มหาวิทยาลัยบูรพา
มหาวิทยาลัยบูรพา (อังกฤษ: Burapha University; อักษรย่อ: มบ. – BUU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตั้งอยู่ที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 โดยอดีตเป็นวิทยาเขตหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปัจจุบัน) ก่อตั้งโดย พลเอก มังกร พรหมโยธี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 647 ไร่ 35 ตารางวา[3] โดยมีชื่อว่า วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน หรือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ในเวลาต่อมา (ด้วยเหตุนี้วันที่ 8 กรกฎาคม หรือที่เรียกว่า "แปดกรกฎ" ของทุกปีจึงนับเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยโดยเอกเทศด้วยผลการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533" [4] ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533
Burapha University | |
ตรากนกเปลวเพลิง สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน |
---|---|
ชื่อย่อ | มบ.[1] / BUU |
คติพจน์ | สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ (ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข) |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ |
สถาปนา | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 1,850,254,900 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
นายกสภาฯ | รองศาสตราจารย์ สุมนต์ สกลไชย |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ วัชรินทร์ กาสลัก |
อาจารย์ | 1,445 คน (พ.ศ. 2565) |
บุคลากรทั้งหมด | 3,354 คน (พ.ศ. 2566) |
ผู้ศึกษา | 21,904 คน (พ.ศ. 2566) |
ที่ตั้ง |
|
วิทยาเขต | พื้นที่และวิทยาเขต 3
|
เพลง | มาร์ชมหาวิทยาลัยบูรพา |
ต้นไม้ | มะพร้าว |
สี | สีเทา สีทอง |
ฉายา | มอบู / มอบางแสน |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ใน 22 คณะ 2 วิทยาลัย 3 วิทยาเขต กว่า 222 สาขาวิชาจำแนกเป็นระดับ ปริญญาตรี 112 หลักสูตร ปริญญาโท 72 หลักสูตร และปริญญาเอก 38 หลักสูตร[5]: 6 ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ การเกษตร มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มีนิสิตอยู่ในคณะและวิทยาลัยต่าง ๆ รวมแล้วประมาณ 30,000 คน ทำการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ ภาคปกติและภาคพิเศษ
ประวัติมหาวิทยาลัย
แก้ก่อนการปฏิวัติสยาม ชาวสยามไม่ได้การศึกษาถึงขั้นปริญญาแม้ว่าจะมีการก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย แต่ส่วนใหญ่สถาบันดังกล่าวก็กระจุกตัวอยู่เฉพาะบริเวณจังหวัดพระนครเมืองศูนย์กลางของประเทศสยาม ต่อมาในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีแนวคิดขยายอุดมศึกษาโดยช่วงแรกขยายสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางเช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน), มหาวิทยาลัยศิลปากร, วิทยาลัยวิชาการศึกษา ต่อมามีแนวคิดที่จะขยายอุดมศึกษาออกนอกจังหวัดพระนคร โดย พลเอกมังกร พรหมโยธี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เลือกชุมชนบางแสนเป็นแห่งแรกในการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาส่วนภูมิภาค ซึ่งอยู่ไม่ห่างไปจากจังหวัดพระนครมากนัก เป็นหาดทรายที่มีความลาดชันน้อย ยาวจากแหลมแท่นไปจรดเขตบางพระ มีความยาวประมาณ 5 กม. เมื่อ 50-60 ปี ที่ผ่านมามีบ้านเรือนอยู่ไม่ถึง 20 หลังคาเรือน ประกอบอาชีพด้านการประมงเล็ก ๆ โดย ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนขึ้นในตำบลแสนสุข บนเนื้อที่ 75 ไร่ 2 งาน 131 ตารางวา ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกับโรงเรียนประชาบาลตำบลแสนสุข 3 วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2496 มีอาคารเรียนชั้นมัธยมศึกษา อาคารเรียนชั้นประถมศึกษา โรงฝึกงานหัตถศึกษา บ้านพักครู คนงาน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,190,000 บาท และให้ชื่อว่า โรงเรียน "พิบูลบำเพ็ญ" โดยนายกรัฐมนตรี ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียนนี้ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2497
ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน[4] ขึ้นและโอนย้าย โรงเรียน “พิบูลบำเพ็ญ” มาสังกัดวิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2499
โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตร
แก้ความเป็นมาก่อนที่จะก่อตั้งเป็น มหาวิทยาลัยบูรพานั้น ได้เริ่มในปี พ.ศ. 2492 โดยมีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงขึ้น ณ ซอยประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น วิทยาลัยวิชาการศึกษาในปี พ.ศ. 2498 ได้ขยายวิทยาเขตออกไปอีก 2 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน และวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน
วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน
แก้อย่างไรก็ตามในที่สุดก็สามารถตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้สำเร็จ โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2497[6] ในระหว่างนั้น อาจารย์บุญถิ่น อัตถากร อธิบดีกรมการฝึกหัดครู (พ.ศ. 2500 –2513) และเป็นคณะกรรมการร่วมของโครงการพัฒนาการศึกษาด้วย ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญกับงานฝึกหัดครูอย่างมาก จากแนวคิดในการดำเนินการขยายการฝึกหัดครูระดับปริญญาไปสู่ส่วนภูมิภาคนั้น จึงได้มีการขยายวิทยาลัยวิชาการศึกษา ซึ่งขณะนั้นยังสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และมีความคล้ายคลึงทั้งในที่มา จุดประสงค์และการดำเนินการเพื่อผลิตบุคลากรวิชาชีพครู เหมือนกับกรมการฝึกหัดครู โดยแนวคิดของอาจารย์บุญถิ่น อัตถากรนั้น คือ[7][8]
…ต้องการใช้การศึกษาพัฒนาชุมชนในชนบท โดยต้องรีบผลิตครูที่มีคุณภาพและจำนวนมากพอเพียงออกไปเป็นผู้นำ โดยการศึกษาฝึกหัดครูจะต้องเป็นขั้นๆโดยลำดับจนถึงขั้นปริญญา ขณะเดียวกันก็ค่อยลดการผลิตครูระดับประกาศนียบัตรลงจนเลิกไปในที่สุด และผลิตครูขั้นปริญญาเพิ่มขึ้น ๆ และเมื่อถึงโอกาสอันสมควร, สถานศึกษาฝึกหัดครู , สถานศึกษาอาชีวศึกษาและสถาบันขั้นปริญญาต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกันและจังหวัดใกล้เคียง ก็จะรวมกันเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาค…
— อาจารย์บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครู (พ.ศ. 2500 –2513)
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ได้ก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ขึ้นซึ่ง ชาววิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสนถือว่า วันที่ 8 กรกฎาคม หรือเรียกว่า "แปดกรกฎ" ของทุกปีเป็นวันคล้าย วันสถาปนามหาวิทยาลัย จัดเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศ ที่ตั้งอยู่ส่วนภูมิภาคกำหนดหลักสูตร 4 ปี ผู้เรียนสำเร็จตามหลักสูตรได้รับปริญญาการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ต่อมาในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ได้รับโอนโรงเรียนพิบูลบำเพ็ญ ต.แสนสุข ชลบุรี เพื่อปรับปรุงให้เป็นโรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย โดยใช้ชื่อโรงเรียนใหม่ว่า โรงเรียนสาธิต"พิบูลบำเพ็ญ" วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ในปี พ.ศ. 2501 บัณฑิตรุ่นแรก จำนวน 35 คน สำเร็จการศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 ได้เปิดรับนักศึกษาบุคคลภายนอก ผู้มีวุฒิ ป.ม. หรือ พ.ม. หรือ อ.กศ. ป.กศ.สูง หรือเทียบเท่าเข้าศึกษาภาคสมทบในหลักสูตร การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)
ในปี พ.ศ. 2512 ได้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มขึ้น และเปิดให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าชมเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2515 กรมสามัญศึกษาได้โอนอาคารเรียน ที่ดินและสิ่งก่อสร้างของวิทยาลัยบางแสนให้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับการเปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒโดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดังนั้น วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จึงมีฐานะเป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสนและได้มีการปรับปรุงกิจการดำเนินการของมหาวิทยาลัย ขึ้นตามลำดับ
มหาวิทยาลัยบูรพา
แก้ในปี พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา ลงมติรับหลักการและส่งให้คณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการจนกระทั่ง ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 จึงได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาโดยพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 131[4][9] ปัจจุบันมหาวิทยาลัยบูรพาได้ฉลองวาระการสถาปนามหาวิทยาลัย ด้วยการเปิดการจัดการเรียนการสอนในสาขาต่าง ๆ อันเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออก
มหาวิทยาลัยบูรพาได้แปรสภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จากผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2550 เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551 ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 5 ก[10]
ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ได้มีการแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นกรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดทำน้ำอภิเษกของจังหวัดชลบุรี เนื่องใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ตามคำสั่งจังหวัดชลบุรีที่ 743/2562
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
แก้-
ตรากนกเปลวเพลิง
สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย -
ต้นมะพร้าว
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
- ตรามหาวิทยาลัย ตรากนกเปลวเพลิงล้อมรอบเลข ๙ ไทย คือเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา มีสองแบบ ไม่จำกัดสีและขนาด ลักษณะและส่วนประกอบของตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพามีสองแบบดังนี้
แบบที่หนึ่ง เป็นวงกลมซ้อนกันสองวง วงกลมในมีรูปเลขไทย “9” อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยกนกเปลวเพลิงด้านบนมีรัศมีประกอบแปดแฉก ด้านล่างของเลข 9 เป็นเส้นโค้งสามเส้น วงกลมนอกเบื้องบนมีคำว่า “สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ” เบื้องล่างมีคำว่า “มหาวิทยาลัยบูรพา”
แบบที่สอง เป็นวงกลมซ้อนกันสองวง วงกลมในมีรูปเลขไทย “9” อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยกนกเปลวเพลิงด้านบนมีรัศมีประกอบแปดแฉก ด้านล่างของเลข 9 เป็นเส้นโค้งสามเส้น วงกลมนอกเบื้องบนมีคำว่า “มหาวิทยาลัยบูรพา” เบื้องล่างมีคำว่า “BURAPHA UNIVERSITY” ความหมายของ ตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา มีดังนี้
(1) ตราเป็นรูปทรงกลม ล้อมรอบด้วยชื่อมหาวิทยาลัย และพุทธศาสนสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัยว่า “สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ” มีความหมายว่า ความได้ปัญญาทำให้เกิดสุข
(2) ตรงกลางเป็นรูปเลขไทย “9” หมายถึง รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
(3) มีกนกเปลวเพลิงล้อมรอบ หมายถึง ความรุ่งโรจน์และรุ่งเรือง
(4) รัศมีประกอบมี 8 แฉก หมายถึง จังหวัดในภาคตะวันออก 8 จังหวัด และฐานเดิมทั้ง 8 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
(5) ด้านล่างเป็นเส้นโค้ง หมายถึง ความเคลื่อนไหวและการพัฒนาไม่มีที่สิ้นสุด
- ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นมะพร้าว
- สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเทา - ทอง
สีเทา หมายถึง ความเจริญทางสติปัญญา
สีเทา-ทอง หมายถึง บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นผู้ประกอบด้วยสติปัญญา และมีคุณธรรม
สถานที่สำคัญภายในมหาวิทยาลัย
แก้เป็นสถาบันวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล โดยมีสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ที่เปิดให้บุคคลภายนอกเข้าชม สถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มหรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลนั้นมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก
แก้โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา
แก้โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย มี 4 อาคาร ประกอบด้วย อาคารคณะแพทยศาสตร์ อาคารศรีนครินทร์ อาคารวิจัยทางการแพทย์ และอาคารจอดรถและพลาซ่า ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2527 เดิมใช้ชื่อว่า “โครงการศูนย์บริการทางการแพทย์” โดยได้รับความอนุเคราะห์จากพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก บริจาคอาคาร 2 ชั้น
หอประชุมธำรง บัวศรี
แก้การศึกษา
แก้มหาวิทยาลัยบูรพา เปิดการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ใน 22 คณะ 2 วิทยาลัย 1 บัณฑิตวิทยาลัย ใน 3 วิทยาเขต กว่า 222 สาขาวิชาจำแนกเป็นระดับ ปริญญาตรี 112 หลักสูตร ปริญญาโท 72 หลักสูตร และปริญญาเอก 38 หลักสูตร[5]: 6 ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ การเกษตร มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แบ่งพื้นที่การศึกษาออกเป็น 3 วิทยาเขต
มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน
แก้
กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แก้
|
กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก้
|
กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพแก้
|
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
แก้วิทยาเขตจันทบุรี เดิมคือ วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 57 ม.1 ถนนชลประทาน ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ 1,406 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา เปิดสอนใน 3 คณะ คือ
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว
แก้มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการ ให้มหาวิทยาลัยบูรพาขยายโอกาสอุดมศึกษาไปสู่จังหวัดสระแก้วได้ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2540 มีพื้นที่ในการดำเนินการเป็นที่ดินสารธารณประโยชน์ แปลงโคกป่าเพ็ก บริเวณ หมู่ที่ 4 ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว พื้นที่ 1,369ไร่ ที่ดินดังกล่าว กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติในหลักการให้มหาวิทยาลัยบูรพาใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ โดยมีเงื่อนไขการดำเนินงานใน 2 ปี ต้องได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคาร ถ้าไม่ได้รับจะขอยกเลิกสิทธิ์การใช้ที่ดิน เปิดสอนใน 2 คณะ คือ
