ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์
ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ (14 มกราคม พ.ศ. 2474 – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (3 สมัย) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 5 สมัย
ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2529 – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 เมษายน พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 มกราคม พ.ศ. 2474 |
เสียชีวิต | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 (65 ปี) เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | สุมาลี เรืองกาญจนเศรษฐ์[1] |
ประวัติ
แก้ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2474 สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [2]
ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เสียชีวิตด้วยการถูกลอบสังหารด้วยอาวุธมีด ในบ้านพักของตนเอง โดยนายอำนาจ เอกพจน์ เป็นผู้ลอบสังหาร และมีนายนิรันดร เรืองกาญจนเศรษฐ์ บุตรชายคนโตเป็นผู้บงการ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2539 สิริอายุรวม 65 ปี [3][4] โดยอำนาจถูกจับกุมในที่เกิดเหตุ หลังจากถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยิงจนได้รับบาดเจ็บ ส่วนนิรันดรได้กระทำอัตวินิบาตกรรมที่บ้านในตำบลจอมอ้น อำเภอจอมบึง เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในวันต่อมา ภุชงค์ แนวจำปาซึ่งเป็นคนดูต้นทางได้ขอมอบตัวที่สะพานพระราม 9 โดยภุชงค์ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ส่วนอำนาจถูกตัดสินประหารชีวิตและถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2542 พร้อมกับนักโทษประหารอีก 4 คน ที่เรือนจำกลางบางขวาง ขณะอายุ 26 ปี[5][6]
งานการเมือง
แก้ไชยศิริ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 รวม 5 สมัย[7] เขาเคยเป็นหัวหน้าพรรคประชาราษฎร์ ในปี พ.ศ. 2525[8] ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคกิจประชาคม"
ไชยศิริ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อ พ.ศ. 2518 ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช[9] และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3 สมัยติดต่อกัน (ครม. 43-45) ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[10] และ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[11]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคประชาธรรม
- การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2524 สังกัดพรรคประชาราษฎร์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[12]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[13]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ สัมผัส หัวอกแม่ คุณหญิงสุมาลี เรืองกาญจนเศรษฐ ผู้บอบช้ำคดี ปิตุฆาต, มติชน 6 มิถุนายน พ.ศ. 2539[ลิงก์เสีย] ฉบับเต็ม เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2531. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2531
- ↑ คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร 15.อำนาจ เอกพจน์ ผมทำเพื่อทดแทนบุญคุณ
- ↑ ย้อน 3 ตำนาน 'บ้านผีเฮี้ยน' หลอนจนเป็นข่าวดังบนหน้าหนังสือพิมพ์
- ↑ “ผมไม่ได้เอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่จะเน้นเนื้องานเป็นหลัก”
- ↑ PUBLIC AI Index: ASA 39/03/99 EXTRA 144/99 Fear of imKINGDOM OF THAILANDA
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชากรไทย พรรคชาติประชาธิปไตย พรรคพลังใหม่ พรรคกิจสังคม พรรคประชาราษฎร์ พรรคแรงงานประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมประชาธิปไตย พรรคเสรีนิยม และพรรคสังคมประชาธิปไตย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-21.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๕ เมษายน ๒๕๑๗