การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 11[1] การเลือกตั้งครั้งนี้เกิดเนื่องจาก หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ได้ตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาสภาผู้แทนราษฎรขึ้น เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2519 เนื่องจากรัฐบาลประสบปัญหาหลายประการทั้งการเมืองและการเรียกร้องต่าง ๆ ของประชาชนทั่วประเทศ โดยให้มีการเลือกตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน ปีเดียวกัน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519

← พ.ศ. 2518 4 เมษายน พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2522 →

ทั้งหมด 279 ที่นั่งในรัฐสภาไทย
ต้องการ 140 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ผู้ใช้สิทธิ44.0% ลดลง
  First party Second party Third party
 
ผู้นำ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ประมาณ อดิเรกสาร หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
พรรค ประชาธิปัตย์ ชาติไทย กิจสังคม
เขตของผู้นำ 22 เมษายน 2511

กรุงเทพมหานคร เขต 5

19 พฤศจิกายน 2517

สระบุรี เขต 1

4 พฤศจิกายน 2517

กรุงเทพมหานคร เขต 1 (แพ้)

เลือกตั้งล่าสุด 72 28 18
ที่นั่งที่ชนะ 114 56 45
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 42 เพิ่มขึ้น 28 เพิ่มขึ้น 27
คะแนนเสียง 4,745,990 3,280,134 3,272,170
% 25.3% 17.5% 17.5%

นายกรัฐมนตรีก่อนการเลือกตั้ง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
กิจสังคม

ว่าที่นายกรัฐมนตรี

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ประชาธิปัตย์

ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคประชาธิปัตย์ โดยการนำของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรค ซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีและเป็นพี่ชายของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยได้รับเลือกมาเป็นอันดับหนึ่ง ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ทั้งหมดถึง 114 คน จากจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่จะมีได้ คือ 279 คน นับว่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองหลวง พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส.มากถึง 24 คน[2] ถือว่าได้ยึดครองพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพฯไว้ได้ ขณะที่พรรคกิจสังคม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้ ส.ส.มาทั้งหมด 45 คน ถือเป็นอันดับสาม โดยที่พรรคชาติไทยได้เป็นอันดับสอง คือ 56 ที่นั่ง [3]

มีการวิเคราะห์กันว่า พรรคกิจสังคมของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะการบริหารราชการที่ผ่านมาจากการยกเลิกความร่วมมือทางการทหารกับทางสหรัฐอเมริกา โดยไปเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์แทน อีกทั้งตัวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เองในครั้งนี้ก็ยังพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้แก่ นายสมัคร สุนทรเวช นักการเมืองหนุ่ม ผู้เป็นเสมือนดาวรุ่งในขณะนั้นของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่เขตดุสิต ซึ่งเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของตนเองด้วย

การจัดตั้งรัฐบาลเกิดขึ้นโดยเป็นรัฐบาลผสม 4 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทย, พรรคธรรมสังคม และพรรคสังคมชาตินิยม รวมกันแล้วมีจำนวนเสียง ส.ส.ทั้งหมด 206 เสียง ถือว่าเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร

ในวันที่ 20 เมษายน ปีเดียวกัน มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 3 ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ที่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[4]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2539. ศูนย์บริการข้อมูลและกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 1996. pp. 5–7.
  2. "ประวัติพรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-15. สืบค้นเมื่อ 2012-06-27.
  3. Sangchai, Somporn (1979), "Some Observations on the Elections and Coalition Formation in Thailand, 1976", Modern Thai Politics (Transaction Publishers): p. 378,
  4. เสนีย์ฯ คัมแบ็ก พรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลผสม 4 พรรค, หน้า 154. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ISBN 978-974-228-070-3