หน่วยงานในมหาวิทยาลัย
แก้สำนักงานสภามหาวิทยาลัย
แก้- สำนักงานสภามหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2009-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สำนักงานอธิการบดี
แก้
|
|
- สำนักหอสมุด
- สำนักคอมพิวเตอร์ เก็บถาวร 2005-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักบริการวิชาการ เก็บถาวร 2005-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สำนักพัฒนานวัตกรรม เก็บถาวร 2015-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ
- ศูนย์เกาหลีศึกษา เก็บถาวร 2005-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์ภาษา เก็บถาวร 2009-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออก เก็บถาวร 2013-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์ปฏิบัติการค้นคว้าและวิจัย เก็บถาวร 2009-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์สังคมและสิ่งแวดล้อมศึกษา (CIET) เก็บถาวร 2009-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ศูนย์เรียนรู้โลกใต้ทะเล ความร่วมมือระหว่างจังหวัดชลบุรี องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และเทศบาลเมืองแสนสุข
- สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล[ลิงก์เสีย]
- สถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ เก็บถาวร 2005-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สถาบันวิจัยลีนุกซ์บูรพา เก็บถาวร 2005-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา
- โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา
- โรงเรียนสาธิตอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา เก็บถาวร 2013-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
สถาบันสมทบ
แก้องค์การนิสิต/สภานิสิต
แก้อันดับมหาวิทยาลัย
แก้ดูเพิ่มที่ อันดับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย
THE World University Rankings
แก้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 สำนักจัดอันดับ Times Higher Education (THE) ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก โดยเกณฑ์ในการจัดอันดับใน THE World University Rankings 2021 ประกอบด้วยตัวชี้วัด 5 ด้าน คือ 1) ด้านการสอน (Teaching: 5 indicators) 30% 2) ด้านการวิจัย (Research: 3 indicators) 30% 3) การได้รับการอ้างอิง (Citations: 1 indicator) 30% 4) ความเป็นนานาชาติ (International outlook: 3 indicators) 7.5% 5) รายได้จากการถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer income) 2.5%
โดย มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นอันดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจาก 17 มหาวิทยาลัย ในด้านการเรียนการสอน (Teaching) ได้รับคะแนน 21.2 คะแนน
QS Universities Ranking
แก้การจัดอันดับโดย Qs มีเกณฑ์การจัดอันดับ ดังนี้ ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์) อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน scopusและ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้นๆเอง บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์) สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)[ จากการประกาศผลการจัดอันดับ QS Asian Universities Ranking 2012 การจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย มหาวิทยาลัยบูรพาติดอันดับ 191-200 ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย และเป็นอันดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยในปี 2555
Webometrics
แก้การจัดอันดับโดย Webometrics 2017 ล่าสุด (ครั้งที่ 1 เดือนมกราคม) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยบูรพา อยู่ในอันดับที่ 2141 ของโลก อันดับที่ 52 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 16 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[11]
Nature Index
แก้จัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group โดยในปี 2559 มหาวิทยาลัยบูรพาติดอันดับที่ 11 ของประเทศไทย
World's Universities with Real Impact (WURI)
แก้World's Universities with Real Impact (WURI) จัดให้มหาวิทยาลัยบูรพาอยู่ในอันดับที่ 80 ของโลกจากการจัดอันดับ 100 มหาวิทยาลัยนวัตกรรมปี 2020 (WURI 2020 : Global Top 100 Innovative Universities) เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับในครั้งนี้ ซึ่งได้มีการประกาศผลการจัดอันดับในการประชุมออนไลน์เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563 นอกจากนี้มหาวิทยาลัยบูรพายังอยู่ในอันดับที่ 23 จากการจัดอันดับ TOP 50 Industrial Application และ อันดับที่ 40 จาก TOP 50 Entrepreneurial Spirit.
