จังหวัดสระแก้ว

จังหวัดในภาคตะวันออกในประเทศไทย

สระแก้ว เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย แยกออกมาจากจังหวัดปราจีนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2536 โดยในปัจจุบันถือเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในภาคตะวันออก และเป็นอีกหนึ่งจังหวัดพรมแดนที่มีการติดต่อค้าขายเป็นอย่างมาก

จังหวัดสระแก้ว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Sa Kaeo
(ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย): ละลุ, อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม, หัวจักรที่สถานีรถไฟอรัญประเทศ, ร้ายขายรองเท้าในตลาดโรงเกลือ, สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก ข้างตลาดโรงเกลือ
คำขวัญ: 
ชายแดนเบื้องบูรพา ป่างามน้ำตกสวย
มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ ย่านการค้าไทย-เขมร
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสระแก้วเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสระแก้วเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดสระแก้วเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ปริญญา โพธิสัตย์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด7,195.436 ตร.กม. (2,778.173 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 27
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด562,902 คน
 • อันดับอันดับที่ 44
 • ความหนาแน่น78.23 คน/ตร.กม. (202.6 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 64
รหัส ISO 3166TH-27
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้มะขามป้อม
 • ดอกไม้แก้ว
 • สัตว์น้ำปลาบ้า
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดสระแก้ว หมู่ที่ 3 ถนนสุวรรณศร ตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000
 • โทรศัพท์0 3742 1135
เว็บไซต์http://www.sakaeo.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชื่อ

แก้

สระแก้ว เป็นชื่อที่มาจากชื่อสระน้ำโบราณซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว มีอยู่จำนวน 2 สระ ในสมัยกรุงธนบุรีราว พ.ศ. 2323 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพยกทัพไปตีกัมพูชา (เขมร) ได้แวะพักกองทัพที่บริเวณสระน้ำทั้งสองแห่งนี้ กองทัพได้อาศัยน้ำจากสระใช้สอยและได้ขนานนามสระทั้งสองว่า "สระแก้ว-สระขวัญ" และได้นำน้ำจากสระทั้งสองแห่งนี้ใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์[3]: 126 

สระแก้ว-สระขวัญ จุดกำเนิดชื่อจังหวัดสระแก้ว

ประวัติศาสตร์

แก้

การเกิดชุมชนและการตั้งถิ่นฐาน

แก้

ประมาณ 4,000 ปีก่อน บริเวณอ่าวไทยยังเป็นทะเลโคลนตมเว้าลึกเข้ามาในแผ่นดินมากกว่าปัจจุบัน พื้นที่ที่เป็นจังหวัดสระแก้วยังไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เป็นเพียงแค่ทางผ่าน ต่อมาเริ่มมีคนมาตั้งถิ่นฐานจนขยายใหญ่ขึ้นเป็นหมู่บ้าน ผู้คนพากันตั้งหลักแหล่งบริเวณเชิงเขา ซึ่งปัจจุบันคือ อำเภอตาพระยา อำเภอโคกสูง อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ อำเภอเมืองสระแก้ว และอำเภอเขาฉกรรจ์ โดยเฉพาะบนสองฝั่งลำน้ำพระปรงและพระสะทึง จากนั้นผู้คนได้กระจายออกไปอยู่บริเวณที่ดอนกลางทะเลโคลนตม ที่ปัจจุบันคือ อำเภอบ้านสร้าง อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม ในจังหวัดปราจีนบุรี

พ.ศ. 1000 ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณเมืองสระแก้วได้พัฒนาเป็นชุมชนที่หนาแน่นขึ้น โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มลำน้ำพระปรง-พระสะทึง มีวัฒนธรรมแบบสุวรรณภูมิสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และแบบทวาราวดี มีศูนย์กลางอยู่ที่เขาฉกรรจ์ และกลุ่มลำห้วยพรมโหด มีวัฒนธรรมแบบขอม ศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทเขาน้อย-เขารังและบ้านเมืองไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภออรัญประเทศ)

