ทางรถไฟสายตะวันออก

ทางรถไฟสายตะวันออก เป็นเส้นทางเดินรถไฟทางไกลระหว่างจังหวัดของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มุ่งหน้าไปทางภาคตะวันออกตอนบนและตอนล่างของประเทศไทย มีจุดเริ่มต้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) โดยเส้นทางตอนบนจะสิ้นสุดที่สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ส่วนเส้นทางตอนล่างจะสิ้นสุดที่สถานีรถไฟจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ทางรถไฟสายตะวันออก
ทางรถไฟสายตะวันออก
สถานีรถไฟบ้านทับช้าง
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดให้บริการ
ก่อสร้างส่วนต่อขยาย
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ปลายทางกรุงเทพ (หัวลําโพง)ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก, กรุงเทพ (หัวลําโพง)–จุกเสม็ด
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟระหว่างเมือง
ระบบรถไฟทางไกล
ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
และบริษัทเอกชนในส่วน
ของสถานีขนถ่ายสินค้า
ศูนย์ซ่อมบำรุงโรงรถจักรดีเซลมักกะสัน
ผู้โดยสาร16,467 คน (2565)[1]
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง255 กม. (158.45 ไมล์)
รางกว้างราง 1 เมตร มีทั้งทางคู่และทางเดี่ยว
แผนที่เส้นทาง

0+000 กม.
กรุงเทพ (หัวลำโพง)
สายเหนือและอีสาน  ชุมทางบางซื่อ 
2+640 กม.
อุรุพงษ์
3+670 กม.
พญาไท
5+170 กม.
มักกะสัน
9+870 กม.
แม่น้ำ
14+000 กม.
ท่าเรือใหม่
22+000 กม.
แม่น้ำ (โรงกลั่นน้ำมันบางจาก)
6+980 กม.
อโศก
9+850 กม.
คลองตัน
11+140 กม.
สุขุมวิท 71
15+180 กม.
หัวหมาก
20+870 กม.
บ้านทับช้าง
23+940 กม.
ซอยวัดลานบุญ
26+750 กม.
ลาดกระบัง
30+330 กม.
พระจอมเกล้า
30+910 กม.
หัวตะเข้
33+860 กม.
บรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง
39+500 กม.
คลองหลวงแพ่ง
43+430 กม.
คลองอุดมชลจร
46+490 กม.
เปรง
51+020 กม.
คลองแขวงกลั่น
53+990 กม.
คลองบางพระ
57+100 กม.
บางเตย
60+993 กม.
ชุมทางฉะเชิงเทรา
ชุมทางฉะเชิงเทรา-บ้านพลูตาหลวง
62+870 กม.
แปดริ้ว
75+975 กม.
ดอนสีนนท์
91+535 กม.
พานทอง
107+795 กม.
ชลบุรี
121+242 กม.
บางพระ
125+350 กม.
เขาพระบาท
130+605 กม.
ชุมทางศรีราชา
139+850 กม.
แหลมฉบัง
ท่าเรือแหลมฉบัง
บ่อวิน
พนานิคม
หนองละลอก
หนองตะพาน
ระยอง
ห้วยโป่ง
ทับมา
บางละมุง
155+140 กม.
พัทยา
158+820 กม.
พัทยาใต้
163+280 กม.
ตลาดน้ำ 4 ภาค
168+340 กม.
บ้านห้วยขวาง
171+100 กม.
ญาณสังวราราม
สวนนงนุช
180.00 กม.
ชุมทางเขาชีจรรย์
192.25 กม.
บ้านฉาง
200.48 กม.
มาบตาพุด
ท่าเรือมาบตาพุด
184.03 กม.
บ้านพลูตาหลวง
189.00 กม.
อู่ตะเภา
195.00 กม.
จุกเสม็ด
ตะพง
เพ
แกลงกะเฉด
ซากโดน
แกลง
ทุ่งควายกิน
นายายอาม
ทุ่งเบญจา
เขายาไร่
จันทบุรี
คลองนารายณ์
ขลุง
หนองระหาน
แสนตุ้ง
เขาสมิง
ตราด
ท่ากุม
ชำราก
ท่าเส้น
แหลมกลัด
เขาล้าน
ไม้รูด
คลองใหญ่
74.53 กม.
โพรงอากาศ
79.04 กม.
บางน้ำเปรี้ยว
85.60 กม.
ชุมทางคลองสิบเก้า
ทางรถไฟสายชุมทางคลองสิบเก้า–ชุมทางแก่งคอย
89.42 กม.
คลองยี่สิบเอ็ด
93.73 กม.
โยทะกา
101.53 กม.
บ้านสร้าง
109.49 กม.
หนองน้ำขาว
115.28 กม.
บ้านปากพลี
121.78 กม.
ปราจีนบุรี
126.25 กม.
หนองกระจับ
131.00 กม.
โคกมะกอก
137.65 กม.
ประจันตคาม
143.41 กม.
หนองแสง
146.73 กม.
บ้านดงบัง
148.91 กม.
หนองศรีวิชัย
151.85 กม.
บ้านพรมแสง
156.15 กม.
บ้านเกาะแดง
161.26 กม.
กบินทร์บุรี
165.50 กม.
กบินทร์เก่า
172.71 กม.
หนองสัง
183.76 กม.
พระปรง
190.06 กม.
บ้านแก้ง
195.87 กม.
ศาลาลำดวน
205.25 กม.
สระแก้ว
212.94 กม.
ศูนย์ราชการจังหวัดสระแก้ว
216.28 กม.
ท่าเกษม
223.40 กม.
ห้วยโจด
233.86 กม.
วัฒนานคร
240.32 กม.
บ้านโป่งคอม
245.03 กม.
ห้วยเดื่อ
254.50 กม.
อรัญประเทศ
ทางรถไฟสายอรัญประเทศ–ปอยเปต