ชีวิตในมหาวิทยาลัย
แก้งานเทางามสัมพันธ์
แก้กิจกรรมอื่น ๆ
แก้- กิจกรรมจักรยานทางไกล 3 วิทยาเขต (บางแสน-จันทบุรี-สระแก้ว)
เครือข่ายบัณฑิต เทา-ทอง ร่วมกันจัด “กิจกรรมจักรยานทางไกล 3 วิทยาเขต มหาวิทยาลัยบูรพา ครั้งที่ 1” รวมระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร ได้รับความร่วมมือจาก มหาวิทยาลัยบูรพา เทศบาลเมืองแสนสุข หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมพล พงศ์ไทย ผู้รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา เปิดเผยว่า กิจกรรมจักรยานทางไกล 3 วิทยาเขต (บางแสน-จันทบุรี-สระแก้ว) เป็นกิจกรรมแรกที่เปิดตัวประชาสัมพันธ์และร่วมเฉลิมฉลอง 60 ปี “ตรีสิกขสถานพัชรสมโภช” แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยบูรพา โดยศิษย์เก่าได้ร่วมกันจัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสถานที่เคยศึกษา และชุมชนที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ทั้ง 3 แห่ง ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตจันทบุรี และมหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตสระแก้ว รวมทั้งการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองแสนสุข หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และยังเป็นการส่งเสริมการปั่นจักรยานในชีวิตประจำวันให้มากขึ้นภายใต้แนวคิด “ขับขี่แบบง่าย ๆ ออกกำลังกายได้ทุกวัน” ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดต่าง ๆ ของภาคตะวันออก อีกทั้งอนุรักษ์การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติให้เป็นที่นิยมและรู้จักมากขึ้น
- งานกีฬาอุดมศึกษา ภาคตะวันออก
เป็นงานกีฬาของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกหรืออีกชื่อที่เรียกกันคือ งานกีฬา 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ ศูนย์ฝึกพาณิชยนาวี สมุทรปราการ ครั้งล่าสุดครั้งที่ 14 <พ.ศ. 2553> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาเป็นเจ้าภาพ ภายใต้ชื่องาน"พิรุณเกมส์"
- งานไม้เรียวเกม (My Real Game)
กีฬาประเพณีคณะครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ หรือ ไม้เรียวเกมจัดขึ้นครั้งแรกปีการศึกษา 2544 เป็นการแข่งขันกีฬาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ของ นิสิต-นักศึกษา ในสายวิชาชีพครู 5 สถาบัน ได้แก่ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นอกจากการแข่งกีฬาแล้ว ยังมีการแสดง จาก นิสิต-นักศึกษา ของแต่ละมหาวิทยาลัย และ คอนเสิร์ต ในงานเลี้ยงกลางคืน อีกด้วย
- งานโลจิสติกส์สัมพันธ์ (Logistics sumpun)
โลจิสติกส์สัมพันธ์ เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตนักศึกษาที่เรียนทางด้านโลจิสติกส์ ทั้งบริหารธุรกิจและวิศวกรรมศาสตร์ของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยการใช้กิจกรรมเป็นสื่อกลาง ได้แก่ การแข่งขันกีฬาสากล กีฬาฮาเฮ การประกวดลีดเดอร์และกองเชียร์ ประกวด Miss and Mr. Logistics และการแสดงจากนิสิตนักศึกษาแต่ละสถาบัน มีสถาบันเข้าร่วม ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา, มหาวิทยาลัยรังสิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, มหาวิทลยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- งานกีฬาสิงห์สัมพันธ์
กีฬาสิงห์สัมพันธ์ เป็นกิจกรรมร่วมกัน ระหว่าง พี่น้องสิงห์ทุกสถาบัน เพื่อกระชับสัมพันธไมตรี ไม่ต้องแบ่งสี แบ่งก๊ก แบ่งเหล่า (เริ่มจาก 5 มหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) และต่อมามี 6 สถาบัน สถาบันที่เพิ่มเข้ามาคือ มหาวิทยาลัยบูรพา(อดีตมศว บางแสน) โดยเข้ามาในปีที่ 5 ของการจัดงาน ในปี2554 จะเป็นการแข่งขันครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยที่เป็นเจ้าภาพคือมหาวิทยาลัยบูรพา และต่อมาในปี 2557 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เข้ามาในปีที่ 9 และงานประเพณีสิงห์สัมพันธ์ ครั้งที่ 11 เจ้าภาพโดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2559
หอพักนิสิต
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยบูรพา สามารถติดตามได้ที่ เว็บไซต์พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยบูรพา เก็บถาวร 2005-08-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แผนที่และการเดินทาง
แก้มหาวิทยาลัยบูรพา บางแสน
แก้ทำเนียบผู้บริหารมหาวิทยาลัย
แก้วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน | |||
---|---|---|---|
รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขต | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||
1. ศาสตราจารย์ ดร.ธำรง บัวศรี | พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2502 | ||
2. ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ | พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2503 | ||
3. รองศาสตราจารย์ สวัสดิ์ ปุษปาคม | พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2516 | ||
มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน | |||
รายนามรองอธิการบดีประจำวิทยาเขต | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมวงศ์ วัจนสุนทร | พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2522 | ||