สมัยโบราณ สระแก้วมีความสำคัญในด้านเป็นเส้นทางคมนาคมทางตะวันตก-ตะวันออก (ระหว่างเมืองชายฝั่งทะเลอ่าวไทยกับกัมพูชา) และทางเหนือ-ใต้ (ระหว่างเมืองในลุ่มน้ำโขง ชี มูล กับเมืองชายฝั่งทางจันทบุรี) กระทั่งหลัง พ.ศ. 1500 รัฐพื้นเมืองต่าง ๆ ในสุวรรณภูมิมีการปรับตัวเนื่องจากการทำการค้ากับจีน ประกอบกับภูมิประเทศบริเวณอ่าวไทยเปลี่ยนแปลงกลายเป็นแผ่นดินตื้นเขินขึ้น เส้นทางคมนาคมทางน้ำเปลี่ยนแปลง ผู้คนจึงอพยพย้ายถิ่นออกจากสระแก้ว

บริเวณลุ่มน้ำบางปะกงมีกลุ่มบ้านเมืองเกิดขึ้นราว พ.ศ. 1900 เป็นชุมชนขนาดเล็ก ผู้คนเสาะหาของป่าเพื่อส่งส่วยให้แก่ราชธานีต่าง ๆ ต่อมาพัฒนาเป็นเมืองชายแดน เป็นเส้นทางเดินทัพผ่านไปยังกัมพูชา

ในสมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิและอาณาจักรทวารวดี สระแก้วเป็นชุมชนที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองปราจีนบุรี (เมืองประจิมในสมัยโบราณ)

สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์

แก้

สระแก้วเป็นเมืองชายแดน จึงเป็นทางผ่านของกองทัพในการทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่บ่อยครั้ง โดยในสมัยอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครั้งยังเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช ได้ยกทัพมาปราบปรามอริราชศัตรูที่ลักลอบเข้าโจมตี กวาดต้อนผู้คนบริเวณชายแดน มีการตั้งค่ายคูเมืองและปลูกยุ้งฉางไว้ที่ท่าพระทำนบ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ตั้งอำเภอวัฒนานครในปัจจุบัน ต่อมาในช่วงก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก พระเจ้าตากทรงหนีพม่าไปเมืองจันทบุรี โดยพาไพร่คนสนิทหนีฝ่ากองทัพพม่าไปทางทิศตะวันออก ผ่านบริเวณ ดงศรีมหาโพธิ์ อันเป็นเขตป่าต่อเนื่องจากที่ราบลุ่ม ขึ้นไปถึงที่ลุ่มดอนของเมืองสระแก้ว แล้วไปยังชลบุรี ระยอง และจันทบุรี

ในสมัยกรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรี พร้อมบุตรชาย ยกทัพไปเสียมราฐและได้แวะพักแรมในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า สระแก้ว สระขวัญ อันเป็นที่มาของชื่อจังหวัด และในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนพลแก้วในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พักทัพก่อนยกไปปราบญวน โดยเมื่อเสร็จศึกญวนแล้ว ได้สร้างบริเวณที่พักนั้นเป็นวัดตาพระยา ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอตาพระยาในปัจจุบัน

สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

แก้

สระแก้วเคยมีฐานะเป็นตำบลขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดกบินทร์บุรี ซึ่งทางราชการได้ตั้งเป็นด่านสำหรับตรวจคนและสินค้าเข้า-ออก มีข้าราชการตำแหน่งนายกองทำหน้าที่เป็นนายด่าน จนถึง พ.ศ. 2452 ทางราชการจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อว่า กิ่งอำเภอสระแก้ว โดยใช้ชื่อสระน้ำเป็นชื่อกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอกบินทร์บุรี (ในตอนนั้นจังหวัดกบินทร์บุรีถูกยุบรวมกับจังหวัดปราจีนบุรีเรียบร้อยแล้ว) ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอชื่อว่า อำเภอสระแก้ว ขึ้นอยู่ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี และในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัด เป็นจังหวัดลำดับที่ 74 ของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ได้รับจัดตั้งยกฐานะเป็นจังหวัดขึ้นในปีนั้น พร้อมกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอำนาจเจริญ

ภูมิศาสตร์

แก้

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

สระแก้ว เป็นจังหวัดชายแดนด้านตะวันออกตอนบนของประเทศ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 15 ลิปดา ถึง 14 องศา 15 ลิปดาเหนือ กับประมาณเส้นแวงที่ 101 องศา 45 ลิปดา ถึง 103 องศาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ภูมิประเทศ

