2520 – 22 เมษายน 2522
(1 ปี 148 วัน)
ประธานรัฐสภา
ในฐานะประธานวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤษภาคม 2522 – 19 มีนาคม 2526
(3 ปี 314 วัน)
ถัดไป จารุบุตร เรืองสุวรรณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 29 สิงหาคม พ.ศ. 2457
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม
เสียชีวิต 10 มีนาคม พ.ศ. 2551 (93 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรส คุณหญิงสว่างจิตต์ หงสกุล (คฤหานนท์)
ศาสนา พุทธ
ลายมือชื่อ ลายเซ็นหะริน หงสกุล.png
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัด กองทัพอากาศ
ยศ RTAF OF-9 (Air Chief Marshal).svg พลอากาศเอก
บังคับบัญชา ผู้บัญชาการทหารอากาศ

ประวัติแก้ไข

พล.อ.อ. หะริน หงสกุล เกิดที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของหลวงอนุภาณดิสยานุสรรค์ กับ พระพี่เลี้ยง หวน หงสกุล (2428-2532) ในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ [2] จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนนายร้อยทหารบก จากนั้นศึกษาต่อวิชาการบิน และย้ายไปสังกัดกองทัพอากาศไทย และไปศึกษาต่อวิชาเสนาธิการทหารอากาศ ที่ ประเทศอังกฤษ ขณะมียศเป็น"นาวาอากาศโท"เพื่อเตรียมการจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศและโรงเรียนนายเรืออากาศของไทย นายทหารที่เดินทางไปศึกษาพร้อมกันในครั้งนั้นคือ นาวาอากาศโท ทวี จุลละทรัพย์ น.ต. สวัสดิ์ โพธิ์วิหคและ น.ต. ละเอิบ ปิ่นสุวรรณ์ [3]

การทำงานแก้ไข

พล.อ.อ. หะริน เคยเป็นผู้ช่วยทูตทหารอากาศประจำกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ต่อมามีตำแหน่งทางการทหารสูงสุด เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาหลายสมัย ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. 2519-2520 ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[1] พ.ศ. 2520-2522 และประธานวุฒิสภา พ.ศ. 2522-2526 เป็นประธานรัฐสภาระหว่าง พ.ศ. 2519-2526

พล.อ.อ. หะริน เป็นนักเขียน มีผลงานการเขียนประจำในหนังสือต่วย'ตูน [4] และได้รับการเชิดชูเกียรตินักเขียนอาวุโส รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2546 [5]

ครอบครัวแก้ไข

พล.อ.อ. หะริน หงสกุล สมรสกับคุณหญิงสว่างจิตต์ หงสกุล (คฤหานนท์) (5 สิงหาคม พ.ศ. 2465 - 19 กันยายน พ.ศ. 2562) อดีตนางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2483 เมื่อ พ.ศ. 2485 [6] มีบุตร 3 คน คือ

  • พล.อ.ท.หญิง สหัทยา ประภาวัต เกิดวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2486 สมรสกับ พล.ต.ท. เกียรติศักดิ์ ประภาวัต มีธิดาหนึ่งคนคือ
    • นางบงกชเกศ ศาลิคุปต เกิดวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2510 สมรสกับนายจุลทัย ศาลิคุปต มีบุตรธิดาสามคน ได้แก่
      • น.ส.บราลี ศาลิคุปต
      • นายปรินท์ ศาลิคุปต
      • นายกวิน ศาลิคุปต
  • คุณหญิงสทนา โสณกุล ณ อยุธยา เกิดวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2489 สมรสกับ พ.อ.พิเศษ ม.ร.ว.ถวัลย์มงคล โสณกุล (23 มิถุนายน พ.ศ. 2483 - 13 กันยายน 2533) มีบุตรธิดาสองคน ได้แก่
    • ม.ล.ธีรเชษฐ์ โสณกุล เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 สมรสกับนางกุลศรา โสณกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุจารีรัตน์) มีบุตรหนึ่งคน คือ
      • นายกุลมงคล โสณกุล ณ อยุธยา
    • ม.ล.รัตนมงคล โสณกุล (31 มกราคม 2525) สมรสกับนายรัชกร ชยาภิรัต
  • พล.อ.ท. วิน หงสกุล เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 สมรสกับนางงามพร้อม หงสกุล (สกุลเดิม ศิริวงศ์) มีบุตรธิดาสองคน ได้แก่
    • นางสาวพรนรี หงสกุล เกิดวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
    • ร.อ. ธัชพงศ์ หงสกุล เกิดวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2524 สมรสกับ ร.อ. ทพ.หญิง วริศา หงสกุล (สกุลเดิม เธียรธนู)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยแก้ไข

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  2. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์แม่เล่าให้ฟัง. กรุงเทพ : Silkworm Books, ค.ศ. 1980. 286 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7551-49-5
  3. ประวัติโรงเรียนนายเรืออากาศ
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ praphansarn
  5. "ทำเนียบผู้ได้รับรางวัลนราธิป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-01. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
  6. "ประวัติ สว่างจิตต์ คฤหานนท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-03. สืบค้นเมื่อ 2007-11-09.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๗, ๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๑, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๗, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๕ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑๕, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๑
  16. รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaiscouts
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๗๓๐, ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๐๓
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 70 ตอนที่ 53 หน้า 2838, 11 สิงหาคม 2496
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 77 ตอนที่ 66 หน้า 1869, 24 กันยายน 2534
ก่อนหน้า หะริน หงสกุล ถัดไป
ไม่มีวุฒิสภา    
ประธานวุฒิสภา
(9 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526)
  จารุบุตร เรืองสุวรรณ