พรรคสันติชน พรรคการเมืองของไทยในอดีตที่จดทะเบียนก่อตั้งตาม พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เป็นลำดับที่ 18/2517 [1] มีวิริยะ เกิดศิริ เป็นหัวหน้าพรรค และศักดา จิตธรรมา เป็นเลขาธิการพรรค

พรรคสันติชน
หัวหน้าดรงค์ สิงห์โตทอง
รองหัวหน้าปรีดา พัฒนถาบุตร
อนันต์ ฉายแสง
ประพันธ์ อัมพุช
เลขาธิการเชวง วงศ์ใหญ่
ที่ปรึกษาวิริยะ เกิดศิริ
ก่อตั้ง21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
ถูกยุบ6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 (1 ปี)
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2518
8 / 269
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร โดยมี ดรงค์ สิงห์โตทอง เป็นหัวหน้าพรรค และเชวง วงศ์ใหญ่ เป็นเลขาธิการพรรค[2]

การเลือกตั้ง

แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 พรรคสันติชนได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 8 คน[3] หลังการเลือกตั้ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 และจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 35 โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคเกษตรสังคม และพรรคแนวร่วมสังคมนิยม แต่ได้คะแนนเสียงสนับสนุนเพียง 103 คน ไม่ถึงครึ่งของสภา (135 คน) และไม่ได้รับความไว้วางใจในการแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎร หม่อมราชวงศ์เสนีย์ จึงลาออกจากตำแหน่ง

หลังจากนั้นหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม จึงได้รวบรวมพรรคการเมืองต่างๆ ได้เสียงสนับสนุน 135 เสียง ซึ่งพรรคสันติชน ได้ให้การสนับสนุนพรรคกิจสังคมด้วย และได้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น สำหรับพรรคสันติชน ได้ตำแหน่งรัฐมนตรี 2 ตำแหน่ง คือ

ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519 พรรคสันติชน ไม่ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรแม้แต่ที่นั่งเดียว

การยุบพรรค

แก้

คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2517 บรรดาพรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เป็นอันสิ้นสุดลง และห้ามตั้งพรรคการเมือง[4] ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยกเลิกคำสั่งฉบับดังกล่าว[5] แต่พรรคสันติชนก็ไม่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาดำเนินกิจกรรมต่อ แต่อย่างใด

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 193 ง พิเศษ หน้า 1 18 กันยายน พ.ศ. 2518
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมือง
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
  4. คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6
  5. พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524