พรรคธรรมสังคม
พรรคธรรมสังคม เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เป็นพรรคการเมืองลำดับที่ 12/2517 มีนายทวิช กลิ่นประทุม เป็นหัวหน้าพรรค และมีพันตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา เป็นเลขาธิการพรรค[1]
พรรคธรรมสังคม | |
---|---|
หัวหน้า | ทวิช กลิ่นประทุม |
รองหัวหน้า | สุรินทร์ เทพกาญจนา ทองหยด จิตตวีระ นิพนธ์ ศศิธร |
เลขาธิการ | พันตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา |
ก่อตั้ง | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 |
ถูกยุบ | พ.ศ. 2519 |
ที่ทำการ | 61 ถนนเกษมราษฎร์ แขวงคลองเตย เขตพระโขนง กรุงเทพฯ |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
คณะกรรมการบริหารพรรค
แก้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดแรก ประกอบด้วย
- หัวหน้าพรรค ได้แก่ ทวิช กลิ่นประทุม
- รองหัวหน้าพรรค ได้แก่ สุรินทร์ เทพกาญจนา ทองหยด จิตตวีระ และ นิพนธ์ ศศิธร
- เลขาธิการพรรค ได้แก่ พันตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา
- รองเลขาธิการพรรค ได้แก่ สุวรรณ ธนกัญญา
บทบาททางการเมือง
แก้การเลือกตั้ง พ.ศ. 2518
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 พรรคธรรมสังคม ได้รับเลือกตั้งในสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 45 ที่นั่ง เป็นลำดับที่ 2 รองจากพรรคประชาธิปัตย์[2] ซึ่งหลังเลือกตั้ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 และจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 35 โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคเกษตรสังคม และพรรคแนวร่วมสังคมนิยม แต่ได้คะแนนเสียงสนับสุนนเพียง 103 คน ไม่ถึงครึ่งของสภา (135 คน)
รัฐธรรมนูญสมัยนั้น กำหนดว่า การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต้องได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อถึงวันแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อสภา วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 ปรากฏว่า รัฐบาล หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ได้รับเสียงสนับสนุนเพียง 111 เสียง ถือว่าไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎร หม่อมราชวงศ์เสนีย์ และพรรคประชาธิปัตย์ จึงแสดงความรับผิดชอบ โดยการลาออก และสละสิทธิ์การตั้งรัฐบาล
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งมี ส.ส.ในสภาเพียง 18 เสียง สามารถรวบรวม ส.ส.พรรคต่าง ๆ รวม 8 พรรค ได้ 135 เสียง เท่ากับครึ่งหนึ่งพอดี ซึ่งพรรคธรรมสังคม ได้เข้าร่วมในการสนับสนุน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ จัดตั้งรัฐบาลด้วย โดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีเสียงมากที่สุด 74 เสียง กลายเป็นฝ่ายค้าน ในครั้งนั้นพรรคธรรมสังคม ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรี 9 ตำแหน่ง คือ
- ทวิช กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ทองหยด จิตตวีระ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นิพนธ์ ศศิธร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ประชุม รัตนเพียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- สุรินทร์ เทพกาญจนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พลโท ชาญ อังศุโชติ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
- เรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พันตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- สุวรรณ ธนกัญญา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ต่อมาวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายบุญส่ง สมใจ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2519
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 พรรคธรรมสังคม ได้รับที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 28 ที่นั่ง เป็นลำดับที่ 4 ของจำนวนพรรคการเมืองทั้งหมด รองจากพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคกิจสังคม
พรรคธรรมสังคม มี ส.ส. ทั่วทุกภาคของประเทศ ยกเว้นเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้รับที่นั่งทั้งหมด โดยภาคอีสานมีจำนวนมากที่สุด 12 ที่นั่ง ภาคเหนือ 5 ที่นั่ง ภาคตะวันตก 4 ที่นั่ง ภาคตะวันออกและภาคกลาง ภาคละ 3 ที่นั่ง และภาคใต้ 1 ที่นั่ง
หลังการเลือกตั้งได้มีการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพรรคธรรมสังคมได้เข้าร่วมรัฐบาล และมีสมาชิกของพรรคได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี อาทิ พลอากาศเอก ทวี จุลทรัพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นรองนายกรัฐมนตรี และ ทวิช กลิ่นประทุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ นิพนธ์ ศศิธร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชุบุรี เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย เป็นต้น
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2522
แก้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 พรรคธรรมสังคม มีสามาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียง 1 คน คือ อัมพล จันทรเจริญ จากจังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ย้ายไปสังกัดพรรคการเมืองอื่น
ยุบพรรค
แก้วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2517 มีผลให้บรรดาพรรคการเมืองที่มีอยู่เป็นอันสิ้นสุดลง [3] ในปี พ.ศ. 2522 ได้จัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. แต่ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมือง พรรคธรรมสังคม จึงดำเนินกิจกรรมในฐานะเป็น "กลุ่มการเมืองธรรมสังคม" ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยกเลิกคำสั่งฉบับดังกล่าว [4] ส่งผลให้ทุกพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 ยังคงดำรงอยู่เหมือนเดิม
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6
- ↑ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524