5. ศาสตราจารย์ ดร.ทวี หอมชง | พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2524 | ||
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเอิญ มิลินทสูต | พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2530 | ||
7. รองศาสตราจารย์ เชาวน์ มณีวงษ์ | พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534 | ||
มหาวิทยาลัยบูรพา | |||
รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | ||
7. รองศาสตราจารย์ เชาวน์ มณีวงษ์ | พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536 [12] | ||
8. ศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย | พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537 (รักษาการ) | ||
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ผาสุข กุลละวณิชย์ | พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2541 [13] | ||
พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545 [14] | |||
10. ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ | พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549 [15] | ||
พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2553 [16] | |||
11. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมพล พงศ์ไทย | พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2557 [17] | ||
พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2559 (ผู้รักษาการแทนอธิการบดี) [18] | |||
12. รองศาสตราจารย์ ดร.สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ | พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562 (ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี) [19] | ||
13. รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรินทร์ กาสลัก | พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563 (ผู้รักษาการแทนอธิการบดี) [20] | ||
พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน [21] |
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยบูรพาตั้งแต่สมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน สมัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน จนกระทั่งถึงสมัยมหาวิทยาลัยบูรพา มีหลากหลายตั้งแต่บุคคลสำคัญในด้านการเมืองการปกครอง นักวิชาการ ศิลปิน ข้าราชการและคณาจารย์ เช่น
- วิชชุดา สวนสุวรรณ อดีตนักแสดง
- เชาวน์ มณีวงษ์ นักการเมือง อดีต หัวหน้าพรรคพลังชล และอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยบูรพา
- สันต์ศักด์ จรูญ งามพิเชษฐ์ นักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อพรรคพลังชล
- ธนินวัฒน์ พัฒนวีรคุณ ประธานบริษัท ทีวี 360 องศา เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด และพิธีกรประจำรายการ 360 องศา Go Green ทางช่องททบ.5 เอชดี
- นพเก้า พูนพัฒน์ นักกีฬาเรือใบหญิงทีมชาติไทย
- ณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ นักการเมือง อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร
- จิตรภาณุ กลมแก้ว นักแสดงสังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
- พลเอกเทพพงศ์ ทิพยจันทร์ อดีตรองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
- พงศ์เวช เวชชาชีวะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี พรรคประชาธิปัตย์
- พลตรีวินธัย สุวารี โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ผู้อำนวยการสำนักโฆษก สำนักงานปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายในกองทัพบก อดีตโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ อดีตโฆษกกองทัพบก และนักแสดงชาวไทย
- ศักดา นพสิทธิ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จังหวัดชลบุรี และเป็นอดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย
- สง่า ธนสงวนวงศ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 5 สมัย
- สาธิต ปิตุเตชะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- นายกองเอกเรืองวิทย์ ลิกค์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกำแพงเพชรหลายสมัย
- ธรากร สุขสมเลิศ นักร้อง นักแสดง และพิธีกรชาวไทย
- วานิช โปตะวณิช นักดนตรี และวาทยกรชาวไทย
- เฉลียว อยู่สีมารักษ์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
- นายกองเอกฐานิสร์ เทียนทอง อดีตเลขาธิการพรรคประชาราช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสระแก้ว และอดีตประธานหอการค้าจังหวัดสระแก้ว
- นริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- บัญญัติ จันทน์เสนะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พัชรินทร์ มั่นปาน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปไตยใหม่
- สมชาย สหชัยรุ่งเรือง อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย
- ทินบดี หันชัยนิวษ์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง จิตวิทยา นักปรัชญา และนักเผยแพร่ศาสนาฮูมย์ในยุคกลาง
- สุวิทย์ วัดหนู นักเคลื่อนไหว และ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน
- ภัชธร ธนวัฒน์ นักแสดง