แก้
 
อุทยานแห่งชาติปางสีดา

สภาพทั่วไป พื้นที่จังหวัดสระแก้วโดยรวมเป็นพื้นที่ราบถึงที่ราบสูงและมีภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 74 เมตร โดยทางด้านทิศเหนือ มีทิวเขาบรรทัดซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำบางปะกง มีลักษณะเป็นป่าเขาทึบได้แก่ บริเวณอุทยานแห่งชาติปางสีดาเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ทางด้านทิศใต้ มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา มีสภาพเป็นป่าโปร่ง ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อทำการเกษตร ทำให้เกิดสภาพป่าเสื่อมโทรม ตอนกลางมีลักษณะเป็นที่ราบ ได้แก่ อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวังสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเขตติดต่อจังหวัดจันทบุรี ทางด้านทิศตะวันตก มีลักษณะเป็นที่ราบถึงที่ราบสูง และมีสภาพเป็นป่าโปร่ง ทำไร่ ทำนา และทางด้านทิศตะวันออก นับตั้งแต่อำเภอวัฒนานคร มีลักษณะเป็นสันปันน้ำและพื้นที่ลาดไปทางอำเภอเมืองสระแก้วและอำเภออรัญประเทศ เข้าเขตประเทศกัมพูชา

ลำคลองสายสำคัญมีดังนี้

  1. คลองพระปรง มีต้นกำเนิดจากเขาในอำเภอวัฒนานคร แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำหนุมานในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี กลายเป็นแม่น้ำปราจีนบุรี ความยาว 180 กิโลเมตร
  2. คลองพระสะทึง มีต้นกำเนิดจากเขาทึ่งลึ่งในอำเภอมะขาม และเขาตะกวดในอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ไหลไปลงแม่น้ำพระปรงที่บ้านปากร่วม ตรงแนวแบ่งเขตระหว่างอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว กับอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ความยาว 164 กิโลเมตร
  3. คลองน้ำใส มีต้นกำเนิดจากเขาตาเลาะและเขาตาง็อกในอำเภอวัฒนานคร และภูเขาในประเทศกัมพูชา ความยาว 74 กิโลเมตร ใช้เป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
  4. คลองพรมโหด มีต้นกำเนิดจากเขาในตำบลช่องกลุ่ม อำเภอวัฒนานคร ไหลไปลงคลองลึก อำเภออรัญประเทศ ที่หลักเขตแดนที่ 50 ความยาว 62 กิโลเมตร ถือเป็นแนวเขตอนุรักษ์ของไทยและกัมพูชา

จังหวัดสระแก้วมีอุทยานแห่งชาติทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา และอุทยานแห่งชาติตาพระยา ซึ่งทั้งคู่ได้รับการจดทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

ภูมิอากาศ

แก้

สภาพภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล

  • ฤดูร้อน เริ่มต้นแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
  • ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,296-1,539 มิลลิเมตร
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า

อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 27.5-28.78 องศาเซลเซียส

การเมืองการปกครอง

แก้

การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 59 ตำบล 731 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองสระแก้ว
  2. อำเภอคลองหาด
  3. อำเภอตาพระยา
  4. อำเภอวังน้ำเย็น
  5. อำเภอวัฒนานคร
  6. อำเภออรัญประเทศ
  7. อำเภอเขาฉกรรจ์
  8. อำเภอโคกสูง
  9. อำเภอวังสมบูรณ์
  

ประชากร

แก้

กลุ่มชาติพันธุ์

แก้

จังหวัดสระแก้วเป็นศูนย์รวมของคนหลายเชื้อชาติซึ่งอพยพเข้ามาพำนักอาศัยในจังหวัด

ชาวเขมรอพยพเข้ามาในสระแก้ว เนื่องจากเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง อพยพชาวเขมรให้เข้ามาในฝั่งไทยภายหลังเหตุการณ์ที่ไทยเข้าปกครองกัมพูชาและจัดตั้งมณฑลบูรพาขึ้น แล้วถูกฝรั่งเศสยึดกัมพูชารวมทั้งมณฑลบูรพาคืนไปได้ นอกจากนี้เมื่อเกิดสงครามเวียดนามและสงครามกัมพูชาขึ้น ก็มีการอพยพชาวกัมพูชาเข้ามาในบริเวณชายแดนฝั่งไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตอำเภออรัญประเทศ

