พรรคไท (พ.ศ. 2517)
พรรคไท เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 โดยมีนายแผ่พืชน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นเลขาธิการพรรค[1] ภายใต้คำขวัญของพรรคว่า "สร้างไทย ให้เป็นไท"
พรรคไท | |
---|---|
หัวหน้า | แผ่พืชน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
เลขาธิการ | ประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ |
คำขวัญ | สร้างไทย ให้เป็นไท |
ก่อตั้ง | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 |
ถูกยุบ | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 |
การเมืองไทย รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ผู้บริหารพรรค
แก้หัวหน้าพรรค
แก้- แผ่พืชน์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
เลขาธิการพรรค
แก้- สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2518[2])
- ประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ (10 ตุลาคม พ.ศ. 2518 - 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
การเลือกตั้ง
แก้พรรคไท เคยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จำนวน 4 คน[3] ได้แก่ อนันต์ ภักดิ์ประไพ (พิษณุโลก) ธวัชชัย นามวงศ์พรหม (เชียงใหม่) ปกรณ์ กุลกำจร (บุรีรัมย์) และประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ (จันทบุรี)
การร่วมรัฐบาล
แก้พรรคไท เคยเข้าร่วมกับรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 36 โดยในครั้งนั้น อนันต์ ภักดิ์ประไพ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[4] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2518 ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2519 จึงมีการปรับคณะรัฐมนตรี โดยนายอนันต์ พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งนายประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ยุบพรรค
แก้วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พุทธศักราช 2517 มีผลให้บรรดาพรรคการเมืองที่มีอยู่เป็นอันสิ้นสุดลง [5] แม้แต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ยกเลิกคำสั่งฉบับดังกล่าว [6] ส่งผลให้ทุกพรรคการเมืองที่จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 ยังคงดำรงอยู่เหมือนเดิม แต่พรรคไท ก็ไม่ได้รับการฟื้นฟูแต่อย่างใด
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการอำนวยการพรรคการเมือง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-12.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 6
- ↑ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524