สงัด ชลออยู่
พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ (4 มีนาคม 2458 - 23 พฤศจิกายน 2523) นักการเมืองและทหารเรือชาวไทย เกิดที่บ้านเขาพระ หมู่ที่ 2 ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายแปลก และนางส้มลิ้ม ชลออยู่ สมรสกับ คุณหญิง สุคนธ์ ชลออยู่ (สหัสสานนท์)
พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว., ภ.ป.ร.3 | |
---|---|
![]() | |
ผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ในฐานะหัวหน้า คณะปฏิวัติ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 – 8 ตุลาคม 2519 | |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (นายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | ธานินทร์ กรัยวิเชียร (นายกรัฐมนตรี) |
ดำรงตำแหน่ง 20 ตุลาคม – 11 พฤศจิกายน 2520 | |
ก่อนหน้า | ธานินทร์ กรัยวิเชียร (นายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (นายกรัฐมนตรี) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 22 ตุลาคม 2519 – 20 ตุลาคม 2520 | |
นายกรัฐมนตรี | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
ถัดไป | เล็ก แนวมาลี |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2518 – 30 กันยายน 2519 | |
ก่อนหน้า | กฤษณ์ สีวะรา |
ถัดไป | กมล เดชะตุงคะ |
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 19 พฤศจิกายน 2516 – 30 กันยายน 2518 | |
ก่อนหน้า | เชิดชาย ถมยา |
ถัดไป | อมร ศิริกายะ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 มีนาคม พ.ศ. 2458 จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 (65 ปี) จังหวัดระยอง ประเทศไทย |
คู่สมรส | สุคนธ์ ชลออยู่ |
ลายมือชื่อ | ![]() |
การเข้าเป็นทหาร | |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพเรือ (2516-2519) กองบัญชาการทหารสูงสุด (2518-2519) |
ในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตันระหว่างวันที่ 29 - 30 มิถุนายน 2494 พล.ร.อ.สงัดในขณะนั้นยังมียศ นาวาโท (น.ท.) เป็นผู้บังคับบัญชาเรือรบหลวงสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ยิงปืนจากเรือไปยังรถถังของฝ่ายรัฐบาลจนเสียหาย หลังเหตุการณ์ได้ถูกควบคุมตัวและถูกคุมขังเช่นเดียวกับผู้ต้องหาคนอื่น ๆ ที่สนามกีฬาแห่งชาติด้วย[3]
พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ เป็นนายทหารที่มีบทบาทอย่างสูงในทางการเมือง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ด้วยการเป็นทั้งผู้บัญชาการทหารเรือและผู้บัญชาการทหารสูงสุด และเป็นผู้นำในการรัฐประหารถึง 2 ครั้ง คือในวันที่ 6 ตุลาคม 2519[4] และ 20 ตุลาคม 2520 จนได้รับฉายาว่า "บิ๊กจอวส์" หรือ "จอวส์ใหญ่"[5] ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอาการหัวใจวาย เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2523 ที่โรงพยาบาลประจำอำเภอแกลง จังหวัดระยอง รวมอายุได้ 65 ปี 264 วัน
และจนถึงทุกวันนี้ เมื่อครบรอบวันคล้ายวันถึงแก่อนิจกรรมของท่าน กองทัพเรือยังคงจัดงานรำลึกถึงท่านอยู่เสมอ[6] ซึ่งบุคคลที่ใกล้ชิดและเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านมักเรียกชื่อท่านด้วยความเคารพว่า "ครูหงัด" และได้มีการจัดตั้งมูลนิธิ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ขึ้น โดยมอบเงินเป็นทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนทั่วไปและนักเรียนเตรียมทหารที่มีผลการเรียนดี โดยเฉพาะนักเรียนที่เป็นบุตรหลานของข้าราชการทหาร[3]
การศึกษาแก้ไข
- โรงเรียนวิชัยบำรุงราษฎร์ จังหวัดชัยนาท
- โรงเรียนอุทัยทวีเวท จังหวัดอุทัยธานี
- โรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- โรงเรียนนายเรือ
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 4
- วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่น 1
- ศึกษาและดูงานการปราบเรือดำน้ำที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ตำแหน่งสำคัญในราชการแก้ไข
- ผู้บังคับการกองเรือปราบเรือดำน้ำ 12 เมษายน พ.ศ. 2501
- ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ ฝ่ายยุทธการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507
- ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ 29 กันยายน พ.ศ. 2515[7]
- รองผู้บัญชาการทหารเรือ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2516
- ผู้บัญชาการทหารเรือ (อัตราจอมพลเรือ) 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516
- ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรักษาการผู้บัญชาการทหารเรือ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518
- เกษียณอายุราชการ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ตำแหน่งสำคัญทางการเมืองแก้ไข
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
- สมาชิกวุฒิสภา
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[8]
- หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
- เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ
- ประธานสภานโยบายแห่งชาติ
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2516 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2506 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/D/007/1.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอน 2 ข หน้า 23 6 มกราคม พ.ศ. 2519
- ↑ 3.0 3.1 พันทิวา. จอว์สใหญ่ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่. กรุงเทพฯ : เมกาสโคป, ตุลาคม, 2553. 272 หน้า. ISBN 9786167020266
- ↑ แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง)
- ↑ บั้นปลายระบอบเผด็จอำนาจย้อนอดีต‘สุสานหอย2519’
- ↑ กองทัพเรือรำลึก'จอว์สใหญ่' จากไทยโพสต์
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/D/150/12.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๐)
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- เว็บไซต์มูลนิธิ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่
- http://www.navy.mi.th/navalmuseum/history/html/his_b12_sangad_thai.htm
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สงัด ชลออยู่ |
ก่อนหน้า | สงัด ชลออยู่ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลเอก กฤษณ์ สีวะรา | ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 30 กันยายน พ.ศ. 2519) |
พลอากาศเอก กมล เดชะตุงคะ | ||
พลเรือเอก เชิดชาย ถมยา | ผู้บัญชาการทหารเรือ (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 – 30 กันยายน พ.ศ. 2518) |
พลเรือเอก อมร ศิริกายะ |