เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
บทความนี้อาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ป.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ภ.ป.ร. ๑ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 — 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 15 หลังจากทำรัฐประหารสำเร็จเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 เขาได้รับการขอร้องให้เป็นนายกรัฐมนตรีและได้รับการยกย่องว่า "นำพาประเทศไทยไปสู่ประชาธิปไตย" ในช่วงเวลาที่คอมมิวนิสต์กำลังอาละวาดภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านกลายเป็นคอมมิวนิสต์หลังจากคอมมิวนิสต์ยึดครองเวียดนาม: เวียดนามใต้ (โดยเวียดกง) ลาว (โดยปะเทดลาว) และกัมพูชา (โดยเขมรแดง)[2]
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | |
---|---|
เกรียงศักดิ์ ใน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 15 | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | สุนทร หงส์ลดารมภ์ บุญชัย บำรุงพงศ์ สมภพ โหตระกิตย์ ทวี จุลละทรัพย์ เสริม ณ นคร เล็ก แนวมาลี |
ก่อนหน้า | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
ถัดไป | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | พลเอกเล็ก แนวมาลี |
ถัดไป | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2521 | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | สมัคร สุนทรเวช |
ถัดไป | พลเอกเล็ก แนวมาลี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | สุพัฒน์ สุธาธรรม |
ถัดไป | สมหมาย ฮุนตระกูล |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
ก่อนหน้า | ปรีดา กรรณสูต |
ถัดไป | บรรหาร ศิลปอาชา |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 – 30 กันยายน พ.ศ. 2521 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ |
ถัดไป | พลเอกเสริม ณ นคร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | สมจิตร ชมะนันทน์ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (86 ปี) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติประชาธิปไตย (2525–2532) |
คู่สมรส | วิรัตน์ ชมะนันทน์ |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองบัญชาการทหารสูงสุด |
ประจำการ | พ.ศ. 2484–2521 |
ยศ | พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก[1] |
บังคับบัญชา | กองบัญชาการทหารสูงสุด |
ผ่านศึก | สงครามมหาเอเชียบูรพา สงครามเกาหลี |
นโยบายเด่นของเขา ได้แก่ การก่อตั้งอีสเทิร์นซีบอร์ด (Eastern Seaboard) ผ่านการจัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และการสร้างท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง รวมถึงการเจรจาความตกลงทางการค้าทวิภาคีระหว่างไทยและญี่ปุ่นในยุคของนายกรัฐมนตรีทาเกโอะ ฟูกูดะ เพื่อให้ไทยเข้าร่วมในรูปแบบการพัฒนาแบบ "ฝูงห่านบิน" (flying geese paradigm) พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการก่อตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ผ่านการควบรวมหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสองแห่ง ส่งผลให้ ปตท. กลายเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ 1980 และ 1990
ประวัติ
แก้พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ หรือนามเดิม สมจิตร์ ชมะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ที่ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายแจ่มกับนางเจือ ชมะนันทน์ สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์ มีบุตรธิดารวม 2 คน
การศึกษา
แก้พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จากนั้นเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนปทุมคงคาจนจบชั้นมัธยมศึกษา แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2483 และรับพระราชทานยศ นายร้อยโท เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2484 รุ่นเดียวกับพลเอกยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา, พลเอกเปรม ติณสูลานนท์, พลเอกฉลาด หิรัญศิริ, พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (ขณะนั้นใช้ชื่อว่า สมบุญ), พลเอกสายหยุด เกิดผล[3] ในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียนเสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบกและวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 5
การรับราชการ
แก้ในปี พ.ศ. 2484 พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ รับราชการเป็นผู้บังคับหมวด กองพันทหารราบที่ 26 (พัน.ร.26)ก่อนจะย้ายไปเป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 4 กองพันทหารราบที่ 26 (ร้อย.4 ร.26) ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ช่วงเวลาเดียวกันยังรับหน้าที่เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 1 กองพันทหารราบที่ 33 (ร้อย.1 พัน.ร.33) จนกระทั่งติดยศ "ร้อยเอก" เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2486[4]
ในปี พ.ศ. 2486 จากนั้น ย้ายมาประจำที่ฝ่ายเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3 ก่อนจะได้เป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการ กองทัพภาคที่ 3 ถึงปี พ.ศ. 2495 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบกรมผสมที่ 20 และไปร่วมรบในสมรภูมิเกาหลีรุ่นแรก ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบ ผลัดที่ 3 สร้างเกียรติภูมิอย่างมาก จนหน่วยที่บังคับบัญชาได้ฉายาว่า “กองพันพยัคฆ์น้อย”
เมื่อกลับมาย้ายไปสายวิชาการ เป็นหัวหน้าภาควิชายุทธการโรงเรียนเสนาธิการทหารบกโดยติดยศ"พันเอก"