ชาวเวียดนามหรือญวนอพยพมายังจังหวัดสระแก้ว เพื่อหนีภัยสงครามเวียดนามในยุคที่เวียดนามใต้แตก โดยเดินทางผ่านประเทศกัมพูชาเข้ามา ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในอำเภออรัญประเทศ

ชาวลาวมีหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มไทยโยนกหรือลาวพุงดำ เป็นกลุ่มล้านนาเดิม อาศัยอยู่ที่อำเภอวังน้ำเย็น รวมทั้งชาวญ้อที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่สิบสองปันนา แล้วไปตั้งรกรากที่แขวงไชยบุรีของลาว ต่อมาถูกทัพไทยกวาดต้อนลงมาที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยบางส่วนได้อพยพต่อมายังอำเภออรัญประเทศ นอกจากนี้ยังมีชาวอีสานอพยพเข้ามาประกอบอาชีพในเกือบทุกอำเภอของจังหวัดสระแก้ว

การศึกษา

แก้

การสาธารณสุข

แก้

ด้านการสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว ประกอบไปด้วย

  • โรงพยาบาลรัฐบาล 10 แห่ง,โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม 2 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง
  • โรงพยาบาลรัฐบาล 10 แห่ง
  1. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช สระแก้ว (โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชแห่งแรก) อำเภอเมืองสระแก้ว
  2. โรงพยาบาลคลองหาด
  3. โรงพยาบาลตาพระยา
  4. โรงพยาบาลวังน้ำเย็น
  5. โรงพยาบาลวัฒนานคร
  6. โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ อำเภอวัฒนานคร
  7. โรงพยาบาลอรัญประเทศ
  8. โรงพยาบาลเขาฉกรรจ์
  9. โรงพยาบาลวังสมบูรณ์
  10. โรงพยาบาลโคกสูง
  1. โรงพยาบาลค่ายสุรสิงหนาท อำเภออรัญประเทศ
  2. โรงพยาบาลกองบิน 3 อำเภอวัฒนานคร
  • โรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง
  1. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล อรัญประเทศ
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 1 แห่ง และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 9 แห่ง
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 107 แห่ง
  • สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี 1 แห่ง
  • สถานีกาชาดที่ 6 อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

การขนส่ง

แก้
 
สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก เป็นสถานีสุดท้ายก่อนเข้าสู่เขตประเทศกัมพูชา

การขนส่งทางถนน จังหวัดสระแก้วมีถนนสำคัญหลายสาย ซึ่งเชื่อมต่อไปยังจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ถนนสุวรรณศร เชื่อมต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 348 เชื่อมต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 317 เชื่อมต่อกับจังหวัดจันทบุรี นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารให้บริการในหลายเส้นทาง โดยเส้นทางส่วนใหญ่จะผ่านอำเภออรัญประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่การค้าที่สำคัญ

การขนส่งทางราง มีทางรถไฟสายตะวันออกพาดผ่าน โดยขบวนรถที่ให้บริการมีเฉพาะรถธรรมดาเท่านั้น เส้นทางสายนี้ไปเชื่อมต่อกับสายปอยเปตของกัมพูชาที่สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก โดยได้มีพิธีเปิดเดินรถระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

การท่องเที่ยว

แก้
 
ปราสาทหินสด๊กก๊อกธม

สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในจังหวัดสระแก้วเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ มีร่องรอยอารยธรรมโบราณปรากฏอยู่ในรูปของปราสาทหิน แหล่งหินตัด และซากสิ่งก่อสร้าง กรมศิลปากรสำรวจพบปราสาทขอมในจังหวัดสระแก้วมากถึง 40 แห่ง ตั้งเรียงรายอยู่บนเส้นทางผ่านช่องเขา หันไปทางทิศตะวันออก (หันหน้าเข้าหานครวัด) จากหลักฐาน พบว่าปราสาทเหล่านี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-18 แสดงถึงความสัมพันธ์ของผู้คนจากสองฝั่งภูเขาที่ไร้เส้นเขตแดนในอดีต และตัวปราสาทยังเป็นศูนย์กลางของชุมชนโบราณอีกด้วย