ประวัติ

แก้

ช่วงเริ่มต้นการก่อสร้าง

แก้

ทางรถไฟสายตะวันออกได้เริ่มสร้างขึ้นมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร จาก กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 61 กิโลเมตร เปิดการเดินรถเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2450 ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้ทำการแปลงขนาดความกว้างจาก 1.435 เมตร เป็น 1.00 เมตร รวมไปถึงขยายปลายทางจากฉะเชิงเทราไปเชื่อมต่อกับรถไฟของประเทศกัมพูชา ที่ตำบลคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จ.ปราจีนบุรี (เดิม) เป็นรางขนาดความกว้าง 1.00 เมตร การก่อสร้างได้รับความร่วมมือ จากหน่วยทหารช่าง ในการวางรางจากฉะเชิงเทราถึงปราจีนบุรี ต่อจากนั้น กรมรถไฟดำเนินการเอง รวมระยะทางจาก กรุงเทพฯ - อรัญประเทศ 255 กิโลเมตร สิ้นเงินก่อสร้าง 17,269,768.00 บาท[2]

  • 1 มกราคม พ.ศ. 2467 - เปิดการเดินรถช่วงสถานีฉะเชิงเทรา - กบินทร์บุรี ระยะทาง 100 กิโลเมตร[2]
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 - เปิดการเดินรถจากสถานีกบินทร์บุรี - อรัญประเทศ ระยะทาง 94 กิโลเมตร ระยะทาง 94 กิโลเมตร[2]

ทางแยกสายมักกะสัน - แม่น้ำ

แก้

เนื่องจากบริเวณสถานีกรุงเทพมีความคับแคบ ไม่สะดวกในการรับส่งสินค้าที่นับวันจะมีมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าส่งออกหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศที่ต้องขนส่งทางเรือเดินทะเล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ และกรมรถไฟเอง ในการขนส่งวัสดุ สิ่งของ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จึงเริ่มการสร้างทางรถไฟแยกจากสถานีมักกะสัน ไปยังริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าเรือคลองเตย ระยะทาง 5 กิโลเมตรเศษ เปิดการเดินรถได้เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452[2]

สามเหลี่ยมจิตรลดา

แก้

ทางแยกช่วงนี้ สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ขบวนรถจากสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ กับขบวนรถจากสายตะวันออก และจากสถานีแม่น้ำ สามารถเดินรถโดยไม่ต้องเข้าออกและสับเปลี่ยนที่สถานีกรุงเทพ นอกจากนั้น เพื่อความสะดวกเกี่ยวกับการพ่วงรถในสมัยนั้นอีกด้วย เพราะยังมีการต่อพ่วงรถแบบ ABC อยู่ กรมรถไฟดำเนินการสร้างทางขนาด 1.00 เมตร แยกจากสถานีจิตรลดา ในทางสายเหนือ ไปยังสถานีมักกะสัน ในทางสายตะวันออก ระยะทาง 3 กิโลเมตร และเปิดการเดินรถได้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2479 เป็นต้นมา[2]

ขยายสู่สัตหีบ

แก้

สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา - สัตหีบ เกิดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2506 ที่จะให้มีเส้นทางรถไฟแยกจากเส้นทางฉะเชิงเทรา - อรัญประเทศ ซึ่งต้องเลียบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ไปยังท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือสัตหีบที่จะมีขึ้นในอนาคต และพัฒนาพื้นที่ในบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก

