บรรหาร ศิลปอาชา

อดีตนายกรัฐมนตรีไทย

บรรหาร ศิลปอาชา ม.ป.ช. ม.ว.ม. ป.ภ. ท.จ. GCMG (19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – 23 เมษายน พ.ศ. 2559) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 21 อดีตประธานกรรมการมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา[1] อดีตประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 11 สมัย อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา[2] อดีตนายกสภาสถาบันการพลศึกษา[3] อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด[4] และอดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ทั้งเป็นพี่ชายของชุมพล ศิลปอาชา อดีตรองนายกรัฐมนตรี

บรรหาร ศิลปอาชา
บรรหาร ประมาณ พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21
ดำรงตำแหน่ง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(1 ปี 135 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
รอง
ก่อนหน้าชวน หลีกภัย
ถัดไปชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 4 มีนาคม พ.ศ. 2524
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ถัดไปอาณัติ อาภาภิรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าสมัคร สุนทรเวช
ถัดไปมนตรี พงษ์พานิช
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูร
ก่อนหน้านุกูล ประจวบเหมาะ
ถัดไปนุกูล ประจวบเหมาะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 มกราคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าประมวล สภาวสุ
ถัดไปประมาณ อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
9 มกราคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าประมาณ อดิเรกสาร
ถัดไปประมาณ อดิเรกสาร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าวีรพงษ์ รามางกูร
ถัดไปสุธี สิงห์เสน่ห์
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ดำรงตำแหน่ง
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าประมาณ อดิเรกสาร
ถัดไปชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เต็กเซียง แซ่เบ๊

19 สิงหาคม พ.ศ. 2475
อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต23 เมษายน พ.ศ. 2559 (83 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2517–2551)
ชาติไทยพัฒนา (2556–2559)
คู่สมรสแจ่มใส เลขวัต (สมรส 2500)
บุตร
บุพการี
  • เซ่งกิม แซ่เบ๊ (บิดา)
  • สายเอ็ง แซ่เบ๊ (มารดา)
ญาติชุมพล ศิลปอาชา (น้องชาย)
ลายมือชื่อ

ประวัติ

แก้

ตามทะเบียนราษฎร บรรหารเกิดวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475[5] แต่บางแหล่งว่าเกิดวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[6]

บรรหารเป็นชาวตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เดิมมีชื่อว่า เต็กเซียง แซ่เบ๊ (馬德祥) มีชื่อเล่นว่า "​เติ้ง" ​บิดาของบรรหาร คือ เซ่งกิม แซ่เบ๊ ส่วนมารดาของบรรหาร คือ สายเอ็ง แซ่เบ๊ เป็นเจ้าของร้านสิ่งทอชื่อ ย่งหยูฮง[7] ทั้งคู่มีบุตร 6 คน ดังนี้ตามลำดับ สมบูรณ์ ศิลปอาชา, สายใจ ศิลปอาชา, อุดม ศิลปอาชา, บรรหาร ศิลปอาชา, ดรุณี วายากุล, และชุมพล ศิลปอาชา

บรรหารสมรสกับคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา มีบุตร 3 คน

บรรหารจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่จังหวัดสุพรรณบุรี เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนหนังสือชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัย แต่ต้องหยุดเรียนไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หันไปทำงานกับพี่ชาย และก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นของตัวเองชื่อ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2505 ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด นทีทอง และ พ.ศ. 2508 ก่อตั้งบริษัทวารทิพย์ จำกัด[8]

ต่อมาก่อตั้งบริษัท บี.เอส.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขายเคมีภัณฑ์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ใน พ.ศ. 2523 ครอบครัวบรรหารได้ก่อตั้งบริษัท สหศรีชัยเคมิคอลส์ จำกัด เพื่อขายเคมีภัณฑ์ ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท คอสติกไทย จำกัด บริษัททั้งหมดเป็นตัวแทนจำหน่ายคลอรีนให้แก่กรมโยธาธิการและการประปาส่วนภูมิภาคจนมีฐานะดีขึ้น

ใน พ.ศ. 2515 เขาเป็นผู้ร่วมทุนก่อตั้ง หนังสือพิมพ์บ้านเมือง อีกด้วย[9]