ปราสาทหินที่สำคัญในจังหวัดสระแก้ว ได้แก่

  • อุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม ปราสาทหินสด๊กก๊อกธม ตั้งอยู่ที่อำเภอโคกสูง เป็นปราสาทอารยธรรมเขมรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก โดยสำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี ได้ดำเนินงานและประสานงานกับจังหวัดสระแก้ว เพื่อบริหารจัดการและปรับภูมิทัศน์เป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ แห่งที่ 11 ของประเทศไทย
  • ปราสาทเขาน้อยสีชมพู ตั้งอยู่ที่อำเภออรัญประเทศ มีการค้นพบจารึกเขาน้อยและทับหลังศิลปะสมโบร์ไพกุก

อุทยานแห่งชาติที่สำคัญในจังหวัดสระแก้ว ได้แก่

การท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา

โครงการในมูลนิธิชัยพัฒนา

อ่างเก็บน้ำ/สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

  • เขื่อนพระปรง อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดสระแก้ว มีความจุถึง 97 ล้านลูกบาศก์เมตร จนเกือบจะเรียกว่าเขื่อน เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตั้งอยู่ที่ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร
  • อ่างเก็บน้ำห้วยยาง อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9
  • อ่างเก็บน้ำท่ากระบาก ตั้งอยู่ระหว่างเขตติดต่อ ตำบลท่าแยก อำเภอเมืองสระแก้ว กับตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร อยู่เลยอุทยานแห่งชาติปางสีดา ประมาณ 8 กิโลเมตร เป็นอ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9
  • สวนรุกขชาติเขาฉกรรจ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาฉกรรจ์ อำเภอเขาฉกรรจ์ เป็นภูเขาหินปูนที่มีความโดดเด่นตระหง่านอย่างเห็นได้ชัด และยังเป็นที่ตั้งของวัดถ้ำเขาฉกรรจ์ บริเวณวัดยังมีลิงป่าอาศัยอยู่นับพันเป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวสามารถให้อาหารลิงได้ มีบันไดประมาณ 300 ขั้น เพื่อขึ้นยอดเขาไปดูจุดชมวิว

