บุญเลิศ เลิศปรีชา

พันตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก 5 สมัย และอดีตเลขาธิการพรรคธรรมสังคม[1]

พันตำรวจโท
บุญเลิศ เลิศปรีชา
ม.ว.ม., ป.ช.
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2462
เสียชีวิต 12 มิถุนายน พ.ศ. 2536 (74 ปี)
คู่สมรส ชำนาญ เลิศปรีชา
บุตร ร.ศ.สุภัททา ปิณฑะแพทย์

ประวัติแก้ไข

พันตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2462[2] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวัดบวรนิเวศ,โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย,โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

การทำงานแก้ไข

พันตำรวจโท บุญเลิศ เคยรับราชการตำรวจ เป็นหัวหน้าตำรวจสันติบาลจังหวัดสงขลา[3] ซึ่งมีเหตุการณ์ที่ทำให้เป็นที่รู้จักคือ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ พร้อมคณะ ออกเดินทางมาพบ พ.ต.ท. บุญเลิศ ที่หน่วยสันติบาลสงขลาแล้วหายสาบสูญไป[4]

พันตำรวจโท บุญเลิศ เริ่มเข้าสู่การทำงานการเมือง โดยสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ในพื้นที่จังหวัดนครนายก สังกัดพรรคสหประชาไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 ในสังกัดพรรคธรรมสังคม

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 ในสังกัดพรรคกิจสังคม

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[5]

โรคร้อยเอ็ดแก้ไข

หลังจากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 มีการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดร้อยเอ็ด เขตหนึ่ง เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2524 ครั้งนี้มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดระหว่างพันตำรวจโท บุญเลิศ จากพรรคกิจสังคม กับพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติประชาธิปไตย จึงต้องใช้การซื้อเสียงเชิงรุก เพื่อให้ได้ ส.ส. จึงใช้การแจกจ่ายเงินสดแทนข้าวของ ทำกันอย่างเอิกเกริกแต่ก็ไม่มีการลงโทษตามกฎหมาย จึงเป็นต้นกำเนิดของการซื้อเสียงอย่างแพร่หลายในภาคอีสานในเวลาต่อมา[6][7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
  2. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
  3. ย้อนรอยการเมือง Di Selatan (7)
  4. ตำรวจพัวพันการหายตัวของนายหะยี สุหลง, หน้า 60. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (มีนาคม, 2555) ISBN 978-974-228-070-3
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  6. การเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดร้อยเอ็ด เขตหนึ่ง[ลิงก์เสีย]
  7. กำเนิดของการซื้อเสียงอย่างแพร่หลายในภาคอีสาน[ลิงก์เสีย]
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘๐๐, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