ต่อมาเมื่อเป็นนักการเมืองแล้ว ได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมระหว่าง วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2519 ถึงวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2519 และระหว่าง วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จึงเริ่มเรียนหนังสือต่อจนจบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ พ.ศ. 2529 และศึกษาต่อปริญญาโทนิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน

สำนักข่าวอิศรารายงานว่า เขาเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่มีฐานะร่ำรวยรองจากทักษิณ ชินวัตร หากเปรียบเทียบกับนายกรัฐมนตรี 10 คน คือ ชวน หลีกภัย, พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ, พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์, สมัคร สุนทรเวช, สมชาย วงศ์สวัสดิ์, อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, และพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[10] เขายังเป็นอาของนคร ศิลปอาชา[11] ซึ่งได้ตำแหน่งปลัดกระทรวงแรงงานภายหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2558 และได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560[12]

การศึกษา

แก้

ใน พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้มอบปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่บรรหารอีกด้วย[13] ระหว่างที่บรรหารเรียนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงอยู่นั้น บรรหารเคยเรียนกับนายวิษณุ เครืองามด้วย

บทบาททางการเมือง

แก้

บรรหารเข้าสู่วงการเมืองจากการชักชวนของบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ตั้งแต่มีการก่อตั้งพรรคชาติไทยเมื่อ พ.ศ. 2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติใน พ.ศ. 2516[14] และเป็นสมาชิกวุฒิสภา ใน พ.ศ. 2518 ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. 2519 และ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาทุกสมัยที่มีการเลือกตั้ง ต่อมาบรรหารขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคชาติไทยใน พ.ศ. 2523 และในปีเดียวกันนั้น เขาถูกพินิจ จันทรสุรินทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง และคณะรวม 42 คน ยื่นคำร้องต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยว่า เขาขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีบิดาเป็นคนต่างด้าว และสำเร็จการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย แต่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติให้ยกคำร้องดังกล่าว[15]

ต่อมาใน พ.ศ. 2537 บรรหารได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย และเป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย

การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

แก้

ตลอดเวลาที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บรรหารได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในหลายกระทรวง ใน พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีสมัยแรก คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[16] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งเดิม[17] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่[18]

พฤษภาทมิฬ

แก้

ก่อนเกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ บรรหาร ศิลปอาชา เลขาธิการพรรคชาติไทย เป็นตัวแทนพรรคชาติไทย ในฐานะ พรรคร่วมรัฐบาลให้สัญญาว่าจะแถลงถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อมาบรรหาร และตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาล ออกโทรทัศน์ ปฏิเสธ เรื่องดังกล่าว ทำให้เกิดการชุมนุมเพื่อต่อต้านรัฐบาลและนำไปสู่เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในที่สุด[24]

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 บรรหาร ศิลปอาชา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกของพรรคได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ทำให้บรรหาร ได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกตำแหน่งหนึ่งระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 ถึง พฤศจิกายน พ.ศ. 2539

รัฐบาลบรรหาร มีผลงานที่โดดเด่น อาทิเช่น การริเริ่มการปฏิรูปการเมืองโดยให้มีการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[25] จัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ[26] รับมือเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปี 2538 การจัดพระราชพิธีกาญจนาภิเษก การนำประเทศเข้าสู่เวทีประชาคมโลก เช่น การเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษ ในโอกาสครบรอบ 50 ปีสหประชาชาติ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (ASEM) การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีการจัดงานแสดงเกษตรและอุตสาหกรรมโลก พ.ศ. 2538 (WORLDTECH’ 95 THAILAND)[27]

การบริหารราชการแผ่นดินในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเขา ดำเนินไปด้วยความไม่ราบรื่น จนกระทั่งในวันที่ 18-20 กันยายน พ.ศ. 2539 เขาถูกพรรคฝ่ายค้าน นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจโจมตีว่าการบริหารประเทศไร้ประสิทธิภาพ ไม่เป็นไปตามนโยบายที่แถลงไว้ ประกอบกับพรรคร่วมรัฐบาลได้แก่ พรรคความหวังใหม่ พรรคนำไทย และพรรคมวลชน ได้ขอให้เขาลาออกจากตำแหน่ง แต่เขาได้ตัดสินใจยุบสภา เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 แทน[28]

