ทองหยด จิตตวีระ
ทองหยด จิตตวีระ เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 จังหวัด คือ จังหวัดระนอง และจังหวัดสุพรรณบุรี และอดีตนายกสมาคมสันนิบาทเทศบาลแห่งประเทศไทย[1]
ทองหยด จิตตวีระ ม.ป.ช., ม.ว.ม. | |
---|---|
![]() | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2524 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | เสม พริ้งพวงแก้ว |
ถัดไป | มารุต บุนนาค |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ก่อนหน้า | ดำรง ลัทธพิพัฒน์ |
ถัดไป | ดำรง ลัทธพิพัฒน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2452 |
เสียชีวิต | 2 ธันวาคม พ.ศ. 2534 (82 ปี) |
คู่สมรส | ชวนชม จิตตวีระ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ประวัติแก้ไข
ทองหยด จิตตวีระ เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2452 และเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2534 รวมอายุ 82 ปี
การทำงานแก้ไข
ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไข
ทองหยด เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับเลือกตั้งสมัยแรก จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[2] สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีก 5 สมัยติดต่อกัน[3] ถึงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 จากนั้นจึงได้ย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตจังหวัดระนอง และได้รับเลือกตั้งอีกเป็นสมัยที่ 7 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคกิจสังคม
นอกจากนั้นเขาเคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[4]
ฝ่ายบริหารแก้ไข
ทองหยด จิตตวีระ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518[5] จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 แต่ยังคงทำหน้าที่รักษาการจนกว่าจะได้รัฐบาลใหม่ในเดือนเมษายนของปีเดียวกัน
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2523[6] และถูกปรับออกจากตำแหน่งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2524 กระทั่งเขาได้รับแต่งตั้งกลับเข้ามาเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเดิมอีกครั้ง เมื่อเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน[7]
ในปี พ.ศ. 2533 ทองหยดได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (ชาติชาย 5)[8]
พรรคการเมืองแก้ไข
ทองหยด เคยเป็นรองหัวหน้าพรรคธรรมสังคม[9] ในปี พ.ศ. 2517
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2524 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2523 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ทำเนียบนายก ส.ท.ท.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี (ลาออกจากตำแหน่ง จำนวน ๘ ราย และแต่งตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๑๓ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐ เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๙ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖ เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
ก่อนหน้า | ทองหยด จิตตวีระ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เสม พริ้งพวงแก้ว | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (3 มีนาคม พ.ศ. 2523 - 5 มีนาคม พ.ศ. 2524) |
เสม พริ้งพวงแก้ว |