การท่องเที่ยววัด/การกราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์

  • วัดรีนิมิตร ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมืองสระแก้ว มีพระรูปเหมือน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) องค์ขนาดใหญ่ มีรูปปั้นพญานาคขนาดใหญ่ ให้ประชาชนสักการะ เหมาะแก่การพักผ่อน และเหมาะแก่นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการถ่ายรูปเชิงธรรมะ
  • ศาลหลักเมืองสระแก้ว ตั้งอยู่ภายในสวนกาญจนาภิเษก ตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว
  • วัดแม่ย่าซอม ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหาด อำเภอคลองหาด เป็นวัดที่ใหญ่และสวยงาม มีพระราหูองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีพระพิฆเนศองค์ขนาดใหญ่ มีหลวงพ่อทันใจ ที่หลายๆ คนมักจะไปขอโชคลาภอยู่เสมอ และจะต้องกลับมาแก้บนอีกครั้งเพราะต่างก็สมหวังในสิ่งที่ขอ
  • สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ริมเส้นทางหลวงหมายเลข 33 ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอวัฒนานคร มีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประดิษฐานบริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ การจัดสร้างอนุสาวรีย์ฯ นี้ เนื่องมาจากในอดีตกาลอำเภอวัฒนานคร เป็นพื้นที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เคยเสด็จมาประทับในการสงครามแถบดินแดนบูรพา เมื่อปี พ.ศ.2136 พระบรมรูปประทับยืน มีความสูง 280 เมตร ชูดาบเหนือศิรเศียร แสดงพระราชอำนาจในการปกครอง ปกป้องรักษาพสกนิกรของพระองค์
  • พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชอำเภออรัญประเทศ ประดิษฐาน อยู่ด้านข้างใกล้กับสนามไดร์ฟกอล์ฟ ค่ายสุรสิงหนาท อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดดเด่นด้วยหลังคารูปทรงมาลา (หลังคารูปหมวก) เพื่อเชิดชูพระเกียรติยศพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการรบ การปกครอง และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นต่อปวงชนาวไทย และเพื่อน้อมระลึกเหตุการณ์ครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทยและร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำสงครามกอบกู้เอกราช ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทยและขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ตกทอดมาจนถึงพวกเราชาวไทยจวบจนปัจจุบัน
  • พระสยามเทวาธิราช องค์จำลอง ขนาดสูงประมาณ 1.29 เมตร ประดิษฐานอยู่บนช้างสามเศียร มีบุษบกครอบเป็นที่ประทับ อยู่บริเวณหน้าสถานีตำรวจอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2518 โดยพระครูอุทัย ธรรมธารี เจ้าอาวาสวัดป่ามะไฟ จังหวัดปราจีนบุรี ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต (สมัย ร.9) สร้างเหรียญจำลองในปี พ.ศ.2508 และได้หล่อพระสยามเทวาธิราชจำลอง ซึ่งในขณะนั้นมีเหตุการณ์สู้รบกันตามแนวชายแดนด้านอำเภออรัญประเทศการศึกสงครามมีเวลานานกว่า 7 ปี พระครูอุทัย ธรรมธารี จึงมอบองค์พระสยามเทวาธิราชจำลองให้แก่อำเภออรัญประเทศ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ทหาร ตำรวจ พลเรือนและประชาชน พระสยามเทวาธิราช จึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแก่ชาวอำเภออรัญประเทศและจังหวัดใกล้เคียงมาจวบจนปัจจุบัน
  • วัดพุทธิสาร ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองหมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร วัดนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองหมากฝ้าย ซึ่งค่อนข้างไกลจากอำเภอวัฒนานคร แม้จะเป็นวัดขนาดเล็ก แต่เป็นวัดเก่าแก่เหมาะกับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพโบราณสถานเนื่องจากวัดนี้มีโบสถ์ไม้โบราณ อายุกว่า 120 ปี เป็นโบสถ์ไม้ที่ใช้การสลักในการสร้าง ไม่ใช้ตะปูในการก่อสร้างโบสถ์ทั้งหลัง ภายในวัดมีรูปเหมือนพระครูศีลคุณวัฒนาทร หรือหลวงปู่โห สำหรับให้พุทธศาสนิกชนกราบไว้เพื่อความเป็นสิริมงคล (หลวงปู่โห ท่านเป็นเกจิดังแห่งปราจีนบุรีในอดีต) (ครั้งเมื่อตั้งแต่ที่จังหวัดสระแก้วยังเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับจังหวัดปราจีนบุรี)อีกด้วย นอกจากนี้ทุกวันพฤหัส และวันอาทิตย์ ราวๆ เวลา 16.00 น. ชมนวัตวิถีชีวิตชาวบ้านมีการนำสินค้าพื้นบ้านมาขายเป็นตลาดนัดชุมชนเล็กๆภายในวัดอีกด้วย

การท่องเที่ยวแนวผจญภัย (Adventure)

  • ถ้ำน้ำเขาศิวะ ตั้งอยู่ที่ ต.คลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว ถ้ำน้ำเขาศิวะ ปี 2566 เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับการโหวตจากคนไทยทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม - 18 มิถุนายน 2566 ผ่านเว็บไซต์ unseennewchapters.com โดยมีผู้เข้าร่วมโหวต กว่า 325,000 คน จนได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว 25 แห่งจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ ภายในถ้ำน้ำเขาศิวะมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม รูปทรงแปลกตา มีน้ำไหลตลอดทั้งปี บางบริเวณมีลักษณะคล้ายม่านและยังมีน้ำตกเล็กๆ อยู่ภายในถ้ำอีกด้วย เหมาะสำหรับผู้รักการผจญภัยที่ว่ายน้ำ เป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจ ให้กับนักท่องเที่ยว และยังมีตำนานพญานาคสีแดง ที่ชาวบ้านเคยพบเห็นแหวกว่ายอยู่ภายในถ้ำ จึงเป็นที่มาของศาลพ่อปู่นาคาที่ตั้งอยู่บริเวณปากถ้ำ เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวได้สักการะบูชาเพื่อความเป็นศิริมงคล

บุคคลที่มีชื่อเสียง

แก้

นักร้อง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. จังหวัดสระแก้ว. "เกี่ยวกับจังหวัดสระแก้ว: ที่ตั้งและอาณาเขต." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.sakaeo.go.th/chapter/data2.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 21 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 25 มกราคม 2565.
  3. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. น้ำอภิเษก. 2562.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°49′N 102°04′E / 13.82°N 102.07°E / 13.82; 102.07