บรรหารมีสมญานามมากมาย จากลักษณะเด่นหลายประการ เช่น มีฐานเสียงหนาแน่นอย่างที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี มีสถานะเป็นเจ้าถิ่นจนได้สมญาว่า "มังกรสุพรรณ" หรือ "มังกรการเมือง" และเนื่องจากมีลักษณะคล้าย เติ้งเสี่ยวผิง อดีตผู้นำจีน สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกบรรหารสั้น ๆ ว่า "เติ้ง" หรือ "เติ้งเสี่ยวหาร" และ"ปลาไหล" เนื่องจากเป็นคนพลิกพลิ้วว่องไว ลื่นไหลไปกับทุกสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี

บทบาทหลังการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แก้

ในการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2548 พรรคชาติไทยซึ่งใช้คำหาเสียงว่า "สัจจะนิยม สร้างสังคมให้สมดุล" บรรหารในฐานะหัวหน้าพรรคได้ประกาศไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า จะไม่ขอร่วมรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร อีก ถ้าพรรคไทยรักไทยสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 พรรคชาติไทยได้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน และร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์และพรรคมหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549

ก่อนการเลือกตั้งในปลาย พ.ศ. 2550 ไม่นาน ผู้สื่อข่าวถามว่า จะไปร่วมกับพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจเก่าจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ บรรหารตอบว่า "จะไม่ทำให้ผู้ใหญ่ที่นับถือมา 30 ปี ผิดหวัง" ซึ่งบรรหารไม่ได้บอกว่าเป็นใคร แต่สาธารณชนก็ตีความว่า หมายถึง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ หลังการเลือกตั้งปรากฏว่า บรรหารและพรรคชาติไทยก็ไปเข้าร่วมกับพรรคพลังประชาชนจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรค ได้ออกมาโจมตีและแฉพฤติกรรมบรรหารเป็นการใหญ่

บรรหารรวมทั้งวราวุธและกัญจนาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลาทั้งหมด 5 ปี เนื่องจากการยุบพรรคชาติไทย ซึ่งขณะนั้นบรรหารดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค

ในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มีผู้พบระเบิดที่ที่ทำการพรรคชาติไทยเพื่อเป็นการข่มขู่ที่มีข่าวว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคชาติไทยพัฒนาจะสนับสนุนอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี[29] ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไทย ธันวาคม พ.ศ. 2551ต่อมาในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พรรคชาติไทยพัฒนา ร่วมรัฐบาลกับพรรคประชาธิปัตย์ โดยชุมพล ศิลปอาชาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาและ ธีระ วงศ์สมุทรเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ใน พ.ศ. 2554 พรรคชาติไทยพัฒนา ร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากเนื่องจากทั้งสองพรรคมีความเป็นศัตรูกันอย่างชัดเจนโดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่างประกาศพระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อใช้กับนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามส่งผลให้เกิดคดี นักการเมืองจากทั้งสองพรรค ถูกศาลออกหมายจับ ในข้อหาทำผิดกฎหมายดังกล่าวจำนวนมาก ในขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนาได้ผลประโยชน์จากการร่วมงานกับทั้งสองพรรคกล่าวคือ ชุมพล ศิลปอาชาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาและธีระ วงศ์สมุทรเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ใน พ.ศ. 2556 เขาอาสาทำงานเป็น ผู้ประสานงานคณะทำงานเวทีปฏิรูปประเทศ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ให้แก่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[30] โดยเข้าพบ สนธิ ลิ้มทองกุล และ จำลอง ศรีเมือง ในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556[31] เขายืนยันว่าพรรคชาติไทย ไม่ได้ทำผิดและไม่สมควรถูกยุบพรรค

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ลำดับที่ 1[32]

คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรียกเขารายงานตัวตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 23/2557 เขาไปรายงานตัวในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557[33]

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.

