คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (อังกฤษ: Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University) เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยบูรพา จัดการเรียนการสอนด้านศิลปกรรมศาสตร์ทุกแขนงวิชา ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา
Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University
ชื่อย่อศป. / FA
คติพจน์เป็นเลิศวิชาการ สานสร้าง ศิลปกรรม เชิดชูคุณธรรม มุ่งนำสู่สากล
สถาปนา22 มิถุนายน พ.ศ. 2538 (28 ปี)
คณบดีรศ.เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์[1]
ที่อยู่
เลขที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20131
วารสารวารสารศิลปกรรมบูรพา
สี  สีเขียวน้ำทะเล
เว็บไซต์http://www.fineartbuu.org/

ประวัติ แก้

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ก่อตั้งครั้งแรกในปี 2503 ในฐานะวิชาศิลปวิจักษ์ สังกัดคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน ได้รับการยกฐานะให้เป็น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน[2] วิชาศิลปวิจักษ์จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น ภาควิชาศิลปและวัฒนธรรม สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน และเปิดรับนิสิตหลักสูตรวิชาเอกศิลปศึกษาครั้งแรกในปี 2521

ในปี พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกฐานะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน เป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรีรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา ลงมติรับหลักการและส่งให้คณะกรรมาธิการการศึกษาสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการจนกระทั่ง ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 จึงได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาโดยพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 131[3][4]

หลังจากแยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาแล้ว ในปี 2533 จึงได้จัดทำ โครงการจัดตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขึ้น และนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในราชกิจจานุเบกษา จัดตั้ง“คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา”ขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน 2538[5] ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University”

ต่อมา สาขาวิชาดนตรีและการแสดง ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นคณะเอกเทศ แยกจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ ภายใต้ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การจัดตั้งส่วนงาน และภาระหน้าที่ของส่วนงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551[6] ซึ่งได้ยกฐานะสาขาวิชาดนตรีและการแสดง และรวมสถาบันวิจัยวัฒนธรรมและศิลปะ ซึ่งสังกัดอยู่กับคณะศิลปกรรมศาสตร์ เพื่อจัดตั้งขึ้นเป็น"คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา" ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "Faculty of Music and Performing Arts, Burapha University"[7]

หน่วยงานภายใน แก้

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แบ่งส่วนงานภายในดังนี้

  • สำนักงานคณบดี
  • สำนักงานจัดการศึกษา

หลักสูตร แก้

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา[8]
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)
  • สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ (หลักสูตรสองภาษา)
  • สาขาวิชาออกแบบเซรามิกส์
  • สาขาวิชานิเทศศิลป์
  • สาขาวิชาจิตรกรรมสร้างสรรค์
  • สาขาวิชาครีเอทีฟอาร์ตและกราฟิกครีเอทีฟ
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (ศป.ม.)
  • สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม (ภาคพิเศษ)
  • สาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ (ภาคพิเศษ)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
  • สาขาทัศนศิลป์และการออกแบบ
  • สาขาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม

ทำเนียบคณบดี แก้

อ้างอิง แก้

  1. มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศิลปกรรมศาสตร์ : คณะผู้บริหาร, สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564.
  2. ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗ (หน้า ๑), มาตรา เล่ม ๙๑ ตอนพิเศษ ๑๑๒ ประกาศใช้เมื่อ 28 มิถุนายน 2517. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  3. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ราชกิจจานุเบกษา : พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๓๓, สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  4. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ราชกิจจานุเบกษา : พรบ.มหาวิทยาลัยบูรพา (ฉบับที่2) พ.ศ. ๒๕๔๑, สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
  5. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ราชกิจจานุเบกษา : พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยบูรพา ทบวงมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๘, สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564.
  6. ราชกิจจานุเบกษา : ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานและภาระหน้าที่ของส่วนงาน (ฉบับที่ 2) ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๑.[ลิงก์เสีย], สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564.
  7. มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะดนตรีและการแสดง : ประวัติคณะดนตรีและการแสดง, สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564.
  8. มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศิลปกรรมศาสตร์ : หลักสูตรที่เปิดสอน, สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้