รฟท. จึงได้เตรียมการและทำการสำรวจเบื้องต้น เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ของแนวทางเมื่อปี พ.ศ. 2509 ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ก็ได้รับงบประมาณ ให้ดำเนินการสำรวจแนวทาง ผลคือกำหนดให้แนวทางรถไฟ แยกจากเส้นทางสายตะวันออกที่แปดริ้ว ผ่านอำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพานทอง อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา อำเภอสัตหีบ สุดทางที่ท่าเรือพาณิชย์ สัตหีบ

แต่โครงการก่อสร้างต้องถูกระงับชั่วคราว เนื่องจากความไม่เหมาะสมทางเศรษฐกิจบางประการ ต่อมา รัฐบาลได้รื้อฟื้นโครงการขึ้นมาอีกครั้งในปลายปี พ.ศ. 2520 เพื่อรับกับการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ และโครงการนิคมอุตสาหกรรมในภูมิภาคตะวันออก รฟท. จึงทำการทบทวนแนวทางรถไฟที่ได้ศึกษาไปตอนแรก เพื่อความเหมาะสม โดยว่าจ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา มาทำการศึกษาออกแบบรายละเอียดต่างๆ และจัดทำเอกสารประกวดราคาจ้างเหมาก่อสร้าง ทำให้งานก่อสร้างเส้นทางนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2524 แล้วเสร็จเมื่อ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2532[2]

เชื่อมต่อสายอีสาน

แก้

(รอเพิ่มข้อมูล)

โครงการรถไฟทางคู่ช่วง หัวหมาก - ฉะเชิงเทรา

แก้

(รอเพิ่มข้อมูล)

โครงการรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา – ศรีราชา – แหลมฉบัง

แก้

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพของการขนส่งทางรถไฟในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขนส่งสินค้าบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งไปมาระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและ ICD ลาดกระบัง รฟท. ได้เสนอขออนุมัติดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ตอนฉะเชิงเทรา - ศรีราชา - แหลมฉบัง ระยะทาง 78 กิโลเมตร และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ให้ดำเนินโครงการดังกล่าวได้ ต่อมา ได้รับการอนุมัติให้ปรับปรุงวงเงินลงทุนโครงการเป็นวงเงิน 5,850 ล้านบาท เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 และได้รับการบรรจุไว้ในแผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจีสติกส์ของประเทศไทย พ.ศ. 2550 - 2554

ค่าใช้จ่ายต่างๆ ประกอบไปด้วย ค่าจ้างที่ปรึกษาจัดการประกวดราคา และควบคุมงานก่อสร้าง 248.118 ล้านบาท ค่าก่อสร้างและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณฯ 3,926.000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 4,174.118 ล้านบาท รวมระยะเวลาการก่อสร้าง 28 เดือน (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 7 กันยายน พ.ศ. 2553)

โครงการรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา – ชุมทางคลองสิบเก้า - ชุมทางแก่งคอย

แก้

(รอเพิ่มข้อมูล)

เชื่อมต่อกับกัมพูชาอีกครั้ง

แก้

(รอเพิ่มข้อมูล)

ปรับปรุงเป็นจุกเสม็ด

แก้
 
วันแรกในการเปิดเส้นทางบ้านพลูตาหลวง - จุกเสม็ด ที่สถานีรถไฟจุกเสม็ด (10 พ.ย. 2566)

เมื่อการท่องเที่ยวบริเวณ อ.สัตหีบ มีความคึกคักมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น เรือหลวงจักรีนฤเบศรชายหาดนางรอง และหาดนางรำ ในปี พ.ศ. 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำเส้นทางช่วงบ้านพลูตาหลวง - ท่าเรือสัตหีบ ที่แต่เดิม ไม่มีรถไฟวิ่งผ่านเป็นเวลาเกือบยี่สิบปี มาปรับปรุงพื้นที่ใหม่ มีการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ซึ่งตั้งราคากลางไว้ที่ 320,760,000.00 บาท[3] โดยปรับปรุงทางรถไฟ พร้อมระบบอาณัติสัญญาณและอื่นๆ เข้าพื้นที่ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ ซึ่งประกอบด้วยการก่อสร้างทางใหม่ อาคารสถานีใหม่สองแห่ง คือ สถานีอู่ตะเภาและจุกเสม็ด ถนน สำนักงานที่ทำการ สำนักงานรันนิ่งรูม สำนักงานควบคุมระบบอาณัติสัญญาณ และลานคอนกรีตสำหรับเป็นพื้นที่ขนถ่ายตู้สินค้า รวมถึงชานบรรทุกสินค้าขึ้นขบวนรถ ต่อมา โครงการได้ผู้ก่อสร้าง คือ กิจการร่วมค้า เอ เอส เอ็กซ์ มีค่าก่อสร้างสิ้นสุดที่ 230,285,400.00 บาท เริ่มต้นสัญญา 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561 สิ้นสุดสัญญา 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563 รวมระยะเวลา 730 วัน[4]

