คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 36
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 36 ของไทย (14 มีนาคม พ.ศ. 2518 - 12 มกราคม พ.ศ. 2519)
คณะรัฐมนตรีคึกฤทธิ์ | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 36 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2519 | |
วันแต่งตั้ง | 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 |
วันสิ้นสุด | 20 เมษายน พ.ศ. 2519 (1 ปี 34 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคกิจสังคม (18) พรรคธรรมสังคม (45) พรรคชาติไทย (28) พรรคเกษตรสังคม (19) พรรคสังคมชาตินิยม (16) พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย (15) พรรคพลังใหม่ (12) พรรคแนวร่วมสังคมนิยม (10) พรรคสันติชน (8) พรรคประชาธรรม (6) พรรคไท (4) พรรคฟื้นฟูชาติไทย (3) พรรคสยามใหม่ (3) พรรคประชาธิปไตย (2) พรรคอธิปัตย์ (2) พรรคแผ่นดินไทย (2) พรรคพลังประชาชน (2) พรรคพัฒนาจังหวัด (1) พรรคเสรีชน (1) พรรคเกษตรกร พรรคแรงงาน (1) พรรคเศรษฐกร (1) |
สถานะในสภานิติบัญญัติ | รัฐบาลผสม 135 / 269 |
พรรคฝ่ายค้าน | พรรคประชาธิปัตย์ (72) |
ประวัติ | |
สิ้นสุดจากการเลือกตั้ง | 4 เมษายน พ.ศ. 2519 |
สภานิติบัญญัติ | สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11 |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 35 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 37 |
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระประมาภิไธยในประกาศ
นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ ประธานรัฐสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม มีสภาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดเพียง 18 เสียง แต่ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากได้รับความไว้วางใจจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล
รัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดจากการรวมตัวของพรรคการเมืองหลายพรรค ได้แก่ พรรคกิจสังคม พรรคไท พรรคพลังประชาชน และพรรคอื่น ๆ มีชื่อเรียกรัฐบาลในสมัยนั้นว่า "รัฐบาลสหพรรค"
รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 36 ของไทย
แก้ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 มีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังนี้[1]
- พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายปรีดา พัฒนถาบุตร เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายบุญชู โรจนเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายทวิช กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พลตรี ศิริ สิริโยธิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายทองหยด จิตตวีระ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายใหญ่ ศวิตชาติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายนิพนธ์ ศศิธร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายประชุม รัตนเพียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายสุรินทร์ เทพกาญจนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พลโท ชาญ อังศุโชติ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
- พลเรือเอก กมล สีตกะลิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายดาบชัย อัคราช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอนันต์ ภักดิ์ประไพ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- เรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายอนันต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พันตำรวจโท บุญเลิศ เลิศปรีชา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พันเอก ประกอบ ประยูรโภคราช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายประเสริฐ บุญสม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสุวรรณ ธนกัญญา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายอุทัย ชุณหะจันทน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี
แก้ผลการลงมติออกเสียงเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 ผลปรากฏว่า หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้คะแนน 135 คะแนน และพันเอก สมคิด ศรีสังคม ได้ 59 คน งดออกเสียง 75 คน
การปรับคณะรัฐมนตรี
แก้คณะรัฐมนตรีมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ดังนี้ คือ
- วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2518 นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[2]
- วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2519 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้[3]
- นายใหญ่ ศวิตชาต พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- พลโท ชาญ อังศุโชติ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
- พลเรือเอก กมล สีตะกลิน พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายอนันต์ ภักดิ์ประไพ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายบุญคุ้ม จันทรศรีสุริยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายประเสริฐ บุญสม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกตำแหน่งหนึ่ง
