พงศ์เวช เวชชาชีวะ
นายพงศ์เวช เวชชาชีวะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
พงศ์เวช เวชชาชีวะ | |
---|---|
![]() พงศ์เวช ใน พ.ศ. 2555 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2544-2550) ประชาธิปัตย์ (2550-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | วิสสุตา เวชชาชีวะ |
ประวัติ แก้
พงศ์เวช เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2509 ที่อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรของนายประภัทรพงศ์ เวชชาชีวะ[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับนางไพเราะ เวชชาชีวะ[2] สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการเกษตร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ จากมหาวิทยาลัยบูรพา[3] ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนางวิสสุตา เวชชาชีวะ
การทำงาน แก้
พงศ์เวช เวชชาชีวะ เริ่มทำงานการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (ส.จ.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 จึงได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี ในนามพรรคไทยรักไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 จึงย้ายมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัย
ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาในคดีแจ้งทรัพย์สินเป็นเท็จให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน ปรับ 12,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี และห้ามเขาดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองเป็นเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2556[4][5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง แก้
- ↑ จันท์ไม่ฮิ!! "ธวัชชัย" แยกวง ชูธงพรรคลุงกำนัน
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
- ↑ ศาลฎีกาฯสั่งจำคุก‘พงศ์เวช’อดีต ส.ส.ปชป.จงใจซุกหุ้น7แสนบ.-รอลงโทษ 1ปี
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/002/26.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