ตามแผนเดิม มีการเปิดเส้นทางในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 แต่ต้องเลื่อนเปิดมาตลอด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้การท่องเที่ยวทั่วประเทศลดลงอย่างมาก รวมไปถึงพื้นที่ อ.สัตหีบ แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดได้ลดลงช่วงกลางปี พ.ศ. 2566 แต่การรถไฟแห่งประเทศไทยยังไม่มีแผนที่จะเปิดเส้นทาง เนื่องจากยังไม่ได้ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและเครื่องกั้นเรียบร้อย[5] จนกระทั่งมีการเคาะวันเปิดเส้นทางอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 โดยทำการขยายปลายทางขบวนรถสองขบวน คือ ขบวนรถธรรมดา 283/284 และขบวนรถเร็ว 997/998 ที่แต่เดิมมีปลายทางสถานีบ้านพลูตาหลวง มายังสถานีจุกเสม็ดแทน[4]

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน

แก้
เขต / อำเภอ จังหวัด
ปทุมวัน / ดุสิต / ราชเทวี / วัฒนา / คลองเตย / สาทร / ยานนาวา / พระโขนง / ห้วยขวาง / สวนหลวง / ประเวศ / ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
เมืองฉะเชิงเทรา / บางน้ำเปรี้ยว / บ้านโพธิ์ ฉะเชิงเทรา
องครักษ์ / ปากพลี / บ้านนา นครนายก
บ้านสร้าง / เมืองปราจีนบุรี / ประจันตคาม / กบินทร์บุรี ปราจีนบุรี
เมืองสระแก้ว / วัฒนานคร / อรัญประเทศ สระแก้ว
พานทอง / เมืองชลบุรี / ศรีราชา / บางละมุง / สัตหีบ ชลบุรี
บ้านฉาง / เมืองระยอง ระยอง

ชุมทางและสายแยก

แก้
ชุมทาง (จังหวัด) สายแยกไปยัง
มักกะสัน (กรุงเทพมหานคร) สถานีรถไฟแม่น้ำและโรงกลั่นน้ำมันบางจาก
ชุมทางฉะเชิงเทรา (ฉะเชิงเทรา) สายชายฝั่งทะเลตะวันออก (ปลายทางสถานีรถไฟจุกเสม็ด)
ชุมทางคลองสิบเก้า (ฉะเชิงเทรา) สายชุมทางคลองสิบเก้า–ชุมทางแก่งคอย (ปลายทางสถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย)
ชุมทางศรีราชา (ชลบุรี) ท่าเรือแหลมฉบัง
ชุมทางเขาชีจรรย์ (ชลบุรี) สถานีรถไฟบ้านฉาง และสถานีรถไฟมาบตาพุด

สถานีรถไฟที่สำคัญ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "เปิดแผนที่สถานีรถไฟประเทศไทยสถิติผู้ใช้งาน 2565". สถาบันนวัตกรรมและธรรมาภิบาลข้อมูล. 20 July 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-22. สืบค้นเมื่อ 2023-07-22.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "วันนี้เรามารู้จัก ประวัติการรถไฟไทย และเส้นทางต่างๆ กันหน่อย..ดูสิว่ายังมีอนาคตมั้ย. สมัยก่อนไทยเป็นมหาอำนาจทางรถไฟ นะ". Pantip. สืบค้นเมื่อ 2025-02-10.
  3. "Rotfaithai.Com Forums-viewtopic-ปรับปรุงทางรถไฟเข้าท่าเรือจุกเสม็ด สัตหีบ". portal.rotfaithai.com. สืบค้นเมื่อ 2025-02-10.
  4. 4.0 4.1 "สะพัดเรลแฟน ขยายเดินรถไฟสายตะวันออก จากบ้านพลูตาหลวงไปจุกเสม็ด ชลบุรี". mgronline.com. 2023-11-07. สืบค้นเมื่อ 2025-02-10.
  5. "เปิดที่มา"สถานีรถไฟจุกเสม็ด"ถูกทิ้งร้างนาน 3 ปี". สืบค้นเมื่อ 2025-02-10.
  6. New Eastern rail line gets on track, The Bangkok Post, 13/01/2012