เติ้ง เสี่ยวผิง

อดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
(เปลี่ยนทางจาก เติ้งเสี่ยวผิง)

เติ้ง เสี่ยวผิง (จีนตัวย่อ: 邓小平; จีนตัวเต็ม: 鄧小平; พินอิน: Dèng Xiǎopíng; เวด-ไจลส์: Teng Hsiao-p'ing) (22 สิงหาคม พ.ศ. 244719 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540) เป็นนักการเมืองชาวจีนที่เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 จนกระทั่งเขาเกษียณอายุในปี ค.ศ. 1992 ภายหลังจากประธานเหมา เจ๋อตงถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1976 เติ้งได้ค่อย ๆ ลุกขึ้นสู่อำนาจและนำประเทศจีนผ่านชุดการปฏิรูปเศรษฐกิจ-ตลาดที่กว้างขวาง ซึ่งทำให้เขาได้มีชื่อเสียงในฐานะ "ผู้ออกแบบประเทศจีนสมัยใหม่"[1]

เติ้ง เสี่ยวผิง
邓小平
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
13 กันยายน พ.ศ. 2524 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
(8 ปี 57 วัน)
ก่อนหน้าฮฺว่า กั๋วเฟิง
ถัดไปเจียง เจ๋อหมิน
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่3
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
(8 ปี 134 วัน)
หัวหน้ารัฐบาล
รองประธานาธิบดี
ก่อนหน้าฮฺว่า กั๋วเฟิง
ถัดไปเจียง เจ๋อหมิน
ประธานคณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลาง
แห่งพรรคคอมมิวนิสต์
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532
(8 ปี 134 วัน)
ก่อนหน้าฮฺว่า กั๋วเฟิง
ถัดไปเจียง เจ๋อหมิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 สิงหาคม พ.ศ. 2447
มณฑลเสฉวน จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 (92 ปี)
กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คู่สมรสจัว หลิน (2482–2540)
เติ้ง เสี่ยวผิง
อักษรจีนตัวย่อ邓小平
อักษรจีนตัวเต็ม鄧小平
เติ้ง เซียนเฉิง
อักษรจีนตัวย่อ邓先圣
อักษรจีนตัวเต็ม鄧先聖
Deng Xixian
อักษรจีนตัวย่อ邓希贤
อักษรจีนตัวเต็ม鄧希賢

เขาเกิดในตระกูลเจ้าของที่ดินที่มีการศึกษาในมณฑลเสฉวน เติ้งได้เรียนและทำงานในฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1920 ที่นั่นเขาได้กลายเป็นสาวกลัทธิมากซ์และลัทธิเลนิน เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนในปี ค.ศ. 1923 เมื่อเดินทางกลับจีน เติ้งก็ได้เข้าร่วมกับองค์กรพรรคในเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจการทางการเมือง (คอมมิสซาร์) จากกองทัพแดงในพื้นที่ชนบท ในปี ค.ศ. 1931 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งภายในพรรค เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากเหมา เจ๋อตง แต่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งอีกครั้งในช่วงการประชุมซุนยี่ ค.ศ. 1935 ในปลายปี ค.ศ. 1930 เติ้งได้ถูกมองว่าเป็น "ทหารผ่านศึกการปฏิวัติ" เพราะเขาเข้าร่วมในการเดินทัพทางไกล ภายหลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 เติ้งทำงานในทิเบตเช่นเดียวกับในจีนตะวันตกเฉียงใต้เพื่อรวบรวมการควบคุมคอมมิวนิสต์  ในฐานะเลขาธิการพรรคในปี ค.ศ. 1950 เติ้งได้เป็นประธานในการรณรงค์ต่อต้านฝ่ายขวาที่ถูกเปิดฉากโดยประธานเหมา และกลายเป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของจีนในช่วงหลังการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า (ค.ศ. 1958–1960) อย่างไรก็ตาม นโยบายทางเศรษฐกิจของเขาทำให้เขาหลุดออกจากความโปรดปรานของประธานเหมา และถูกรังแกข่มเหงถึงสองครั้งในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม

ภายหลังเหมา เจ๋อตงได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1976 เติ้งได้เอาชนะด้วยเล่ห์เหลี่ยมกับผู้สืบทอดตำแหน่งประธานคนต่อมาอย่างฮั่ว กั๋วเฟิงและกลายเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของจีนคนใหม่ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1978 การสืบสานต่อประเทศที่รุมเร้าไปด้วยความขัดแย้งทางสังคม ความไม่ลงรอยกันของพรรคคอมมิวนิสต์ และความวุ่นวายของสถาบันอันเป็นผลมาจากนโยบายที่ยุ่งเหยิงในยุคสมัยเหมา เติ้งได้เริ่มต้นนโยบาย "โปล่วน ฝ่านเจิ้ง" (拨乱反正; กำจัดความวุ่นวายและกลับสู่ปกติ) ซึ่งนำประเทศกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1977 ถึงต้นปี ค.ศ. 1979 เขาได้กลับมาสอบเข้าเรียนวิทยาลัยในจีนซึ่งถูกขัดจังหวะจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นเวลาสิบปี ได้ริเรื่มการปฏิรูปและเปิดประเทศในประวัติศาสร์ และเริ่มสงครามจีน-เวียดนามในเวลาหนึ่งเดือน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1982 เขาได้เริ่มปฏิรูปทางการเมืองของจีนโดยกำหนดวาระที่จำกัดของเจ้าหน้าที่ทางการและเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่สามของจีนอย่างเป็นระบบซึ่งถูกทำขึ้นภายใต้ยุคสมัยฮั่ว กั๋วเฟิง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ถูกรวบรวมตามรัฐธรรมนูญนิยมแบบของจีน และผ่านความเห็นชอบของสภาประชาชนแห่งชาติในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1982 โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ยังมีผลบังคับใช้จนถึงทุกวันนี้ ในปี ค.ศ. 1980 เติงได้สนับสนุนนโยบายการวางแผนครอบครัวเพื่อรับมือกับวิกฤตจากการมีประชากรมากเกินไปของจีน ช่วยสร้างระบบการศึกษาภาคบังคับเป็นเวลาเก้าปีของจีน และเปิดโครงการ 863 สำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ในขณะที่เติ้งไม่เคยดำรงตำแหน่งเป็นประมุขแห่งรัฐ หัวหน้ารัฐบาล หรือเลขาธิการ (ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์) บางคนจะเรียกเขาว่า "ผู้ออกแบบ" ของเครื่องหมายใหม่ของแนวคิดที่ผสมผสานอุดมการณ์สังคมนิยมกับองค์กรอิสระ ที่ถูกเรียกว่า "ลัทธิสังคมนิยมด้วยลักษณะพิเศษของจีน"[2] เขาได้เปิดประเทศจีนเพื่อการลงทุนจากต่างประเทศและตลาดโลก นโยบายที่ให้เครดิตกับการพัฒนาประเทศจีนให้เป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลกมาหลายชั่วรุ่นและยกระดับมาตรฐานการครองชีพหลายร้อยล้านคน[3] เติ้งเป็นบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ในฉบับปี ค.ศ. 1978 และ ค.ศ. 1985[4][5] ผู้นำจีนคนที่สามและผู้นำสมัยที่สี่ของพรรคคอมมิวนิสต์ที่ถูกรับเลือกมา เขาได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ออกคำสั่งในการปราบปรามการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ปี ค.ศ. 1989 แต่ได้รับความนิยมจากการยืนยันใหม่ของการปฏิรูปโครงการในการท่องเทียวภาคใต้ในปี ค.ศ. 1992 เช่นเดียวกับการได้รับฮ่องกงกลับคืนสู่การควบคุมของจีนในปี ค.ศ. 1997

อ้างอิง แก้

  1. Faison, Seth (1997-02-20). "DENG XIAOPING IS DEAD AT 92; ARCHITECT OF MODERN CHINA". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
  2. "CONSTITUTION OF THE COMMUNIST PARTY OF CHINA" (PDF). Xinhuanet.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Denmark, Abraham. "40 years ago, Deng Xiaoping changed China — and the world". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
  4. "TIME Magazine Cover: Teng Hsiao-p'ing, Man of the year - Jan. 1, 1979". TIME.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
  5. "TIME Magazine Cover: Deng Xiaoping, Man of the Year - Jan. 6, 1986". TIME.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
ก่อนหน้า เติ้ง เสี่ยวผิง ถัดไป
อันวาร์ ซาดัต   บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1978)
  อะญาตุลลอฮ์ โคไมนี
ปีเตอร์ อูเบอร์รอธ   บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1985)
  คอราซอน อากีโน