ประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ
รองศาสตราจารย์[1] ประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี เจ้าของธุรกิจสวนผลไม้ทุเรียนกระดุมทองเจ้าแรกๆ ของจันทบุรี จนได้รับฉายา "เจ้าพ่อกระดุมทอง" และเป็นบิดาของนายพงศ์เวช เวชชาชีวะ[2]
ประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มกราคม พ.ศ. 2519 – 20 เมษายน พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี |
เสียชีวิต | 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 (85 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ไท |
คู่สมรส | ไพเราะ เวชชาชีวะ |
ประวัติ
แก้ประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของขุนประวิตรเวชชาชีพ (ประวิตร เวชชาชีวะ) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย สมรสกับนางไพเราะ เวชชาชีวะ มีบุตรคือ นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์
การทำงาน
แก้ประภัทรพงศ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดจันทบุรี 1 สมัย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคไท และได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคไท แทนสมบัติ ธำรงธัญวงศ์[3] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในการปรับคณะรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2519[4]
ต่อมาเขาได้วางมือทางการเมือง และหันไปทำธุรกิจปลูกทุเรียนพันธุ์กระดุมทอง ในจังหวัดจันทบุรี หลังจากนั้นชื่อของเขาเป็นที่รู้จักอีกครั้งจากกรณีที่เขามีชื่อเป็นประธานกรรมการบริษัท เคที จำกัด ที่ได้รับการต่อสัญญาการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสจากกรุงเทพมหานคร[5] ในยุคของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ เว็บไซต์ข่าวแนวหน้า
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดจันทบุรี[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการอำนวยการพรรคการเมือง
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 36 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-06-27.
- ↑ "พท.เตรียมยื่น DSI ตรวจสอบ กทม.เอื้อเอกชนต่อสัญญา BTS 30 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-08-09.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๘๑, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