แก้
  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  10. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  11. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัด พรรคชาติไทย
  12. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัด พรรคชาติไทยพัฒนา (การเลือกตั้งเป็นโมฆะ)

อนิจกรรม

แก้

วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559 เกิดภาวะภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ จึงนำส่งโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร อาการวิกฤติตั้งแต่วันแรกที่เข้ารักษา จนถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะดังกล่าวเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 04:42 นาฬิกา[34][35] รวมอายุ 83 ปี 247 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

รางวัลและเกียรติยศ

แก้

บรรหาร ศิลปอาชา ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่บรรหาร ศิลปอาชา เมื่อ พ.ศ. 2533[36]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

บรรหาร ศิลปอาชา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[37] ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. อดีตประธานกรรมการมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา
  2. อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 11 สมัย
  3. อดีตนายกสภาสถาบันการพลศึกษา
  4. อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท สหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด[ลิงก์เสีย]
  5. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2010-05-09.
  6. "บรรหาร ศิลปอาชา – Thailand Democracy Watch". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.
  7. ภูมิลำเนา บรรหาร ศิลปอาชา
  8. ก่อตั้งบริษัทวารทิพย์ จำกัด
  9. 'บรรหาร' กับ 'บ้านเมือง'
  10. เขาเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีที่มีฐานะร่ำรวย
  11. เขายังเป็นอาของนคร ศิลปอาชา
  12. ได้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการ
  13. "บัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-13. สืบค้นเมื่อ 2010-11-15.
  14. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  15. คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เรื่อง คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญระหว่าง พินิจ จันทรสุรินทร์ และพวก กับบรหาร ศิลปอาชา
  16. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-02.
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๙ก วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง) เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๒๐ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
  19. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  20. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  21. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (๑.นายบรรหาร ศิลปอาชา พ้นจากตำแหน่ง รมต.กระทรวงอุตสาหกรรม เป็น รมต.กระทรวงมหาดไทย ๒.พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร พ้นจากตำแหน่ง รมต. กระทรวงมหาดไทย เป็น รมต. กระทรวงอุตสาหกรรม)
  22. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  23. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  24. ขอดเกล็ดมังกรเติ้ง บรรหาร ศิลปอาชา ชื่อนี้ไม่มีวันแพ้ ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2559
  25. ไขกุญแจสูตรสำเร็จ 'บรรหาร' มรดก รธน.ปี 40 - สัจจะ 'มังกรการเมือง' นำ รบ.ผสมแก้ไข รธน. Voice online สืบค้นเมื่อ Aug 19, 2020
  26. "จัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-12-05. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  27. "การนำประเทศเข้าสู่เวทีประชาคมโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-20. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  28. "การยุบสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-12-05. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  29. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคชาติไทยพัฒนาจะสนับสนุนอภิสิทธิ์
  30. ผู้ประสานงานคณะทำงานเวทีปฏิรูปประเทศ[ลิงก์เสีย]
  31. "ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-23. สืบค้นเมื่อ 2016-04-25.
  32. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคชาติไทยพัฒนา)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 2014-01-22.
  33. คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 23/2557
  34. บรรหาร ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคหอบหืด รวมอายุ 83 ปี
  35. "บรรหาร"ถึงแก่อนิจกรรม ปิดตำนาน"มังกรสุพรรณ" – เดลินิวส์
  36. "ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-01-21. สืบค้นเมื่อ 2018-01-02.
  37. "รวมข่าวในพระราชสำนัก ประจำปี 2559 (เล่มที่ 1/1) 1 กุมภาพันธ์ - 31 ธันวาคม 2559" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (43ข): 326. September 12, 2017. สืบค้นเมื่อ February 18, 2021.
  38. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  39. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  40. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2013-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  41. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
  42. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐, ๓ เมษายน ๒๕๓๔
  43. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๔, ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓๙
  • วีรชาติ ชุ่มสนิท, 24 นายกรัฐมนตรีไทย, ออลบุ๊คส์พับลิสชิ่ง, 2549 ISBN 974-94553-9-8

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง

แก้


ก่อนหน้า บรรหาร ศิลปอาชา ถัดไป
ชวน หลีกภัย    
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
(13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
  พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539)
  เสนาะ เทียนทอง
พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(9 มกราคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533)
  พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร
สมัคร สุนทรเวช    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
(5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531)
  มนตรี พงษ์พานิช