- ดร.สุชีราภรณ์ ธุวานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา ศิษย์เก่าดีเด่นปี 2553
- ถาวร ภัสสรศิริกุล นักเดินทาง, นักสำรวจชาวไทย, นักอนุรักษ์ธรรมชาติ, พิธีกรทางช่อง Youtube : TheGaijinTrips แบกเป้เที่ยวคนเดียว
- วิมพ์วิภา บุหงางาม มิสแกรนด์ภูเก็ต ปี 2560
- ไกรวิชญ์ คุมมงคล มิสเตอร์อินเตอร์เนชันแนลไทยแลนด์ ปี 2562
- มัฐฌญากร มีทรัพย์ปรุง ผู้ประกาศข่าวเนชั่นทีวี
- ดร.ศุภโชค ถาวรกลม นักออกแบบและทำ animation ชื่อดัง
- จุฑามาศ เมฆเสรี รองอันดับ 3 มิสแกรนด์ไทยแลนด์ ปี 2563
- อิสรีย์ ธรากูลพิพัฒน์ มิสแกรนด์นครสวรรค์ ปี 2565
อาคารและสถานที่
แก้-
ป้ายมหาวิทยาลัยบูรพา -
ที่พักนักศึกษา -
สระน้ำใกล้วิทยาลัยวิธีวิจัยและวิทยาการทางปัญญา -
อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ -
อาคารคณะสาธารณสุขศาสตร์ -
สนามกีฬา -
สำนักคอมพิวเตอร์ -
อาคารคณะศิลปศาสตร์ -
อาคารฉลองราชย์ 50 ปี
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออกของ กระทรวงการอดุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เก็บถาวร 2021-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๓๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ ความเป็นมา มหาวิทยาลัยบูรพา
- ↑ 4.0 4.1 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2533/A/131/30.PDF พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533
- ↑ 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbuu-plan-2563
- ↑ พระราชบัญญัติ วิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/A/061/1329.PDF
- ↑ กรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ (2535). แนวคิดและผลงานศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร. p. 139.
- ↑ สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2554). "รวบรวมครูเทพศิรินทร์ตั้งแต่อดีต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/A/006/18.PDF พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา (ฉบับที่2) พ.ศ. 2541
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/005/8.PDF พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2550
- ↑ [http://www.webometrics.info/en/Asia/Thailand
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา (นายเชาวน์ มณีวงษ์)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งและถอดถอนอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา [ถอดถอน รองศาสตราจารย์เชาวน์ มณีวงษ์ และแต่งตั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์ผาสุข กุลละวณิชย์]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา (นายผาสุข กุลละวณิชย์)
- ↑ [1]เก็บถาวร 2020-06-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา [นายสุชาติ อุปถัมภ์]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา [นายสุชาติ อุปถัมภ์] วาระที่ 2
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา [นายสมพล พงศ์ไทย]
- ↑ "ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดี (ศ.นพ.สมพล พงศ์ไทย) ปี 2557" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-25. สืบค้นเมื่อ 2019-08-25.
{{cite web}}
: no-break space character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 31 (help) - ↑ "คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สกอ. ๑๔๔๑/๒๕๕๙ เรื่อง ให้ผู้ดำรงตำแหน่งพ้นจากตำแหน่งหน้าที่และแต่งตั้งบุคคลให้ปฏิบัติหน้าที่ในมหาวิทยาลัยบูรพา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-14. สืบค้นเมื่อ 2019-08-25.
- ↑ "คำสั่งคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทนสภามหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา ปี 2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-25. สืบค้นเมื่อ 2019-08-25.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา [นายวัชรินทร์ กาสลัก]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 127) มหาวิทยาลัยบูรพา
- ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยบูรพา เก็บถาวร 2010-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2552 เก็บถาวร 2010-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การจัดตั้งส่วนงาน และภาระหน้าที่ของส่วนงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2552 เก็บถาวร 2010-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยเครื่องแบบ เครื่องหมาย และเครื่องแต่งกายของนิสิต ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2552 เก็บถาวร 2010-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง ตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2551 เก็บถาวร 2010-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การจัดตั้งส่วนงาน และภาระหน้าที่ของส่วนงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง ปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง ของมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2551 เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยบูรพา
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์