สถานีรถไฟอรัญประเทศ
สถานีรถไฟอรัญประเทศ ตั้งอยู่ที่ ตำบลอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายตะวันออก
อรัญประเทศ Aranyaprathet | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีระดับที่ 1 | |||||||||||||||||
ด้านหน้าสถานี | |||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||||||||
ที่ตั้ง | ตำบลอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประเทศไทย | ||||||||||||||||
พิกัด | 13°41′33″N 102°30′19″E / 13.6926°N 102.5052°E | ||||||||||||||||
ผู้ให้บริการ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | ||||||||||||||||
สาย | |||||||||||||||||
ระยะทาง | 254.5 km (158.1 mi) จากกรุงเทพ | ||||||||||||||||
ชานชาลา | 1 | ||||||||||||||||
ทางวิ่ง | 4 | ||||||||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ระดับพื้นดิน | ||||||||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||||||||
รหัสสถานี | 3100 (อร.) | ||||||||||||||||
ประวัติ | |||||||||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 | ||||||||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
|
ประวัติ
แก้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ ในปี พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมรถไฟหลวง" และให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และทรงบุกเบิกพัฒนากิจการต่างๆ ของกรมรถไฟหลวง ขยายเส้นทางเดินรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน สายตะวันออกเฉียงเหนือทรงสร้างทางรถไฟจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี สายตะวันออกจากฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว) ถึงอรัญประเทศ ทรงนำรถจักรดีเซลเข้ามาใช้เป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย
ในระหว่างที่การก่อสร้างทางสายเหนือและสายใต้ใกล้จะเสร็จ ก็ได้เริ่มทำการก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือและสายตะวันออกต่อไปอีก คือ จากนครราชสีมาถึงสถานีอุบลราชธานี และสถานีขอนแก่น และจากสถานีหัวลำโพง ถึงสถานีอรัญประเทศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงทางรถไฟเป็นทางกว้าง 1 เมตร ตามอย่างมาตรฐานที่นิยมในภูมิภาคของประเทศแถบนี้ แล้วสร้างทางรถไฟต่อจากฉะเชิงเทรา (แปดริ้ว) ไปเชื่อมกับทางรถไฟกัมพูชาที่ด่านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยทหารช่าง ในการวางราง มีร้อยเอกหลวงรณรงค์สงคราม ยศในขณะนั้นต่อมาคือ (พันเอก พระยาทรงสุรเดช) หนึ่งในคณะราษฎรเป็นผู้บังคับการทหารช่างรถไฟ กองพันที่ 2 กรมทหารบกที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2461 ก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกจากแปดริ้วถึงสถานีรถไฟปราจีนบุรี ต่อจากนั้นกรมรถไฟหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างเอง และได้เปิดการเดินรถ จากแปดริ้วถึงกบินทร์บุรี ระยะทาง 100 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 และเริ่มเปิดการเดินรถจากกบินทร์บุรีถึงสถานีอรัญประเทศ ระยะทาง 94 กิโลเมตร ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การบริหารกิจการรถไฟเกี่ยวกับด้านเดินรถและด้านพาณิชย์ได้ก้าวหน้ามาตามลำดับโดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2496 การรถไฟได้รับการติดต่อจากการรถไฟกัมพูชา และจากการรถไฟมลายา ขอให้เปิดการประชุมเพื่อเจรจาหารือทำความตกลงกันเกี่ยวกับการเดินขบวนรถเชื่อมต่อกัน ผลของการประชุม คือ คณะผู้แทนรถไฟกัมพูชาได้เจรจาเรื่อง การเชื่อมทางรถไฟกัมพูชากับรถไฟไทยในทางรถไฟสายตะวันออก (สายอรัญประเทศ) และได้เปิดการเดินรถไฟติดต่อระหว่างประเทศ ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาได้หยุดการเดินรถไฟไประยะหนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2504 แล้วเปิดการเดินรถใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 แต่ก็ได้ยุติการเดินรถอีก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517
ตารางเดินรถสถานีรถไฟอรัญประเทศ
แก้ข้อมูลเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562[update]
เที่ยวขึ้น
แก้ขบวนรถ | ต้นทาง | อรัญประเทศ | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ธ275 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 05.55 | 11.10 | ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก | 11.17 | ||
ธ279 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 13.05 | 17.20 | ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก | 17.27 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
เที่ยวล่อง
แก้ขบวนรถ | ต้นทาง | อรัญประเทศ | ปลายทาง | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อสถานี | เวลาออก | ชื่อสถานี | เวลาถึง | ||||
ธ280 | ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก | 06.58 | 07.05 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 12.05 | ||
ธ276 | ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก | 13.53 | 14.00 | กรุงเทพ (หัวลําโพง) | 19.40 | ||
หมายเหตุขบวนรถ: ■ = สายเหนือ / ■ = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / ■ = สายใต้ / ■ = สายตะวันออก / ■ = สายแม่กลอง ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า |
ระเบียงภาพ
แก้-
ป้ายสถานี
-
ป้ายบอกสถานีถัดไปและสถานีก่อนหน้า
-
ถังน้ำบริเวณสถานี
-
รถไฟจอดที่สถานี มุ่งหน้าสู่กรุงเทพมหานคร
-
หัวรถจักรเอแอลดี
-
ภายในตัวอาคารสถานี
อ้างอิง
แก้- 岡本和之 (1993). タイ鉄道旅行. めこん. ISBN 4-8396-0080-5.
- 杉本聖一 (2000). 魅惑のタイ鉄道. 玉川新聞社. ISBN 4-924882-29-1.
- 柿崎一郎 (2010). 王国の鉄路 タイ鉄道の歴史. 京都大学学術出版会. ISBN 978-4-87698-848-8.
- 渡邉乙弘 (2013). タイ国鉄4000キロの旅. 文芸社. ISBN 978-4-286-13041-5.