- นายทวิช กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี อีกตำแหน่งหนึ่ง
- นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายนิพนธ์ ศศิธร พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และตั้งให้เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ
- นายประชุม รัตนเพียร พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายประเทือง คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายบุญส่ง สมใจ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอนันต์ ฉายแสง พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายประทวน รมยานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายธเนตร เอียสกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายปัญจะ เกสรทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายแสวง พิบูลย์สราวุธ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายวัฒนา อัศวเหม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้[4]
- นายทวิช กลิ่นประทุม พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายบุญส่ง สมใจ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอนันต์ ฉายแสง พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นโยบายของรัฐบาลสหพรรค
แก้- การพัฒนาชนบท ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ดำเนินนโยบายกระจายความเจริญสู่ชนบทโดนจัดทำ“โครงการพัฒนาท้องถิ่นและช่วยเหลือประชาชนในชนบทให้มีงานทำในฤดูแล้ง” (ปชส.) หรือเรียกว่า “โครงการเงินผัน” สู่ตำบลทั่วประเทศ ให้ประชาชนได้มีงานทำและการจัดสวัสดิการสังคม การให้รักษาพยาบาลฟรี การศึกษาฟรี การขึ้นรถเมล์ฟรี ฯลฯ
- การเปิดความสัมพันธ์กับประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เช่นประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะในแถบอินโดจีน คือประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะเดียวกันมีการต่อต้านฐานทัพของสหรัฐอเมริกาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ประเทศไทย
ปัญหาในสมัยรัฐบาลสหพรรค
แก้- ปัญหาความขัดแย้งภายในรัฐบาล
การบริหารประเทศของรัฐบาลสหพรรคประสบกับความยุ่งยาก เนื่องจาก มีปัญหากันในคณะรัฐบาล ได้แก่ การที่พรรคการเมืองหลายพรรคที่ร่วมรัฐบาลต่างแย่งชิงผลประโยชน์ และเรียกร้องตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลเพื่อแลกเปลี่ยนกับการให้สนับสนุนรัฐบาล
- วิกฤตการณ์และความขัดแย้งในสังคม
นอกจากปัญหาภายในรัฐบาลแล้ว ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่เป็นความขัดแย้งนานัปการ เนื่องมาจากมีการแสดงออกซึ่งเสรีภาพต่างๆ ในรูปของการเรียกร้องความเป็นธรรม การชุมนุมการ ประท้วง การนัดหยุดงานบ่อยครั้ง เป็นต้น เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยนี้ได้แก่
- การประท้วงบริษัทเทมโก้ ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานขุดแร่ที่จังหวัดพังงา แนวน่วมพิทักษ์ทรัพยากรแห่ง ประเทศไทย และกลุ่มนิสิตนักศึกษามาร่วมกันประท้วงรัฐบาลให้ยกเลิกสัมปทานให้แก่บริษัทดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
- การต่อต้านสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการตั้งฐานทัพและเรดาร์ในประเทศไทย นักศึกษากลุ่มต่างๆรวมตัวกันเพื่อให้รัฐบาลไทยตกลงกับสหรัฐอเมริกาดำเนินการถอนฐานทัพออกไปจากแผ่นดินไทย เพราะทำให้ประเทศเป็นฐานในการก่อสงครามและทำลายความสงบสุขของประเทศเพื่อนบ้าน
- การชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมของชาวไร่ชาวนาและผู้ใช้แรงงานซึ่งบีบบังคับให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาในเรื่องต่างๆ เช่น หนี้สิน ราคาพืชผล ค่าแรง และปัญหาด้านกฎหมาย
- การสังหารผู้นำกลุ่มต่างๆที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์และอุดมการณ์ เช่น การเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงจากผู้ประกอบการในบริษัทต่างๆ การเรียกร้องกรรมสิทธิ์ที่ทำกินของชาวไร่ชาวนา ผู้ทำการเรียกร้องถูกมองว่าฝักใฝ่ในเรื่องคอมมิวนิสต์
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 36 ของไทย
แก้คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ตามความในมาตรา 187 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยที่มีพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรคทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพมั่นคงเพียงพอ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และกำหนดการเลือกตั้งในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519
คณะรัฐมนตรีซึ่งมี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี จึงพ้นจากตำแหน่งไป แต่ต้องรักษาการจนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ามาทำหน้าที่ ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2519
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (พ้นจากตำแหน่ง ๖ ราย และแต่งตั้ง ๑๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และรัฐมนตรีลาออก (๑. นายทวิช กลิ่นประทุม ๒. นายบุญส่ง สมใจ ๓. นายอนันต์ ฉายแสง)