ในปี พ.ศ. 2499 ต่อมาได้เข้าทำงานที่สำนักงานวางแผนทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ (สปอ.) จนได้เป็นหัวหน้ากองการทหารของสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์
ในปี พ.ศ. 2502 ถึงปี พ.ศ. 2506 ย้ายมาดำรงตำแหน่งรองเสนาธิการกองอำนวยการกลาง สำนักงานผู้บัญชาการทหารสูงสุด ระหว่างนั้นได้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกา
ต่อมาได้รับการเลื่อนยศเป็น"พลเอก"เมื่อปี พ.ศ. 2516 ในตำแหน่งรองเสนาธิการทหารบก จากนั้นในปี พ.ศ. 2517 ก็ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ต่อด้วยผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในที่สุดขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2520 จนเกษียณอายุราชการ
ช่วงเวลาที่รับราชการ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองอยู่เกือบตลอดเวลา โดยเป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2511 และสมาชิกสภานิติบัญญัติ เมื่อปี พ.ศ. 2515
ต่อมาในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ช่วงรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี[5]ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 13
อสัญกรรม
แก้พล.อ. เกรียงศักดิ์ ป่วยด้วยอาการเส้นเลือดในสมองตีบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 จากนั้นก็รักษาตัวมาตลอดและเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2546 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2546 รวมอายุ 86 ปี 6 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
ราชการทหารต่างประเทศ
แก้ในช่วงที่รับราชการทหาร พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เคยร่วมรบในสมรภูมิเกาหลีรุ่นแรก ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบ ผลัดที่ 3 สร้างเกียรติภูมิอย่างมาก จนหน่วยใต้บังคับบัญชาได้ฉายาว่า "กองพันพยัคฆ์น้อย" (ปัจจุบันแปรสภาพเป็นกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์) ภายหลังกลับจากสงครามก็เข้าประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด เติบโตในสายเสนาธิการมาเป็นลำดับจนเป็นพลเอก และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดจนเกษียณอายุราชการ
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แก้พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินภายใต้ การนำของ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ผลงานสำคัญในช่วงที่ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งคือการปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอันประกอบด้วย เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า
รวมทั้ง พล.อ. เกรียงศักดิ์ ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน และสหภาพโซเวียต เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้ากับทั้งสองประเทศแน่นแฟ้นขึ้น
นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายหน่วยงาน เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น
ระหว่างเล่นการเมืองอยู่นั้น พล.อ.เกรียงศักดิ์ได้รับฉายาว่า "อินทรีแห่งทุ่งบางเขน"
พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยแถลงกลางสภาฯ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 อันมีสาเหตุเนื่องมาจากการที่รัฐบาลตัดสินใจเพิ่มราคาค่าน้ำมันตามราคาตลาดโลก ซึ่งทำให้หลายฝ่ายได้รับความเดือดร้อนและโจมตี หลังจากนั้นได้ยุติบทบาททางการเมือง โดยไม่ข้องเกี่ยวกับวงการเมืองอีก แต่อย่างไรก็ตามในเหตุการณ์กบฏวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 พล.อ. เกรียงศักดิ์ ถูกต้องสงสัยว่าอาจมีส่วนรู้เห็นหรือสนับสนุนการกบฏดังกล่าว [6]
โดยในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น ภาพที่ติดตาของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ คือ การทำแกงเขียวหวานใส่บรั่นดีระหว่างออกเยี่ยมประชาชนตามที่ต่าง ๆ อันเป็นสูตรของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ เอง
นอกจากนี้ยังได้มีการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้แก่นักศึกษาที่ถูกจำคุกเนื่องจากเหตุการณ์ชุมนุม 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกด้วย ซึ่งรัฐสภาก็ได้ผ่านร่างดังกล่าวในปี พ.ศ. 2521 โดยมีเหตุผลสำคัญคือเพื่อความปรองดองของประเทศ ซึ่งทำให้นักศึกษาที่ถูกจับทั้งหมดได้รับการปล่อยตัว
สมัยที่ 1 (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521)
แก้การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์นั้น สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 โดยคณะปฏิวัติภายใต้การนำของ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 จากนั้นในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 จึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 เป็นการชั่วคราว และได้จัดตั้งสภานโยบายแห่งชาติขึ้น จากนั้นได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 15 ของประเทศเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 โดยมี พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และยังได้รับการสนับสนุนจากคณะทหารหนุ่ม หรือกลุ่ม “ยังเติร์ก" [7] รวมทั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง ทั้งนี้ ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 ได้ประกาศนโยบายหลักในการปกครองประเทศที่สำคัญ คือ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ และร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2521 เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปอย่างช้าที่สุดภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2522 [8]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2521 พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้สลับไปควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแทน[9]
หลังจากรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นเวลากว่า 1 ปี รัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ สมัยแรกก็สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นไปตามที่รัฐบาลคณะปฏิวัติประกาศว่า จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญ และให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว แต่สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลได้แสดงให้เห็นถึงการสืบทอดอำนาจของฝ่ายทหารจนกระทั่งได้ฉายาว่า “ประชาธิปไตยครึ่งใบ”[10] และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป (ครั้งที่ 12) เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522
สมัยที่ 2 (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523)
แก้ภายหลังการเลือกตั้ง ก็มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยมีพล.อ.อ. หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[11] อีกตำแหน่งหนึ่ง
การบริหารประเทศของรัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ตั้งแต่สมัยที่ 1 ต่อเนื่องมาถึงสมัยที่ 2 ต้องประสบปัญหามากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญมาก การผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ต้องขึ้นราคาน้ำมันภายในประเทศ ส่งผลเป็นลูกโซ่ ให้มีการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าและน้ำประปา สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชน รัฐบาลจึงถูกมองว่าไม่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มพลังนอกสภากดดันรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็โจมตีรัฐบาลอย่างหนัก โดยการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2522 มุ่งประเด็นความล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่ในที่สุดด้วยเสียงที่มากกว่า รัฐบาลจึงได้รับความไว้วางใจให้บริหารประเทศต่อไปได้[12]
จากวิกฤติการณ์ดังกล่าว พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พยายามประคับประคองสถานะของรัฐบาลอย่างสุดความสามารถ โดยการปรับคณะรัฐมนตรีอีกหลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาหลักคือเรื่องเศรษฐกิจได้ และเมื่อมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันในปี พ.ศ. 2523 นำมาซึ่งการประท้วงอย่างกว้างขวาง เพราะมีการมองว่ารัฐบาลผลักภาระของบริษัทน้ำมันมาให้ประชาชนแบกรับ มีการจัดชุมนุมครั้งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 มีประชาชนเข้าร่วมชุมนุมจำนวนมาก ขณะที่ในสภาฯ ผู้นำพรรคการเมืองที่ประกอบด้วย
- ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้ากลุ่มกิจสังคม
- พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร หัวหน้ากลุ่มชาติไทย
- พ.อ.พิเศษ ถนัด คอมันตร์ หัวหน้ากลุ่มประชาธิปัตย์
- นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้ากลุ่มประชากรไทย
- พ.อ. พล เริงประเสริฐวิทย์ หัวหน้ากลุ่มสยามประชาธิปไตย
ได้ร่วมกันยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 137 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 ต่อมา พล.อ.อ. หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา โดยมี ส.ส. ลงชื่อรับรองจำนวน 204 คน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โดยกำหนดการอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 [13]
ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา สมัยที่ 2 พ.ศ. 2523 ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 แต่ก่อนการประชุมเพียง 1 วันคือในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พลเอกเปรมในฐานะผู้บัญชาการทหารบกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้เดินทางไปยังบ้านพักของพลเอกเกรียงศักดิ์ซึ่งพลเอกเกรียงศักดิ์ได้นำใบลาออกมาให้พลเอกเปรมดู จากนั้นในช่วงเย็นวันเดียวกัน ทั้งพลเอกเกรียงศักดิ์และพลเอกเปรมได้นั่งเครื่องบินจากสนามบินดอนเมืองไปเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์เพื่อกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยโอกาสนี้พลเอกเกรียงศักดิ์ได้กราบบังคมทูลเสนอชื่อพลเอกเปรมให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ จากนั้นพลเอกเกรียงศักดิ์ได้กลับมาร่างคำแถลงชี้แจงที่บ้านพัก[a] ในวันรุ่งขึ้น พลเอกเกรียงศักดิ์ได้แถลงชี้แจงถึงปัญหาที่ผ่านมา ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่รัฐบาลต้องประสบจนยากที่จะบริหารงานของประเทศให้บรรลุสู่เป้าหมายได้ และได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงท้ายของการชี้แจงดังกล่าว ความว่า
“…การขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและรัฐสภาไม่เป็นสิ่งที่ดี และเชื่อว่าไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนปรารถนา ประชาชนบางส่วนที่อยู่ในชนบทไม่สนใจว่าใครจะมาบริหารประเทศ ขอให้ท้องอิ่มก็แล้วกันแต่ความขัดแย้งก่อเกิดเพิ่มขึ้นทับทวี จนยากที่รัฐบาลจะบริหารงานของชาติให้บรรลุสู่เป้าหมายได้ ฉะนั้นเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยระบบรัฐสภา กระผมจึงได้ตัดสินใจดังนี้ กระผมขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ระบบรัฐสภาของประชาธิปไตยดำรงอยู่ตลอดไป ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ท่านเลือกบุคคลที่มีความสามารถดีกว่า เข้ามาบริหารประเทศและรับใช้ประชาชนและประเทศชาติต่อไป ขอบพระคุณ”[14]
หลังจากการแถลงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เสร็จสิ้น สมาชิกรัฐสภาพร้อมใจกันปรบมือให้เกียรติดังลั่นไปทั้งห้องประชุมสภา การตัดสินใจของท่านนั้นได้รับการแซ่ซ้องสรรเสริญเป็นอย่างสูงจากบุคคลต่าง ๆ เช่น พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ได้กล่าวว่า
“ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ได้แสดงสปิริตออกมาเป็นที่น่ายกย่อง ไม่คาดมาก่อนว่าจะแก้ปัญหาด้วยการลาออก แต่ก็เหมาะสมดีแล้ว ” [15]
รวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 2 สมัย เป็นเวลา 2 ปี 4 เดือน
รางวัลและเกียรติยศ
แก้- พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองใหญ่ เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521[16]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ในประเทศ
แก้- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[17]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[18]
- พ.ศ. 2511 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[19]
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[20]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[21]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[22]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[23]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[24]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[25]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[26]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. 2496 – เหรียญสหประชาชาติเกาหลี[27]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐอเมริกา :
- พ.ศ. 2495 – เหรียญซิลเวอร์สตาร์
- พ.ศ. 2495 – เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน (ทหารบก)
- พ.ศ. 2512 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร[28]
- มาเลเซีย :
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2520 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ชั้นที่ 1[31]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญราชการสงครามเกาหลี
- ฟิลิปปินส์ :
- พ.ศ. 2521 – เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นสายสร้อย[32]
ลำดับสาแหรก
แก้ลำดับสาแหรกของเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
หมายเหตุ
แก้- ↑ อ้างอิงจากคลิปรายการ REWIND Podcast Ep.20 ทางช่อง Today ชื่อคลิปว่า เป็นนายกฯ ได้เพราะคณะปฏิวัติ อยู่ต่อได้เพราะ ส.ว.โหวต
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานยศทหารสูงสุด
- ↑ "Kriangsak Chamanand, Thai General, Dies at 86". New York Times. 2003-12-25. สืบค้นเมื่อ 30 January 2019.
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 1867)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (หน้า 3177)
- ↑ ตำแหน่งเป็นเลขาธิการสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
- ↑ กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
- ↑ นรนิติ เศรษฐบุตร. เกิดมาเป็นนายก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, 2538, หน้า 257-268.
- ↑ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 94 ตอนที่ 111 ฉบับพิเศษ, 9 พฤศจิกายน 2520,หน้า 1-14.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (พลเอก เล็ก แนวมาลี พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา พลเรือเอก อมร ศิริกายะ)
- ↑ สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. เรื่องเดียวกัน, หน้า 433-434.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ วีรชาติ ชุ่มสนิท. เรื่องเดียวกัน, หน้า 135-136.
- ↑ “ความเคลื่อนไหวเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล.” สยามจดหมายเหตุ บันทึกข่าวสารและเหตุการณ์. 5,9 (22-28 กุมภาพันธ์ 2523), หน้า 235-236.
- ↑ รายงานการประชุมรัฐสภา (สมัยวิสามัญ สมัยที่สอง) ครั้งที่ 1/2523 29 กุมภาพันธ์ 2523. หน้า 7-15.
- ↑ สมบูรณ์ คนฉลาด. เรื่องเดียวกัน, หน้า 605.
- ↑ ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๔๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๑๕ ง หน้า ๗๕๙, ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๙๘ ง หน้า ๓๑๓๔, ๑๙ กันยายน ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๒, ๒๓ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ รายนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๑ จากเว็บไชต์ thaiscouts
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ, เล่ม 70 ตอนที่ 21 หน้า 1391 ง, 31 มีนาคม 2496
- ↑ AGO 1969-08 — HQDA GENERAL ORDER: MULTIPLE TITLES BY PARAGRAPHS
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1967.
- ↑ SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1979.
- ↑ 국가기록원 기록물뷰어
- ↑ "The Order of Sikatuna". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-25. สืบค้นเมื่อ 2023-11-22.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ธานินทร์ กรัยวิเชียร | นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 15 (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523) |
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ | ||
สุพัฒน์ สุธาธรรม | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523) |
สมหมาย ฮุนตระกูล | ||
สถาปนาตำแหนง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (17 – 22 เมษายน พ.ศ. 2522) |
ชุบ กาญจนประกร |